จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจีน 4,837 คน และผู้ประกอบการหรือผู้ค้าในต่างประเทศ 547 ราย พบว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงรักษาความเป็นผู้นำสำหรับการบริการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีน โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยไทยครองอันดับที่ 1 และ 6 ตามลำดับจากการจัดอันดับทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคดังกล่าวมีการพัฒนาที่ดีในเรื่องโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือ ส่วนประเทศอื่นๆ ใน "10 ประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือมากที่สุด" ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกๆ ที่มีการปรับใช้โซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือ ผู้ค้าเกือบทุกราย (97%) ระบุว่ามีการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในแง่ของการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือและยอดใช้จ่ายผ่านมือถือของนักท่องเที่ยวจีน
ผลลัพธ์ดังกล่าวกระตุ้นให้ผู้ค้าในต่างประเทศหันมาสนใจและขยายขอบเขตการใช้งานแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือของจีนเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่ระบบดิจิทัล โดยเกือบ 7 ใน 10 (66%) ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร มีแผนที่จะขยายการดำเนินงานร้านค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือของชาวจีน รวมทั้งขยายกิจกรรมด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายโดยอาศัยแพลตฟอร์มดังกล่าว ทั้งนี้ 78% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสหราชอาณาจักรระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะแนะนำบริการอาลีเพย์ให้กับผู้ค้ารายอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลประกอบการของธุรกิจจัสติน ซาร์เจนต์ ประธานของนีลเส็น ไชน่า (Nielsen China) กล่าวว่า "ระดับการใช้งานบริการชำระเงินผ่านมือถือของจีน (สัดส่วนของธุรกรรมการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ) และความถี่ของการใช้งาน (ยอดใช้จ่ายทั้งหมดที่ผ่านการชำระเงินด้วยมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในระดับเชิงลึกมากขึ้นของโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือของจีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก"
แองเจล เจา ประธานกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์ ไฟแนนเชียล (Ant Financial) กล่าวว่า "ผู้ค้าในต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะปรับใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากบริการชำระเงิน เพราะจะช่วยธุรกิจทั่วไปปรับตัวสอดรับกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการนำเสนอประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalized Experiences) สำหรับผู้บริโภคทั่วโลก อาลีเพย์ ซึ่งเป็นอีโคซิสเต็มส์ของอาลีบาบา มีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของธุรกิจ ช่วยให้ผู้ค้าทั่วโลกสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและได้รับประโยชน์จากธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกที่กำลังเฟื่องฟู"
รายงานดังกล่าวนำเสนอแง่มุมใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของธุรกิจค้าปลีกในต่างประเทศในช่วงเวลาที่ธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์มีการผสานรวมเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกับที่นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศก็มีอิทธิพลในการใช้จ่ายระหว่างเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น
ข้อมูลสำคัญที่ระบุในรายงาน:
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศปลายทาง
ในบรรดาประเทศทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม การใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือของจีนในสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงสุด โดยสิงคโปร์ครองอันดับ 1
ยอดใช้จ่ายทั้งหมดผ่านการชำระเงินด้วยมือถือของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีการปรับใช้ระบบชำระเงินผ่านมือถือของจีนอย่างแพร่หลาย
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ค้า
ผู้ค้าในต่างประเทศยกระดับการใช้งานแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือของจีน ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
ผู้ค้าในต่างประเทศพบว่าการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนนั้นจะพบเห็นได้ทั่วไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี
78% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสหราชอาณาจักรระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ตนเองจะแนะนำอาลีเพย์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินผ่านมือถือชั้นนำของจีน ให้กับผู้ค้ารายอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลประกอบการของธุรกิจ
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านมือถือ
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
ในปี 2562 จุดหมายปลายทางที่อยู่ในช่วงระยะการเดินทางด้วยเครื่องบิน 4 ชั่วโมง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และสิงคโปร์ ยังคงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวจีน
3 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศของนักท่องเที่ยวจีน ได้แก่ วิธีการชำระเงินที่ผู้ค้ายอมรับ (37%), ความหลากหลายและคุณภาพของสินค้า (36%) และราคาสินค้า (36%)
ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นักท่องเที่ยวจีนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1990 มียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 12% สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศต่อครั้ง ขณะที่นักท่องเที่ยวที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 มียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 15% การใช้จ่ายระหว่างการเดินทางที่เพิ่มขึ้นนี้อาจเป็นผลมาจากความต้องการที่จะสัมผัสประสบการณ์และวัฒนธรรมเชิงท้องถิ่นในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น
กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมในอินโฟกราฟิกที่แนบมา และหากต้องการดาวน์โหลดรายการฉบับเต็ม ให้คลิกที่นี่
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit