ผศ.นพ. สุรัตน์ ตันประเวช ผู้เชี่ยวชาญโรคปวดศีรษะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า "โรค ไมเกรน ถูกจัดอันดับให้เป็นโรคที่คนทำงานนั้นเป็นกันมากที่สุดในโลกและยังนำไปสู่ความทุพพลภาพ หรือเป็นโรคที่มีผลกระทบอย่างมากในการใช้ชีวิต ที่มีระดับความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึงสามเท่า นั่นส่วนหนึ่งเกิดจากฮอร์โมน แพทย์จะวินิจฉัยไมเกรน จากอาการเป็นหลัก โดยที่ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ คล้ายเส้นเลือดเต้น อาจจะปวดเพียงข้างเดียวหรือปวดพร้อมกัน 2 ข้างก็เป็นได้ และจะเป็นๆ หายๆ บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งนั่นอาจทรมานพอ ๆ กับอาการปวดศีรษะ ทั้งนี้ มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยไมเกรนจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างจริงจังและควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก่อนที่จะรักษาได้ยากขึ้น"
ปัจจัยที่ทำให้สามารถเป็นโรคไมเกรนได้นั้น มี 2 ปัจจัยหลักด้วยกันคือ ปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไมเกรน คนใดคนหนึ่งในครอบครัวก็สามารถส่งต่อผ่านทางพันธุกรรมจนเป็นโรคไมเกรนได้ และอีกหนึ่งปัจจัยคือ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ แสง สี เสียง หรือแม้แต่ ความร้อน ซึ่งผู้ป่วยไมเกรนมักไวต่อสิ่งแวดล้อม จนอาจมีอาการร่วมด้วย เช่น ตาสู้แสงจ้าไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งโรคไมเกรนนี้หากมีเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งก็สามารถเป็นได้ และที่สำคัญ ยังมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากที่อาการไม่รุนแรงก็กลับกลายเป็นอาการที่รุนแรงและถี่ขึ้น จนอาจถึงขั้นเรื้อรังและรักษาได้ยากในที่สุด ฉะนั้นผู้ป่วยไมเกรนจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีปัจจัยกระตุ้นใดบ้างที่ทำให้เกิดอาการเนื่องจากแต่ละคนจะมีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกัน
การรักษาโรคไมเกรนสามารถรักษาได้ทั้งแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งการรักษาแบบไม่ใช้ยานี้ ประกอบไปด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ยาเป็นการรักษาเสริมได้ เช่น การลดความตึงเครียดผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การนั่งสมาธิ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสาร Endorphin หรือแม้กระทั่ง ดนตรีบำบัด (Music therapy) และ อโรมาเธอราพี (Aromatherapy) ที่ช่วยบำบัดรักษา เพิ่มความผ่อนคลายจากความเครียดได้
กว่า 50% ของผู้ป่วยไมเกรน ยังปรับพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นไม่เพียงพอ ทำให้โรคไมเกรนกำเริบบ่อยได้ โดยการปฎิบัติตัวที่เหมาะสมต่อไมเกรน ได้แก่
สุดท้ายนี้ เพราะโรคไมเกรนมักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน ต้องขาดงาน ขาดเรียนบ่อย ๆ จนอาจถูกเพ่งเล็งในทางลบจากคนในองค์กร ดังนั้น "ความเข้าใจจากคนรอบข้าง" จึงสำคัญมาก อย่างไรก็ตามความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายพูดคุยและรับฟังซึ่งกันและกัน ผู้ป่วยควรบอกเล่าถึงอาการที่เกิดขึ้นให้คนรอบข้างรับรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ในขณะที่คนรอบข้างเองก็ควรเปิดใจรับฟัง ทำความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือในส่วนที่สามารถช่วยได้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และมีความสุขได้ไม่จำกัดแม้ต้องอยู่กับไมเกรนก็ตาม
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit