เทคโนโลยีสมัยใหม่นำเสนอประโยชน์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสตรีมมิ่ง การทำงานที่คล่องตัว ไปจนถึงการจับคู่ผ่านแอป เซอร์วิซจำพวก Facebook, Tinder และ Netflix ต่างต้องการให้ยูสเซอร์บอกข้อมูลส่วนตัวแม้เพียงสักเล็กน้อย คาดการณ์ว่าในปีนี้ ปริมาณข้อมูลที่ใช้ออนไลน์จะสูงถึง 44 เซตตาไบต์เลยทีเดียว จำเป็นอย่างยิ่งที่ยูสเซอร์จะเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับความเป็นส่วนตัวและเพิ่มขั้นตอนการป้องกัน
ยกตัวอย่างเช่น การพิชชิ่ง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้บ่อยที่สุดในการล่อยูสเซอร์ รายงานพิเศษของแคสเปอร์สกี้ฉบับนี้ระบุว่า เทคโนโลยีแอนตี้ฟิชชิ่งสามารถป้องกันการโจมตีพิชชิ่งได้อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อคอมพิวเตอร์ของยูสเซอร์จำนวน 15%
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกฟิชชิ่งของยูสเซอร์ในฟิลิปปินส์ได้ 22.36% มาเลเซีย 20.47% อินโดนีเซีย 16.65% เวียดนาม 15.63% ไทย 15.33% และสิงคโปร์ 6.15%
นอกจากนี้การขโมยพาสเวิร์ดก็ยังเป็นวิธีที่นิยมอย่างมาก ในปี 2019 พบยูสเซอร์ที่ถูกโจมตีโดยมัลแวร์เพิ่มสูงขี้นถึง 72% (รวมสองล้านราย) มัลแวร์ประเภทนี้ถูกออกแบบให้ดึงข้อมูลดิจิทัลของยูสเซอร์ โดยจะแทรกซึมไปยังเบราเซอร์และขโมยพาสเวิร์ดที่บันทึกเอาไว้ ซึ่งทำให้ข้อมูลส่วนตัวของยูสเซอร์ถูกเข้าถึงผ่านบัญชีโดยไม่ยินยอม
มารินา ทิโทวา หัวหน้าฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับคอนซูมเมอร์ กล่าวว่า "เทคโนโลยีได้พัฒนาการสื่อสารออนไลน์และสร้างโลกที่ใกล้กันมากขึ้น เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ขณะที่คอนซูมเมอร์ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลเชิงรุกก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันมีวิธีมากมายที่จะดึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การขโมยพาสเวิร์ดและฟิชชิ่ง แต่ก็มีวิธีที่ยูสเซอร์สามารถปฏิบัติตนเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิทัลได้"
คำแนะนำจากแคสเปอร์สกี้เพื่อป้องกันข้อมูลจากภัยคุกคามที่จ้องขโมยความเป็นส่วนตัว
ท่านสามารถอ่านข้อมูลรายงานของแคสเปอร์สกี้เรื่อง Protecting your personal data online at every point ได้ที่:
https://media.kasperskydaily.com/wp-content/uploads/sites/92/2020/01/27103216/International-Privacy-Day-2020-Kaspersky-report.pdf
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit