ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและบริการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่โครงการประกวดหนังสั้น CAT SHORT FILM 2019: ขับเคลื่อนทุกความสำเร็จด้วยเทคโนโลยี ในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากน้องๆ เป็นอย่างดี โดยการประกวดครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "ขับเคลื่อนทุกความสำเร็จด้วยเทคโนโลยี" เนื่องจากเป็นหัวใจหลักในการทำงานของ CAT เราจึงอยากเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้มีโอกาสแชร์เรื่องราวในมุมของตัวเองว่าเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เรื่องราวต่างๆ ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และน้องๆ แต่ละทีมก็ได้แสดงฝีมือการทำหนังสั้นกันอย่างเต็มความสามารถ ที่สำคัญคือ น้องๆ สามารถทำความเข้าใจกับเรื่องของการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจและสื่อสารออกมาเป็นบทภาพยนตร์และสอดคล้องกับระบบคุณค่าแบรนด์ของ CAT ให้ผู้ชมได้รับชมได้อย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย ซึ่งเนื้อหาในการนำนวัตกรรม / เทคโนโลยีที่น้องๆ ได้นำเสนอเหล่านี้ ผู้ชมที่ได้รับชมสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดในธุรกิจหรือชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย ซึ่งเราจะได้นำผลงานไปเผยแพร่ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ ต่อไป"
CAT SHORT FILM 2019: ขับเคลื่อนทุกความสำเร็จด้วยเทคโนโลยี ครั้งนี้ ไม่ได้เพียงแค่เผยความสามารถด้านการถ่ายทำภาพยนตร์ของน้องๆ เท่านั้น แต่ยังคงเผยถึงมุมมองและความคิดต่อการสื่อสารและเทคโนโลยีในปัจจุบันอีกด้วย
พณิตชญร์ พงศ์รพีพร ตัวแทน ทีม 8.45 จากวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เจ้าของผลงาน "Dining Room" เผยว่า ต้องขอบคุณ CAT ที่มอบโอกาสและทุนสนับสนุนให้พวกเราสามารถถ่ายทอดความคิดและแรงบันดาลใจสู่หนังสั้นเรื่องนี้ ซึ่งได้ถ่ายทอดเรื่องราวของเทคโนโลยีในแต่ละยุคที่มีบทบาทในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัว เราได้นำเสนอการเลี้ยงลูกผ่านเทคโนโลยีในแต่ละยุคว่าเป็นอย่างไร ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน เราเห็นได้ว่าต่อให้เทคโนโลยีมีความล้ำหน้าแค่ไหน แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยคือความสัมพันธ์ของครอบครัว และท้ายที่สุดเทคโนโลยีก็เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่มาเสริมความสัมพันธ์ของมนุษย์เท่านั้น"
ด้าน สุทธิพงษ์ ขันแจ้ ตัวแทนทีม Detective จากคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เจ้าของผลงาน "Detective" เผยว่า "เพราะเทคโนโลยีอยู่เคียงข้างผู้คนในปัจจุบันอยู่แล้ว เราจึงต้องการหาหัวข้อที่ดูแตกต่างจากทีมอื่นๆ จึงมาลงตัวที่แนวสืบสวน โดยสื่อให้เห็นถึงความล้ำหน้าของเทคโนโลยีในการติดตามหาตัวคนหาย ต้องขอบคุณ CAT ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำหนังสั้น ตั้งแต่การเวิร์กชอป ก่อนไปถ่ายทำภาพยนตร์จนถึงขั้นตอนการนำมาเผยแพร่ครับ"
ปิดท้ายที่ นฤเบศร์ มาดขาว ตัวแทนทีม Sansab Filmaker คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง เจ้าของผลงาน "อนุรักษ์" ได้นำแนวคิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมานำเสนอ "ต้องขอบคุณ CAT ที่ให้โอกาสพวกเราครับ ครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่เราได้ทำหนังสั้นและได้รับรางวัล รู้สึกภูมิใจมากครับ สำหรับคีย์เวิร์ดของหนังเรื่องนี้ เราอยากแสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารที่ผิดจุด ต่อให้คุณมีไอเดียดีแค่ไหน แต่หากโพสต์ผิดที่ ผิดเวลา และตามเทรนด์ไม่ทัน ก็จะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นการจะยืนหยัดอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีขับเคลื่อนอยู่ทุกเวลา เราต้องรวดเร็ว รอบคอบและทันเทรนด์ครับ"
หนังสั้นเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพลังความคิดสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน CAT Channel พร้อมสนับสนุนกิจกรรมและเผยแพร่ไอเดียดีๆ เหล่านี้ เพื่อต่อยอดความสำเร็จของวงการสื่อสารมวลชนไทย และพร้อมทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในรูปแบบคอนเทนต์ที่หลากหลายต่อไป ทั้งนี้ สามารถติดตามชม ผลงานหนังสั้นของนักศึกษาทั้ง 10 ทีมที่เข้ารอบ และทีมชนะเลิศ 3 ทีมสุดท้าย ได้ทาง ช่อง CAT Channel ระบบจานดาวเทียม C-Band PSI, Ku-Band Good TV และ Mobile Application CAT Channel บน Android และ IOS ตลอดจนช่องทางออนไลน์ของ CAT ต่อไป
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit