ในส่วนของการสัมมนาภาคบ่าย เจาะลึกหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ เครื่องมือสมัยใหม่สำหรับการจัดการฟาร์มพืชไร่และสวนพืชผล, นวัตกรรมสำหรับการจัดการไร่อ้อย, เทคโนโลยีปรับพื้นที่นาด้วยแสงเลเซอร์, แนวคิดการจัดหาเงินทุนและการบริหารจัดการงบการเงินสำหรับเครื่องจักรกลการเกษตร, นวัตกรรมทางการเงินสำหรับมาตรการบรรเทาผลกระทบในภาคการเกษตร และแนวโน้มการทำฟาร์มแนวดิ่ง ในวันที่สอง ผู้ที่เข้าร่วมงานจะได้เดินทางออกนอกสถานที่เพื่อสัมผัสประสบการณ์จริงในฟาร์มที่มีการบริหารจัดการด้วยนวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้จากผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่จริง 2 เส้นทาง ได้แก่ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี และโคโรฟิลด์ ฟาร์ม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ซึ่งผู้จัดงานฯ พาผู้เข้าร่วมงาน วิทยากรรับเชิญ และผู้ประกอบการไปชมฟาร์มตัวอย่างกันอย่างหนาแน่น นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของงาน งาน Agrifuture Conference & Exhibition งานประชุมและงานแสดงเทคโนโลยีเกษตรแห่งอนาคต และผู้จัดงานฯ เชื่อมั่นว่า เราจะเป็นอีกหนึ่งแรงที่ผลักดันให้ภาคเกษตรไทยพัฒนาไปสู่ระดับสากลได้ในอนาคต การจัดงานในครั้งนี้ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้คนรู้จักกับงาน AGRITECHNICA ASIA และ Horti ASIA ซึ่งจะถูกจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 พฤษภาคม 2563 ณ ไบเทค กรุงเทพฯ
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ www.agritechnica-asia.com | www.horti-asia.com โทร. 02-670-0900 ต่อ 209 (ผู้จัดการโครงการ) หรือ 122 (ฝ่ายสื่อสารการตลาด)
เจาะลึกโปรแกรมการประชุมสัมมนา (ช่วงเช้า)
ในวันแรกของการจัดงาน หัวข้อการประชุมสำหรับช่วงเช้า ได้แก่ "New Ag-Business Opportunities" โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ Dr. Wolfgang H. Pfeiffer จากผู้พัฒนาโครงการ HarvestPlus - โปรแกรมการพัฒนาเมล็ดพืชอัจฉริยะจากสหรัฐอเมริกา โดยสถาบัน International Food Policy Research Institute (IFPRI) บรรยายในหัวข้อ "Catalysing biofortified food systems with partners in supply chain and market development" คือการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของพืช อาทิ ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และวิตามินเอ (Biofortification) ทั้งนี้ ไม่เพียงแค่มีปริมาณสารอาหารสูงเท่านั้น แต่ยังให้ผลผลิตสูงอีกด้วย มีความทนทานต่อศัตรูพืช ทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเมล็ดพืชที่ผ่านกระบวนการเพิ่มสารอาหารนี้จะถูกเพาะปลูกตามแนวทางการเกษตรแบบดั้งเดิม และแตกต่างจากพืชตกแต่งพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็มโอ ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการมีเป้าหมายว่าในที่สุดพืชเสริมสารอาหารจะกลายเป็นทางออกแก่ปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคและผู้ผลิตพืชภาคเกษตร
ในขณะเดียวกัน Mr. Martin Gummert จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) จะบรรยายถึงเรื่อง "การยกระดับมูลค่าห่วงโซ่การเก็บเกี่ยวไปจนสู่ตลาดเพื่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน" นอกจากนี้ Mr. Djaja Wisman ซึ่งมีบทบาทและมีส่วนร่วมกับคณะทำงานในฟาร์มโคนม (Dairy Working Group) ของ PISAgro และรองประธานคณะกรรมการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและนมวัวประจำประเทศอินโดนีเซีย จาก KADIN หรือ Indonesian Chamber of Trade and Industry จะบรรยายถึง "การทำฟาร์มโคนมในอินโดนีเซีย สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มอนาคตในอีกห้าปีข้างหน้า"
ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย ให้เกียรติบรรยายเรื่อง "การเตรียมความพร้อมสำหรับการทำฟาร์มอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" โดยคณะวิทยากรข้างต้นจะมุ่งให้ความสำคัญถึงความท้าทายและโอกาสที่เกษตรกรจะพบเจอระหว่างการพัฒนาการทำฟาร์ม และแนวโน้มธุรกิจภาคเกษตรในอนาคต
โปรแกรมการประชุมสัมมนา (ช่วงบ่าย) จะมีการนำเสนอหัวข้อการประชุมและสัมมนาที่น่าสนใจถึง 5 หัวข้อ ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถเลือกตามความสนใจและประเภทธุรกิจ ดังนี้
โปรแกรมการเยี่ยมชมฟาร์ม
ในวันที่สอง ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาจะเดินทางไปเยี่ยมชมฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่จะมาสาธิตและอภิปรายเทคนิคการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยเฉพาะการปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดแห้งเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และพืชผักใน 2 เส้นทาง ได้แก่ คูโบต้าฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เรียนรู้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลเกษตรรุ่นใหม่ครอบคลุมตั้งแต่ เซนเซอร์วัดคุณภาพดิน (Soil Sensor), สถานีวัดอากาศ (Weather Station), ระบบการจัดการฟาร์มด้วย IoT (Farm IoT Dashboard), การทำเกษตรแม่นยำด้วยแอปพลิเคชัน KUBOTA Agri Solution (KAS), ปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution, การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยเครื่องตรวจวัดความหวาน (Fruit Selector), เทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (Dryer & Milling), เครื่องหยอดเมล็ดแม่นยำสูง (Seeding Machine), Vegetable Planter (เครื่องปลูกผัก) และการปลูกพืชในโรงเรือน (Greenhouse Technology) เจาะลึกทุกเทคนิค เข้าใจทุกกลไลการทำงานของเครื่องมือต่างๆ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูลจากการใช้งานจริง พร้อมนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานวัตกรรมทางการเกษตรที่จะช่วยให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และอีกไฮไลท์สำคัญคือการเยี่ยมชมโคโรฟิลด์ ฟาร์ม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ศึกษาวิธีการปลูกและปรับปรุงพืชสายพันธุ์พิเศษที่หายากจากทั่วโลก ดูแลภายใต้ระบบโรงเรือนที่นำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
Katharina Staske ผู้จัดการโครงการจากองค์กรเกษตรแห่งเยอรมัน (DLG) กล่าวว่า "งาน Agrifuture Conference & Exhibition ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้คนรู้จักกับงาน AGRITECHNICA ASIA ซึ่งจะถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่สาม ระหว่างวันที่ –7-9 พฤษภาคม 2563 ณ กรุงเทพฯ" และกล่าวเสริมอีกว่า "องค์กรเกษตรแห่งเยอรมันได้มีการขยายความสัมพันธ์กับเกษตรกรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งการจัดงานประชุมครั้งใหม่นี้มีเป้าหมายที่จะรวบรวมเกษตรกรทั่วภูมิภาคเพื่อที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา เทคนิคที่สามารถสนับสนุนเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป"
www.agritechnica-asia.com
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit