ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ คว้ามาตรฐานความปลอดภัย ASEAN NCAP ระดับ 5 ดาว ตอกย้ำความเหนือกว่าทั้งด้านสมรรถนะ อัตราการประหยัดน้ำมัน และความปลอดภัยสูงสุด

31 Mar 2020

ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ คว้ามาตรฐานความปลอดภัย ASEAN NCAP ระดับ 5 ดาว ตอกย้ำความเหนือกว่าทั้งด้านสมรรถนะ อัตราการประหยัดน้ำมัน และความปลอดภัยสูงสุด

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศอีกหนึ่งความสำเร็จของ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ เจเนอเรชันที่ 5 ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาวจากการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP ครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวัดสมรรถนะด้านความปลอดภัยของยานยนต์รุ่นใหม่ที่วางจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (New Car Assessment Program for Southeast Asia) โดย ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ประเทศไทย และมียอดจองกว่า 16,000 คัน นับตั้งแต่เปิดตัว (ข้อมูลตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน 2562 – 15 มีนาคม 2563)

ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว ด้วยคะแนนรวม 86.54 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน จากหลักเกณฑ์การประเมินที่ประกอบด้วย การทดสอบการชนจากด้านหน้า การชนจากด้านข้าง และการประเมินเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย โดยฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ ได้รับคะแนนในส่วนการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection: AOP) สูงถึง 44.83 คะแนน การปกป้องผู้โดยสาร
ที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection: COP) 22.85 คะแนน และเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย (Safety Assist Technologies: SATs) 18.89 คะแนน ทั้งนี้ ฮอนด้า ซิตี้ เป็นยนตรกรรมรุ่นแรกของฮอนด้าที่ผ่านการรับรองของ ASEAN NCAP ในปี 2555 และคงมาตรฐานความปลอดภัยยอดเยี่ยมระดับ 5 ดาวไว้ได้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เจเนอเรชันที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในครั้งนี้ ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ ที่นำมาใช้ในการทดสอบเป็นรุ่น SV* ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย

ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ ครบครันด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัยอันล้ำสมัย ทั้งโครงสร้างตัวถังนิรภัย G-Force Control หรือ G-CON ปกป้องห้องโดยสารจากการชนรอบทิศทางด้วยถุงลม 6 ตำแหน่ง* ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) พร้อมระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist - VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist - HSA) สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติขณะเบรกกะทันหัน (Emergency Stop Signal - ESS) และกล้องส่องภาพด้านหลังปรับมุมมอง 3 ระดับ (Multi-angle Rearview Camera) เป็นต้น และขับเคลื่อนด้วยขุมพลังเทอร์โบเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร DOHC VTEC TURBO 3 สูบ 12 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 122 แรงม้า ตอบสนองได้ทันใจด้วยแรงบิดสูงสุด 173 นิวตัน-เมตร ให้สมรรถนะการขับขี่ที่เหนือกว่าเครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร (เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม) และแรงบิดเทียบเท่าเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตร ผสานการทำงานกับระบบเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง (CVT) ให้อัตราเร่งและอัตราการประหยัดน้ำมันที่ดีเยี่ยมสูงถึง 23.8 กิโลเมตร/ลิตร อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 99 กรัม/กิโลเมตร

ฮอนด้ามุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนายนตรกรรมที่มีคุณภาพ
ครบครันด้วยเทคโนโลยีด้านการขับขี่และด้านความปลอดภัย เพื่อมอบความมั่นใจและความปลอดภัยในทุกการเดินทาง
พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายในการสร้างสังคม  ปลอดอุบัติเหตุให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
ตามวิสัยทัศน์ของฮอนด้าปี 2030

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฮอนด้า ซิตี้ เทอร์โบ ใหม่ ได้ที่ www.honda.co.th/city หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอนด้า 24 ชั่วโมง โทร 0 2341 7777

*อุปกรณ์มาตรฐานความปลอดภัยแตกต่างกันในแต่ละรุ่นและประเทศนั้น ๆ

ยนตรกรรมรุ่นต่างๆ ของฮอนด้าที่ผ่านการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP:


รุ่นรุ่นปีผลการดสอบ
ซิตี้2020ระดับ 5 ดาว
แอคคอร์ด2019ระดับ 5 ดาว
ซีอาร์-วี2017ระดับ 5 ดาว
ซีวิค2016ระดับ 5 ดาว**
บริโอ้ อเมซ2016ระดับ 4 ดาว
บริโอ้2016ระดับ 4 ดาว
บีอาร์-วี2015ระดับ 5 ดาว*
เอชอาร์-วี2015ระดับ 5 ดาว**
แจ๊ซ2014ระดับ 5 ดาว*
ซิตี้2014ระดับ 5 ดาว*
ซีอาร์-วี2013ระดับ 5 ดาว*
ซีวิค2013ระดับ 5 ดาว*
ซิตี้2012ระดับ 5 ดาว*



* ในรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้งระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist: VSA) และระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder: SBR) ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว

** สำหรับฮอนด้าซีวิค (รุ่นปี 2016) และเอชอาร์-วี (รุ่นปี 2015) ในรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้งระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder: SBR) ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 4 ดาว

เกี่ยวกับ ASEAN NCAP

การทดสอบการชนเพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ของ
ASEAN NCAP (ASEAN
New Car Assessment Program) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประเมินสมรรถภาพรถยนต์ใหม่ หรือ NCAP (New Car Assessment Program)
มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนน กระตุ้นให้เกิดการรับรู้และเห็นถึงความสำคัญของการขับขี่ปลอดภัย
รวมถึงสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ประชาคมอาเซียน) ทั้งนี้ การทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยจากการทดสอบการชนของ ASEAN NCAP เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง ASEAN NCAP และสถาบันวิจัยยานยนต์ประเทศญี่ปุ่น (JARI)

HTML::image( HTML::image( HTML::image(