นางสาวนิสากรฯ กล่าวให้ข้อมูลว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ มุ่งเน้นขับเคลื่อนโดยนำผลงานวิจัยของกรมมาถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการ เป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งภายในงานมีผู้ประกอบการ 3 กลุ่มที่ทาง วศ. ได้ลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพ ได้แก่ กลุ่มผ้าทอบ้านศรีอุดม จ.น่าน ได้รับการฝึกอบรมเรื่อง "การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าทอด้วยสีธรรมชาติ" รับคำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาผ้าทอที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติให้สีไม่ตก และทดสอบคุณภาพผ้าตาม มผช.โดยยื่นขอทั้งหมด 4 ผลิตภัณฑ์ และได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ผ้าจก ผ้าพันคอ ผ้าขาวม้า และผ้าปูโต๊ะและผ้าที่ใช้บนโต๊ะอาหาร กลุ่มน้ำมัลเบอร์รี่ แยมมัลเบอร์รี่ จ.สระบุรี วศ. ได้เข้าไปส่งเสริมและผลักดันให้ได้การรับรองระบบมาตรฐาน.GMP.(.Codex) ในปี2560 ภายใต้ "โครงการการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการอาหารแปรรูปตามมาตรฐานเพื่อการส่งออก" หลังจากได้รับมาตรฐานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและขยายตลาดผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชมรมสมุนไพรและอาชีพเสริม 2000 ผลิตซิลค์โปรตีน มอยเจอร์ไรซิ่งครีม ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์บำรุงผิว การเตรียมสารสกัดไหมให้ได้ปริมาณโปรตีนที่สามารถช่วยบำรุงผิว หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องสำอางว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไป (GHP) จาก วศ. ทำให้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของกลุ่มได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (มผช.551/2553)
ทั้งนี้งาน OTOP City 2019 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ - 23 ธันวาคม 2562 สำหรับกิจกรรม Highlight ได้แก่ 1. โซนของขวัญปีใหม่ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ของขวัญของฝาก จาก 40 จังหวัด 2. โซนหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบกับการจำลองชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 4 ภาค จำนวน 8 หมู่บ้าน 3. OTOP Masterpiece นำเสนอผลงานที่มีความโดดเด่น 4. ผลิตภัณฑ์ที่ชนะการประกวด Knowledge based OTOP (KBO