คำว่า 'ชั่วโมงทอง' เป็นที่รู้จักครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งแพทย์ใช้เพื่ออธิบายช่วงเวลาสำคัญระหว่างความเป็นและความตายของผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากสนามรบ ที่ความช่วยเหลือทางการแพทย์เกิดผลสำเร็จในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่เหลืออยู่นั้น
คำนี้ยังถูกใช้โดยช่างภาพทิวทัศน์ที่ถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงของแสงระหว่างกลางวันและกลางคืน 'ชั่วโมงทอง' ในที่นี้จึงหมายถึงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนพระอาทิตย์ตกดินหรือหลังพระอาทิตย์ขึ้น เมื่อความคมชัดของเวลากลางวันลดน้อยลงและแสงมีความสลัวอ่อนโยน
ความหมายทั้งสองนี้แสดงให้เห็นถึงความสมดุลของชีวิตและความตาย ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและการเปลี่ยนแปลงระหว่างแสงสว่างและความมืด ในงานภาพถ่ายสองชุดที่มีความแตกต่างกันอย่างสวยงามของไซรัส ถัง ซึ่งสัมผัสได้ถึงประสบการณ์ของความเสียหายและการสูญเสีย
ในผลงานชุดนี้ เธอสร้างเมืองจำลองขึ้นมาจากเซรามิกสีขาวที่ถูกยิง ทำให้นึกถึงสถาปัตยกรรมสไตล์บรูทัลลิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การท่องเที่ยวไปตามท้องถนนในหมู่บ้านตะวันออกกลางและหมู่บ้านในเมดิเตอร์เรเนียน ที่ถูกระบายออกมาด้วยสีและแสงเรืองรองที่น่ากลัว จากนั้นเธอยิงกระสุนเข้าไปที่เมืองจำลองเหล่านี้ เพื่อมให้เกิดการระเบิดเป็นเศษเล็กเศษน้อยและปล่อยควันฝุ่นออกมา
การระเบิดที่มีความรุนแรงกระทบกระเทือนจิตใจที่ไม่อาจบรรยายได้นี้ ทำให้นึกถึงการทำลายล้างจากสงครามในซีเรียและเยเมน ทว่าภาพเหล่านี้ยังเปล่งประกายความงามอันน่าตกใจที่ปรากฎขึ้นคล้ายกับแสงออโรร่าของการระเบิด
นอกจากนี้นิทรรศการภาพถ่าย "ชั่วโมงทอง" (Golden Hour) ที่แกลเลอรี่ โอเอซิส ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานแกลเลอรี่ ไนท์ (Galleries' Night) ครั้งที่ 7 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2563 พร้อมกับแกลเลอรี่อื่น ๆ มากกว่า 70 แห่ง พื้นที่ศิลปะที่มีชื่อเสียงหรือซ่อนเร้นที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสีลม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สาทร สุขุมวิท และปทุมวัน งานแกลเลอรี่ ไนท์ จะแสดงงานศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินมากมายจากทั้งในประเทศไทยและจากทั่วโลก จัดแสดงจนถึงดึกตลอดทั้งสองคืน รวมทั้งผลงานวิดีโอชิ้นพิเศษของไซรัส ถัง ที่มีชื่อว่า 'In Memory's Eye, We Travel' จะถูกจัดแสดงเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของงานแกลเลอรี่ ไนท์ ในคืนวันที่ 15 กุมภาพันธ์อีกด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit