ซึ่งภายในงานครั้งนี้ได้มีกิจกรรมเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ " 2020 Cancer Survivor วิทยาการสู้โรคมะเร็ง" จากทีมแพทย์มะเร็งสหสาขาของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ นำโดยแพทย์หญิงชญานี สำแดงปั้น อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา, นายแพทย์ศรัณย์ เลิศสถิตธนกร ศัลยแพทย์มะเร็งวิทยา, แพทย์หญิงพรวรี ตรีรัสสพานิช รังสีรักษามะเร็งวิทยา และแพทย์หญิงฐานิทธิ ลิ่มปริชญา รังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่มาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง รวมถึงวิทยาการตรวจวินิจฉัย และการรักษาเพื่อต่อสู้กับมะเร็งในแง่มุมต่างๆ โดยยกกรณีศึกษาของโรคมะเร็งเต้านมซึ่งเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งของสตรีไทย พร้อมร่วมพูดคุยแชร์ประสบการณ์ "สู้มะเร็งอย่างไร ให้ใจเป็นสุข" กับคุณไอริล ไตรสารศรี ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Art for Cancer และคุณดิษพงศ์ พงษ์โชติ ผู้ป่วยมะเร็งตับ เพื่อสร้างพลังบวกและกำลังใจจากประสบการณ์ของสองนักสู้ผู้ป่วยมะเร็ง ปิดท้ายด้วยหัวข้อ "Prehabilitation in Cancer ฟื้นฟูตั้งแต่ก่อนเริ่มรักษา" โดย แพทย์หญิงอัญชลี จิระวาณิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพ และนักโภชนาการ ที่มาแนะนำโปรแกรมการฟื้นฟูและการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งก่อนการเริ่มต้นการรักษาแห่งแรกในประเทศไทย
แพทย์หญิงอัญชลี จิระวาณิชย์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวว่า "งานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือการฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็ง มีความสำคัญต่อผู้ป่วย หลายท่านอาจนึกถึงการทำกายภาพฟื้นฟูหลังการผ่าตัด หรือหลังการรักษาเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยกลับสู่สภาพปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ สำหรับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เรามีโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยก่อนการรักษามะเร็งที่เรียกว่า Prehab ซึ่งนับเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น Prehab มาจากคำว่าpreventive rehabilitation คือเป็นการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่รู้ว่าเป็นมะเร็งจนไปถึงก่อนการรักษา คือ เราไม่รอให้ผลข้างเคียงของการรักษาเกิดแล้วจึงค่อยฟื้นฟูร่างกาย เราป้องกันก่อนที่จะเกิด หรือถ้าหากว่าป้องกันไม่ได้ ก็สามารถลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนได้ ตัวอย่างเช่น หลังผ่าตัด สมรรถภาพผู้ป่วยจะลดลง 20-40% หากผู้ป่วยมีร่างกายเดิมที่ไม่แข็งแรง ก็จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมากกว่า ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนานขึ้น เช่น หากเปรียบเทียบ ผู้สูงอายุ ที่ไม่ค่อยออกกำลัง กับนักกีฬา หากเข้ารับการรักษาแบบเดียวกัน นักกีฬาที่ออกกำลังกายประจำ ก็จะมีผลการรักษาที่ดีกว่า เป็นต้น โดยจะครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในทีมก็จะประกอบไปด้วย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพ นักโภชนาการ นักจิตวิทยา ซึ่งมีหลักฐานการศึกษาที่ยืนยันชัดเจนว่าการออกกำลังกายในผู้ป่วยมะเร็งมีประโยชน์เดิมนั้นเราจะเริ่มฟื้นฟู เริ่มให้ผู้ป่วยอออกกำลังกาย เมื่อผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการ ซึ่งช้าเกินไป และจะทำให้การฟื้นฟูไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร จึงเกิดแนวคิดของการทำprehabilitation ขึ้น"
นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงานมหกรรมสู้โรคมะเร็ง ได้เปิดบูทให้บริการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ บริการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคมะเร็ง บริการสอนตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง แนะนำโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็ง และอาหารต้านโรคมะเร็ง การแพทย์ผสมผสานเพื่อผู้ป่วยและญาติ บูธส่งเสริมการให้กำลังใจสร้างพลังบวกให้กับผู้ป่วยมะเร็งจากกลุ่ม Art for Cancer และกิจกรรมถ่ายภาพภายใต้แนวคิดสารณรงค์ในวันมะเร็งโลก "I Am and I Will" ชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงพลังผ่านการถ่ายภาพ เขียนข้อความ พร้อมติด #ฉันคือใครและฉันจะทำอะไรเพื่อช่วยลดการเกิดโรคมะเร็ง #IAmAndIWill เพื่อร่วมเป็นหนึ่งเสียงในการช่วยลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย สำหรับศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ผสานทุกความเชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเข้ารับบริการได้ที่อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ หลักสี่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2576 6000 หรือ www.facebook.com/chulabhornhospital
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit