รายงาน Opportunity2030 : The Standard Chartered SDG Investment Map ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เผยโอกาสการลงทุนสำหรับภาคเอกชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาติในประเทศตลาดเกิดใหม่มีมูลค่ารวม 9.668 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพและมีโอกาสการลงทุนในด้านนี้ราว 5.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
รายงานฉบับดังกล่าวยังได้ระบุว่าโอกาสการลงทุนของภาคเอกชนที่ตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs ในตลาดเกิดใหม่ จากนี้ไปจนถึงปี 2573 มีอยู่ 3 ด้าน ได้แก่: เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล, เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และ เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยศักยภาพที่แข็งแกร่ง
สำหรับประเทศไทย โอกาสการลงทุนหลักที่ตอบโจทย์เป้าหมาย SDG อยู่ในด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและการยกระดับการเข้าถึงระบบดิจิทัล ซึ่งทั้งสองด้านนี้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของเป้าหมายที่ 9 ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในอุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน
รายงาน Opportunity2030 พบว่า การจะยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศไทยขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ต้องการการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นมูลค่าราว 4.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในระหว่างนี้ไปจนถึงปี 2573 และการเข้าถึงระบบดิจิทัลอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการผนวกอัตราจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ยังมีโอกาสในการลงทุนสำหรับภาคเอกชนในด้านนี้อยู่ถึง 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจุบัน ประชากรในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึงแล้ว (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญตามเป้าหมายที่ 7) และร้อยละ 99 ของประชากรมีน้ำใช้ มีการจัดการน้ำและสุขาภิบาล (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญตามเป้าหมายที่ 6) ดังนั้นในด้านนี้ โอกาสการลงทุนสำหรับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาต่อจึงมีมูลค่าอยู่ที่ราว 700 ล้านเหรียญ
พลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า "ประเทศไทยประสบความสำคัญในการดำเนินตามเป้าหมาย SDG มาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประเทศไทยยังคงขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายนี้ต่อไป ภาคเอกชนมีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาครัฐก็ได้ให้การส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุน"
"รายงาน Opportunity2030 เป็นการฉายภาพแผนที่สำคัญของโอกาสตามเป้าหมาย SDG สำหรับภาคเอกชนที่กำลังมองหาโอกาสการลงทุนที่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยหลายล้านชีวิตต่อเนื่องไปจนถึงทศวรรษหน้า"
บิล วินเทอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า "เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นแนวทางที่โครงการต่างๆ พยายามดำเนินตามให้ได้ ในขณะที่เราพยายามก้าวผ่านความท้าทายอันยิ่งยวดของโลก ความท้าทายเหล่านั้นได้สร้างโอกาสเฉพาะให้กับภาคเอกชน ในการที่เราจะบรรลุผลตามเป้าหมาย ภาคเอกชนต้องมีบทบาทในการลงทุนผลักดันให้โครงการต่างๆ เหล่านั้นเดินหน้าไปได้ รายงาน Opportunity2030 ได้สะท้อนภาพแผนที่ของโอกาสเหล่านี้ โดยให้ข้อมูลภาคส่วนและตลาดต่างๆ ที่นักลงทุนสามารถมีส่วนร่วมในการมุ่งสู่เป้าหมาย SDGs ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลตอบแทนที่ยั่งยืน"
"ตอนนี้ ยังขาดการลงทุนในประเทศที่ต้องการเงินลงทุนไปพัฒนาโครงการต่างๆ ตามเป้าหมายนี้ เราเหลือเวลาอีกแค่ 10 ปีที่จะบรรลุตามเป้าหมายเหล่านี้ให้ได้ภายในปี 2573 ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ เราไม่มีเวลาแล้ว ต้องลงมือตอนนี้"
รายงาน Opportunity2030: โอกาสการลงทุนตามเป้าหมาย SDGs ในประเทศไทย แยกตามตัวชี้วัดภาคอุตสาหกรรม :
เป้าหมาย 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล เป้าหมาย 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ เป้าหมาย 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานภาคอุตสาหกรรม การจัดการน้ำและสุขาภิบาล พลังงาน การคมนาคม การเข้าถึงระบบดิจิทัล
สถานะในปัจจุบัน ร้อยละ 99 มีน้ำใช้และเข้าถึงการจัดการน้ำและสุขาภิบาล ทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ คะแนนโครงสร้างพื้นฐานดัชนีด้านการคมนาคม(Logistics Performance Index : LPI) อยู่ที่ 3.14 ร้อยละ 66 มีโทรศัพท์และเข้าถึงอินเตอร์เน็ต
เป้าหมายภายในปี 2573 ทั้งหมดมีน้ำใช้และเข้าถึงการจัดการน้ำและสุขาภิบาล ทั้งหมดมีไฟฟ้าใช้ คะแนนโครงสร้างพื้นฐานดัชนีด้านการคมนาคมอยู่ที่ 3.56 ทั้งหมดมีโทรศัพท์และเข้าถึงอินเตอร์เน็ต
มูลค่าการลงทุนที่ต้องการจากนี้จนถึงปี 2573 6.9 พันล้านเหรียญ ไม่มี 1.16 แสนล้านเหรียญ 2.84 หมื่นล้านเหรียญ โอกาสการลงทุนสำหรับภาคเอกชนจนถึงปี 2573 700 ล้านเหรียญ ไม่มี 4.06 หมื่นล้านเหรียญ 1.7 หมื่นล้านเหรียญ
*ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึงแล้ว ดังนั้นโอกาสการลงทุนในด้านนี้จึงไม่ได้รวมอยู่ในตาราง อย่างไรก็ตาม ด้วยเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงเพื่อรักษาระดับการมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึงด้วยวิธีที่ยั่งยืน
ท่านสามารถอ่านรายงาน Standard Chartered Opportunity2030 ฉบับเต็มได้ ที่นี่
รายงาน Opportunity2030: The Standard Chartered SDG Investment Map เป็นการศึกษาเชิงเศรษฐกิจมหภาคซึ่งใช้แหล่งข้อมูลทั่วโลกและการมีส่วนของภาคเอกชนเพื่อสะท้อนให้บริษัทต่างๆ นักลงทุนสถาบัน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ได้เห็นภาพรวมว่าการลงทุนของพวกเขาในที่ใดจะส่งผลอย่างยิ่งยวด ในรายงานได้ศึกษาเศรษฐกิจ 15 ประเทศที่มีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกและประเมินโอกาสการลงทุนของภาคเอกชนที่ตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs (เป้าหมายที่ 6,7 และ 9) ที่มีความพร้อมสำหรับการลงทุน ภายใต้เป้าหมาย 3 ข้อนี้ รายงานมุ่งเน้นไปที่ตัวชี้วัด 4 ตัว ได้แก่ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล พลังงาน โทรคมนาคม (การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต) และโครงสร้างการคมนาคม ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เราเป็นกลุ่มธนาคารสากลชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจใน 60 ตลาดที่มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และให้บริการลูกค้าในอีก 85 ตลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการค้า การลงทุนและการสร้างความมั่งคั่ง หลักการที่สืบทอดมาและค่านิยมองค์กรของเราสะท้อนอยู่ในพันธกิจของสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่ว่า Here for good ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจำกัด มหาชน ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนและฮ่องกง นอกจากนี้ยังได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งชาติในประเทศอินเดียอีกด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการอ่านบทความจากทีมนักเศรษฐศาสตร์ โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.sc.com และติดตามสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ทาง Twitter, LinkedIn และ Facebook
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit