"กระทรวงเกษตรฯ มุ่งดำเนินการเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการอุปโภค-บริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ และการทำการเกษตร โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน ในการจัดแหล่งน้ำ หรือการปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองในฤดูแล้ง หรือช่วยบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลากได้ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งโดยจัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือสำหรับออกให้ความช่วยเหลือประชาชน อีกทั้งกรมประมงยังได้ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำในธรรมชาติ สร้างความสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศ ตลอดจนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ซึ่งประชาชนสามารถจับสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้งได้" นายเฉลิมชัย กล่าว
ด้านนายสุชาติ เจริญศรี รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันกรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 7 ได้ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ขึ้น ในปีงบประมาณ 2563 (เพิ่มเติม) ด้วยการเสริมสันทำนบดินให้สูงขึ้นอีกประมาณ 0.50 เมตร ความยาว 640 เมตร พร้อมติดตั้งบานแบบฝายพับได้บริเวณรอบอาคารระบายน้ำล้น สูง 1 เมตร เก็บกักน้ำได้เพิ่มอีกประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบควบคุมระยะไกล แบบ REAL TIME อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีแผนการพัฒนาอ่างเก็บน้ำในระยะยาว ซึ่งทางสำนักงานชลประทานที่ 7 ได้กำหนดแผนในการพัฒนาปรับปรุงอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ไว้ในปี 2564 - 2567 ประกอบด้วย การก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จำนวน 4 แห่ง สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 8,000 ไร่ การก่อสร้างถนนยางพาราแอสฟัลท์ติก พร้อมเลนจักรยานรอบอ่างฯ กว้าง 9 เมตร ยาว 16 กิโลเมตร และขุดลอกอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักในอ่างฯ ได้กว่า 10 ล้าน ลบ.ม.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit