ชลประทาน จัดงบเร่งด่วน 2,705.7 ล้านบาท พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ 266 โครงการ กระจายทั่วประเทศ

23 Mar 2020

งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของกรมชลประทานว่ากันที่ตัวเลขตามภารกิจกว่า 6 หมื่นล้านบาท ทั้งโครงการใหม่และโครงการผูกพันงบประมาณ แต่จากภัยแล้งและคาดว่าปริมาณฝนในปี 2563 จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย กรมได้วางงบเร่งด่วนก้อนหนึ่งเพื่อเพิ่มแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็ก หรือระบบบริหารในลำน้ำกระจายทั่วประเทศ                        ไว้เป็นเสมือนแหล่งน้ำสำรองใช้เสริมน้ำในอ่างหลัก และสิ่งสำคัญคือลดความเดือดร้อนของประชาชนในฤดูแล้งหน้าปี 2563/64

ชลประทาน จัดงบเร่งด่วน 2,705.7 ล้านบาท พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ 266 โครงการ กระจายทั่วประเทศ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแผนงานโครงการของกรมชลประทาน ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ว่าในปี 2563 กรมชลฯมีโครงการที่จะดำเนินการ 877 โครงการ เมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 176,968 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 939,595 ไร่ เก็บน้ำได้ 210.45 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ครัวเรือนได้ประโยชน์ 380,020 ครัวเรือน แบ่งเป็น

  1. การพัฒนาแหล่งน้ำใหม่จำนวน 421 แห่ง เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1.77 แสนไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 2.58 แสนไร่ ปริมาณน้ำกักเก็บได้ 199.54 ล้านลูกบาศก์เมตร
  2. การปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 456 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 6.82 แสนไร่



“ แต่จากความแห้งแล้งรุนแรงต้นปี63 และกรมอุตุนิยมวิทยาว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3-5 % อีกทั้งพิจารณาจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศจะมีปริมาณน้อยหรือเท่าต้นฤดูแล้งปี 62/63 ที่ผ่านมา กรมจึงวางโครงการเร่งด่วนในงบปี  63   ตามข้อห่วงใยของพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ(กนช.) และนโยบายของนายเฉลิมชัยศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องหาแหล่งน้ำสำรองและเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บน้ำต้นฤดูฝน 63 เพื่อเป็นแหล่งน้ำเสริมอ่างเก็บน้ำหลักในช่วงแล้งปีต่อไป"

โครงการเร่งด่วนวางไว้เพื่อกักเก็บน้ำต้นทุนในฤดูฝน จำนวน 266 โครงการ งบประมาณรวม 2,705.7 ล้านบาท เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,300 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 3.74 แสนไร่ เก็บน้ำได้ 64.84 ล้านลบ.ม. ครัวเรือนได้ประโยชน์ 79,624 ครัวเรือน กระจายทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1.แก้มลิง วงเงิน 975.4 ล้านบาท 2.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกัก วงเงิน 608.6 ล้านบาท ส่วนมากเป็นโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำ 3. โครงการบรรเทา วิกฤติภัยแล้งและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกัก 859.6 ล้านบาท 4. ขุดลอกคลองวงเงิน 261.9

ในภาพรวมแบ่งเป็นในภาคเหนือรวม 52 โครงการ งบประมาณ 839.9 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 108 โครงการ งบ 1,000 ล้านบาท ภาคกลาง 58 โครงการ งบ 387.5 ล้านบาท ภาคตะวันออก 25 โครงการ งบ 288.5 ล้านบาท ภาคใต้ 22 โครงการ งบ 185.9 ล้านบาทและ ในชายแดนใต้ 1 โครงการ วงเงิน 9 ล้านบาท และหากมองภาพรวมของกรมได้มีการวางแผนงานโครงการในช่วงปี 63-65 ทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ ขุดลอกคลอง จำนวน 4,415 รายการ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,259,655 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 7,704,157 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักได้ 1,415 ล้านลบ.ม. ครัวเรือนได้ประโยชน์ 1,788,326 ครัวเรือน

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ของกรมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อาทิ

  1. โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเสร็จจะช่วยลดอุทกภัยในพื้นที่และสามารถเก็บน้ำในลำน้ำได้จำนวนหนึ่ง
  2. โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
  4. โครงการปรับปรุงคลองยม-น่าน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ และ
  5. โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำภาคตะวันออก แต่ละโครงการที่ได้มีการวางในงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีล้วนมาจากแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 20 ปีของประเทศที่นำมาจัดในงบรายปีเพื่อให้ส่งประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและคนไทยทั้งประเทศ



ชลประทาน จัดงบเร่งด่วน 2,705.7 ล้านบาท พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ 266 โครงการ กระจายทั่วประเทศ ชลประทาน จัดงบเร่งด่วน 2,705.7 ล้านบาท พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ 266 โครงการ กระจายทั่วประเทศ ชลประทาน จัดงบเร่งด่วน 2,705.7 ล้านบาท พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ 266 โครงการ กระจายทั่วประเทศ