สำนักงานกักกันสัตว์ญี่ปุ่น ในสังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของญี่ปุ่น (AQS) ประกาศว่า พลเมืองไทยรายหนึ่งได้ถูกจับกุมฐานนำไส้กรอกจากไทยเข้าญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
(โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M105725/202002106607/_prw_PI5lg_abkFPuN1.jpg)
(รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/release/202002106607?p=images)
นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ทางสำนักงานกักกันสัตว์ได้มีการกวดขันมาตรการควบคุมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อสกัดไม่ให้มีผู้โดยสารจากต่างประเทศใส่สิ่งของลงกระเป๋าเดินทางเพื่อนำเข้าญี่ปุ่นอย่างผิดกฎหมาย โดยเป็นมาตรการที่มีขึ้นเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์สุกรอัฟริกัน (ASF) ในประเทศแถบเอเชีย จากนั้นสำนักงานกักกันสัตว์ก็ได้ยกระดับมาตรการปราบปรามผู้ละเมิดกฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 และในช่วงฤดูร้อนปีนี้ โตเกียวจะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก ทางสำนักงานกักกันสัตว์จึงจำเป็นต้องจัดการกับการฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด และดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนที่ชายแดน เพื่อรับมือกับจำนวนผู้มาเยือนจากต่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น
การจับกุมครั้งล่าสุดนี้ถือเป็นครั้งที่ 5 ที่มีการจับกุมฐานฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมโรคติดต่อทางสัตว์ในประเทศ (Domestic Animal Infectious Diseases Control Law) และเป็นการจับกุมพลเมืองไทยครั้งที่ 2 ในข้อหานี้
ชาวไทยที่ถูกจับกุมครั้งล่าสุดนี้เคยได้รับคำเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 เพราะชายไทยรายนี้เคยพยายามนำไส้กรอกที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนผสมจากราชอาณาจักรไทยเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และแม้จะได้รับคำเตือนไปแล้ว แต่ชายผู้นี้ก็ได้กระทำผิดอีกครั้งที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ เมื่อเขาพยายามลักลอบนำไส้กรอกจำนวนรวมกัน 10.45 กิโลกรัมเข้าญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 โดยทางสำนักงานกักกันสัตว์ประจำท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนเป็นเหตุให้มีการจับกุมในท้ายที่สุด
ทั้งนี้ ความผิดฐานนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อย่างผิดกฎหมายนั้นมีบทลงโทษ "จำคุกสูงสุด 3 ปี หรือจ่ายค่าปรับสูงสุด 1 ล้านเยน" โดยนับจนถึงวันนี้มีผู้ถูกจับกุมข้อหานี้ไปแล้ว 8 รายใน 5 คดีด้วยกัน ซึ่งรวมถึงคดีที่กล่าวถึงนี้
สำนักงานกักกันสัตว์แห่งญี่ปุ่น:
https://www.maff.go.jp/aqs/languages/info.html (ภาษาอังกฤษ)
https://www.maff.go.jp/aqs/languages/bring_meat_th.html (ภาษาไทย)
ที่มา: สำนักงานกักกันสัตว์ ในสังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงแห่งญี่ปุ่น
AsiaNet 82875
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit