นายนราพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงเกษตรกำลังพัฒนาฐานข้อมูล (Big data) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการดำเนินนโยบาย และประชาชนทั่วไป สามารถตอบโจทย์เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี หากมีศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้จริง สร้างการถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน
การเปลี่ยน mindset ของเกษตรกรในการทำเกษตรยุคใหม่ สร้างช่องทางการหาตลาดเพิ่มขึ้น สามารถเป็นผู้ประกอบการรายย่อยได้เอง หรืออนาคตพัฒนาเป็นผู้ส่งออก หากมีการบูรณาการร่วมกันจะเป็นประโยชน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล
สำหรับศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ บนพื้นที่ 1,300 ไร่ มีฐานการเรียนรู้จากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 7 ด้าน ได้แก่ งานชลประทาน งานปศุสัตว์ งานประมง งานพัฒนาที่ดิน งานวิชาการเกษตร งานด้านข้าว และงานพืชสวน ซึ่งที่นี่จะเป็นที่พึ่งของเกษตกรและประชาชนในจังหวัดและในประเทศไทยในการช่วยเหลือส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวพระราชดำริ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค Thailand 4.0 โดยตัวอย่างการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ ได้แก่ การออกแบบสวนทุเรียนสมัยใหม่ เช่น ทุเรียนระยะชิด ทุเรียนต้นคู่ และทุเรียนกางแขน โดยใช้ระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ เครื่องจักรพ่นยา การใช้แอปพลิเคชันในมือถือควบคุมการให้น้ำ มีระบบเซนเซอร์ การควบคุมความชื้นในดิน และใช้งานวิจัยในการยกโคกเพื่อทำดินให้ฟู และรากไม่เน่า จากเดิมการปลูกทุเรียนปกติ 8*8 ต่อ 1 ไร่ ปลูกได้ 20 - 25 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม หากปลูกแบบสมัยใหม่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรง่ายขึ้นในการทำการเกษตร และลดต้นทุนการใช้แรงงาน รวมถึงผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ จะนำการขับเคลื่อนการพัฒนาศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ รายงานผลต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) เพื่อส่งเสริม ขยายผลการพัฒนาศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงให้ทันสมัย สร้างแรงดึงดูดให้เกษตกรและประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สร้างงานและความมั่นคงทางอาชีพต่อไป
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit