มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา ร่วมมือสถาบันทักษิณคดีศึกษา และภาคีเครือข่าย ยกระดับการงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ประจำปี 2563 “สงขลาสู่เมืองมรดกโลก : แนวทางสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของ UNESCO”

14 Jan 2020
เมื่อวันอังคาร ที่ 14 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมบ้านซูซูกิ อาคารพาไลพัฒนา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ และภาคีเครือข่าย จัดงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ โดยนายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ในฐานะประธานมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานในวันนี้ดังนี้
มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา ร่วมมือสถาบันทักษิณคดีศึกษา และภาคีเครือข่าย ยกระดับการงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ประจำปี 2563 “สงขลาสู่เมืองมรดกโลก : แนวทางสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของ UNESCO”

การจัดงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้ถูกกำหนดให้มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณูปการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชนวิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ โดย ตลอดชีวิตราชการในฐานะ "ครู" และผู้บริหารที่ทำงานอย่างสร้างสรรค์ เห็นการณ์ไกล เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทำให้ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ มีลูกศิษย์มากมาย ตลอดถึงผลิตผลงานทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมเป็นจำนวนมาก บรรดาศิษย์และกัลยาณมิตรที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งในฐานะครู ทั้งในฐานะผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งยวดต่อวงวิชาการทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ มีความปรารถนาให้สังคมและวงวิชาการได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น และร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน จึงจัดให้มีงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ขึ้น โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 14 มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ซึ่งมีองค์กรร่วมจัดงาน ดังนี้

สถาบันทักษิณคดีศึกษา,มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา, มูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ,สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยทักษิณ ,มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สำนักศิลปวัฒนธรรมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, เทศบาลนครสงขลา, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา

ครอบครัวศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ภาคีคนรักเมืองสงขลา, สมาคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, สำนักส่งเสริมการบริการวิชาการและภูมิปัญญาชุมชน

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีการจัดกิจกรรม 2 วัน คือ ในวันที่ 14 และ 15 มกราคม 2563

  • กิจกรรมวันที่ 14 มกราคม 2563 ประกอบด้วย
  • ภาคเช้า พระสงฆ์สวดพุทธมนต์ "ธรรมนิยามสูตร" และพิธีมอบรูปปั้นครึ่งตัว (Bust) ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ แก่สถาบันทักษิณคดีศึกษาโดยมีนางสาวสาวิตรี สัตยายุทย์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวรายงานถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างรูปปั้นครึ่งตัว

สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

  • ภาคบ่าย ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลา พื้นที่หัวเขาแดง และแหลมสน
  • ภาคค่ำ กิจกรรม Chef's Table สร้างสรรค์อาหารเมืองสงขลาโดยเซฟจารพ ลิ่มสกุล และเซฟณภัทร จุลิกพงศ์ แนะนำโดยอาจารย์เทพรัตน์ จันทพันธ์
  • กิจกรรมวันที่ 15 มกราคม 2563 ประกอบด้วย
  • การปาฐกถาเรื่อง "การขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก"

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร อดีตนายกสมาคมอิโคโมสไทย

  • การบรรยายเรื่อง การขับเคลื่อนอาหารพื้นถิ่นสู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

โดย ศาสตราจารย์สุกัญญา สุจฉายา ผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และการเสวนาเรื่อง "แนวทางพัฒนาสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของ UNESCO

ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นปูชนียบุคคลด้านการใช้ภาษาไทย เป็น "เมธีวิจัยอาวุโส" เป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 (ระดับสูงสุดของข้าราชการไทย) เป็นข้าราชการระดับ 11 คนแรกของประเทศไทย ที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ "บ้านนอก" (คือต่างจังหวัด) โดยตลอด เป็นผู้สถาปนา (คิดและต่อสู้จนจัดตั้งสำเร็จ) สถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่เกาะยอ จังหวัดสงขลา อันเป็นสถาบันทางวัฒนธรรม "ครบวงจร" แห่งแรกของประเทศไทย คือทำหน้าที่ทั้ง รวบรวมข้อมูล ศึกษาค้นคว้า-วิจัย ส่งเสริมเผยแพร่ จัดแสดงเป็นพิพิธภันฑ์ (Folklor Museum) และผลิตบุคลากรทางวิชาการด้านวัฒนธรรมในระดับต่ำและสูงกว่าปริญญาตรี(ประกาศนียบัตร/มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต) เป็นต้นแบบในการคิด และจัดทำ "สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้" จนสำเร็จเป็นสารานุกรมวัฒนธรรมชุดแรกของประเทศไทย และเอเซียอาคเนย์ อันเป็นผลให้ธนาคารไทยพานิชย์สนับสนุนการจัดทำ "สารานุกรมวัฒนธรรมไทย" ภาคต่างๆขึ้นตามมา โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา

ตลอดชีวิตราชการในฐานะ "ครู" และผู้บริหารที่ทำงานอย่างสร้างสรรค์ เห็นการณ์ไกล เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทำให้ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ มีศิษย์ และผลงานทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมเป็นจำนวนมาก งานหนังสือเล่มสำคัญๆซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เช่น ของดีปักษ์ใต้(2500) หลักภาษาไทย(2505) วรรณคดีและวรรณกรรมปัจจุบัน(2506) คติชาวบ้านภาคใต้(2507) การเขียน(2522) บาลีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย(2523) 108 อบายอันตรายชาติ(2523) พุทธศาสตร์(2523) พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาปสงขลาฝั่นตะวันออกสมัยกรุงศรีอยุธยา(2523)วรรณคดีวิเคราะห์(2525)หนังตะลุง(2527) สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้(10 เล่มชุด 2529) พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้(2514,2530) วัฒนธรรมพื้นบ้านฯ(2535) คราบน้ำตาบนทางชีวิตและงานฯ (2539) เป็นต้น

นอกจากงานสอนหนังสือ ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก ทั้งสาขาภาษาไทยและไทยคดีศึกษา งานบริหาร งานควบคุมปริญานิพนธ์ งานกรรมการวิทยากร(ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น) งานเขียนบทความ งานแต่งตำราวิชาการ แล้ว ภายหลังอาจารย์สุธิวงศ์ในฐานะเมธีวิจัยอาวุโส สกว.ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับงานวิจัยอย่างสุดจิตสุดใจ จนสามารถสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ทั้งระดับต้น-กลาง และสูงได้เป็นจำนวนมาก มีผลงานวิจัย(ที่จับต้องได้และส่งผลในทางปฏิบัติ)จำนวนมากจนเป็นที่ประจักษ์

"ปราชญ์สามัญชน" ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ผู้สถาปนาสถาบันทักษิณคดีศึกษาและผู้จุดคบเพลิงแห่งงานวิชาการวัฒนธรรมให้รุ่งโรจน์ เสียชีวิตอย่างสงบณโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2560 ท่ามกลางความอาลัยของภรรยา-ลูก-หลาน และญาติมิตร พระราชทานเพลิงศพอย่างสมเกียรติ ณ วัดแหลมทราย อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2560

ซึ่งนายสถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานและลูกศิษย์ที่คลุกคลีกับศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ กว่า 3 ทศวรรษ ได้ฝากบทกลอนบอกเล่าความรู้สึกถึงท่านศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ที่เขียนขึ้นในวาระที่ท่านได้รับรางวัล "ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ชื่อ "คือต้นแบบ : คือ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์" ดังนี้ :

คือ คนเทิดทางธรรมเป็นอำนาจ

คือ นักวาดความคิดน่าพิศวง

คือ ปราชญ์แท้ คือนักสร้าง

คือคนตรง คือ ต้นแบบ-คือสุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ฯ

HTML::image( HTML::image(