มาตรการกระตุ้นการลงทุน
สำหรับมาตรการแรก มาตรการกระตุ้นการลงทุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายที่มีผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจของประเทศ (กิจการกลุ่ม A1 A2 และ A3 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 – 8 ปี แต่ไม่รวมกิจการที่ไม่มีที่ตั้งสถานประกอบการ เช่น กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางเรือ เป็นต้น) ซึ่งผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ทุกพื้นที่ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้ นิติบุคคลร้อยละ 50 เพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 5 ปี หากมีการลงทุนจริง (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท ภายในปี 2563 หรือไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564 ทั้งนี้ มาตรการนี้มีผลบังคับใช้สำหรับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่ 2 มกราคม 2562 ถึง 30 ธันวาคม 2563หากดำเนินการกระตุ้นการลงทุนตามมาตรการนี้แล้ว คาดว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนได้มากกว่า 200,000 ล้านบาท ในระยะปี 2563 - 2564 นี้
มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ในด้านการส่งเสริม SMEs นั้น ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม ทั้งในด้านการเงินและสินเชื่อ ด้านการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ รวมถึงด้านการตลาดและการอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยในช่วงปลายปี 2562 ถึงต้นปี 2563 รัฐบาลก็ได้เห็นชอบมาตรการการเงินและมาตรการสนับสนุนอื่นๆเพิ่มเติมในส่วนมาตรการของบีโอไอนั้นเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งจะช่วยเสริมมาตรการสนับสนุนของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งในที่ประชุมครั้งนี้ บอร์ดบีโอไอเห็นชอบให้มีการปรับปรุงมาตรการส่งเสริม SMEs เพื่อให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถเข้าถึงการใช้สิทธิประโยชน์ของบีโอไอได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดคำจำกัดความของ SMEs ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำจำกัดความของ SMEs ของ สสว. ที่มีการปรับปรุงเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา คือ เป็นกิจการที่ต้องถือหุ้นโดยบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และจะต้องมีรายได้ของกิจการทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ใน 3 ปีแรกในกรณีตั้งกิจการในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี ขณะที่หากตั้งในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในสัดส่วนร้อยละ 200 ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ด้วย
ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 ถึง วันทำการสุดท้ายของปี 2564
การปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก
นางสาวดวงใจกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเศรษฐกิจในระดับฐานรากมากยิ่งขึ้น บอร์ดบีโอไอจึงเห็นชอบให้มี การปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากที่บีโอไอเปิดให้การส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 โดยการปรับปรุงมาตรการในครั้งนี้ จะเป็นการขยายระยะเวลาการยื่นขอรับ การส่งเสริมออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 และขยายขอบข่ายคุณสมบัติของผู้ขอรับการส่งเสริมให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยให้รวมถึงผู้ประกอบการที่มีกิจการที่ดำเนินกิจการอยู่เดิมแต่ยังไม่เคยได้รับการส่งเสริมมาก่อนด้วย ทั้งนี้ กิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมจะต้องเป็นประเภทกิจการที่บีโอไอให้ส่งเสริมในปัจจุบันด้วย
นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้โครงการที่ยังมีสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลืออยู่หรือโครงการลงทุนใหม่ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการนี้ได้ หากมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก โดยจะได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมในสัดส่วนร้อยละ 120 ของเงินสนับสนุน และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีแรงจูงใจเพิ่มมากขึ้น บอร์ดบีโอไอยังได้เปิดโอกาสให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการเศรษฐกิจฐานราก สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการอื่นได้ด้วย
การปรับปรุงประเภทกิจการด้านการท่องเที่ยว
กิจการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นกิจการที่บีโอไอให้การส่งเสริมในหลากหลายประเภท เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย บอร์ดบีโอไอเห็นว่า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว การยกระดับมาตรฐานกิจการสนับสนุนการท่องเที่ยวเพิ่มเติม จึงเห็นชอบให้ปรับปรุงประเภทกิจการกระเช้าไฟฟ้า และกิจการโรงแรม โดยประเภทกิจการกระเช้าไฟฟ้า ได้ขยายขอบข่ายให้ครอบคลุมรถรางไฟฟ้า เพื่อการท่องเที่ยวด้วย และกำหนดเงื่อนไขต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) เพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนโครงการที่มีคุณภาพสำหรับกิจการโรงแรม ได้มีการปรับเงื่อนไขให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดการกระจายรายได้ และการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรอง โดยเน้นการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของโรงแรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวมีระยะเวลาพำนักนานขึ้น และมีการใช้จ่ายในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยปรับขอบข่ายพื้นที่ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 3 ปี จากเดิมซึ่งให้เฉพาะกรณีลงทุนในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ ขยายเป็น กรณีลงทุนในพื้นที่เมืองรอง 55 จังหวัดตามยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยว ทั้งนี้ สำหรับโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ 22 จังหวัดที่ไม่ได้ประกาศเป็นเมืองรอง จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรเท่านั้น
นอกจากนั้น ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริมกิจการโรงแรมในทุกจังหวัด โดยจะต้อง มีจำนวนห้องตั้งแต่ 100 ห้องขึ้นไป และต้องมีเงินลงทุนต่อห้องไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและ ทุนหมุนเวียน) แต่หากเป็นโรงแรมที่มีจำนวนห้องไม่ถึง 100 ห้อง จะต้องมีเงินลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาห้องพักที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ได้มีการผ่อนปรนเงื่อนไข โดยกำหนดจำนวนห้องพักและเงินลงทุนต่อห้องน้อยกว่าเดิม คือ ต้องมีจำนวนห้องพัก 50 - 99 ห้อง และมีเงินลงทุนต่อห้องไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
การเปิดประเภทกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถมีที่พักอาศัยที่มีมาตรฐานเป็นของตนเอง การเพิ่มทางเลือกในด้านทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อมของชุมชน และมีระดับราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนโครงการ "บ้านล้านหลัง" ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ บอร์ดบีโอไอจึงมีมติให้เปิดให้การส่งเสริม "กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย" โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์เฉพาะการยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสร้างที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี
ทั้งนี้ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ เช่น กรณีอาคารชุดต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 24 ตารางเมตร กรณีบ้านแถวหรือบ้านเดี่ยว ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 70 ตารางเมตร โดยมีราคาขายต่อหน่วย ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท (รวมค่าที่ดิน) กรณีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร และไม่เกิน 1 ล้านบาท (รวมค่าที่ดิน) ในกรณีตั้งในจังหวัดอื่นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ โครงการต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ก่อนยื่นขอรับการส่งเสริมซึ่งกำหนดให้ยื่นคำขอภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 นี้
อนุมัติให้ส่งเสริมกิจการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะบอร์ดบีโอไอ เห็นชอบอนุมัติให้การส่งเสริมแก่กิจการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะ จำนวน 1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7,915 ล้านบาท ตั้งโครงการในนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง วัตถุดิบหลักในการผลิต ได้แก่ ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ โดยจะใช้ยางธรรมชาติในประเทศ ประมาณ 40,200 ตัน/ปี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit