แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป

26 Feb 2020
เพื่อฉลองโอกาสดำเนินงานครบ 100 ปี ในปีนี้ สายการบินแควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ (https://youtu.be/rLq8if1nkTM) ย้อนสู่อดีตยุค '80 และ '70 เรื่อยไปจนเข้าสู่ช่วงปี 1940 ที่ให้บริการด้วยเครื่องบินที่สามารถแล่นลงน้ำได้ และช่วงปี 1920 ที่ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบใบพัด โดยผู้เล่นวิดีโอเป็นลูกเรือของสายการบินที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน มีการรังสรรค์ฉากทั้งห้องโดยสารภายในเครื่องบินและภายในอาคาร (เทอร์มินัล) ที่สนามบินย้อนกลับไปอยู่ในยุคนั้นๆ
แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป

มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหารแควนตัสกรุ๊ป เผยว่า "วิดีโอความปลอดภัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับผู้โดยสารแควนตัส 55 ล้านคนทุกปี แม้ว่าจะเคยชมหลายครั้งแต่ก็สามารถดึงดูดความสนใจได้ โดยจะเริ่มเปิดฉายในห้องโดยสารเส้นทางบินต่างประเทศและเส้นทางภายในประเทศออสเตรเลีย 1 มีนาคมศกนี้เป็นต้นไป โดยวิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่นี้จะพาผู้โดยสารย้อนกลับไปสู่อดีตทั้งเครื่องบิน การบริการภายในห้องโดยสาร ชุดยูนิฟอร์ม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนาน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สายการบินและบุคลากรได้สรรสร้างให้กับวงการการบิน รวมถืงนวัตกรรมแพสไลด์และบทบาทในการเชื่อมประเทศออสเตรเลียไปทั่วโลก"

"เป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่งสำหรับบุคลากร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และนวัตกรรมการบินของเราที่มีอยู่ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 100 ปี แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยคือความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยของเรา"

วิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ถ่ายทอดเรื่องราวเครื่องบิน แฟชั่นและพัฒนาการการบินตั้งแต่ช่วงปี 2463 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บางฉากรังสรรค์จากเรื่องจริง ส่วนฉากอื่นๆ สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง เช่น เครื่องบิน Avro 504 และเครื่องบิน De Havilland 86 ในช่วงปี 2473

ทีมโปรดักชั่นใช้เวลานานหลายเดือนในการผลิตวิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ทั้งหาข้อมูลจากไฟล์เก่าๆ ของประเทศออสเตรเลีย พิพิธภัณฑ์การบิน ใช้ภาพและสิ่งประดิษฐ์จากคอลเล็กชั่นของแควนตัสเฮริเทจ เช่น เสื้อชูชีพ ผนังจากเครื่องบินเก่าที่ปลดระวางไปแล้วที่ได้จากทะเลราบโมเจพ เพื่อให้แต่ละฉากมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนซาวด์แทร็กใช้เพลงสไตล์แจ๊สออสเตรเลียฝีมือการเล่นดนตรีเครื่องเป่าของเจมส์ มอร์ริสัน โดยในวิดีโอเป็นเพลงชาติ I Still Call Australia Home ที่แต่งโดยปีเตอร์ อัลเลน ที่ปรับสไตล์ของดนตรีให้เข้ากับยุคต่างๆ

พนักงานสายการบินแควนตัสปัจจุบันที่อยู่ในฉากประวัติศาสตร์กับอแลสแตร์ ฟิช หลานของเซอร์ฮัดสัน ฟิช ผู้ร่วมก่อตั้งสายการบินแควนตัส ถือเป็นเพชรเม็ดงามอย่างมาก นอกจากนั้นยูนิฟอร์มพนักงานมาจากคอลเล็กชั่นของสายการบินแควนตัส และลูกเรือที่เกษียณไปแล้ว ส่วนชุดอื่นๆ มาจากชุดส่วนตัวและร้านค้าของชุมชนต่างๆ ในภูมิภาค

เบื้องหลังงานสร้างสรรค์วิดีโอความปลอดภัยหนึ่งศตวรรษ ใช้เวลาในการผลิตนานถึง 12 เดือน วิดีโอความปลอดภัยชุดล่าสุดใช้เวลาผลิต 12 เดือน ทั้งงานด้านการพัฒนา การทำพรี-โปรดักชั่นถ่ายทำวิดีโอในสถานที่ต่างๆ ที่ลองรีช อ่าวโรสที่ซิดนีย์ พิพิธภัณฑ์ฮาร์ส (HARS) ในวูลองกอง เมลเบิร์น สนามบินบริสเบน และบึงสีชมพูในทะเลสาบฮัทท์ในรัฐออสเตรเลียตะวันตกนานกว่า 3 สัปดาห์

ภาพสมบูรณ์

ห้องโดยสารแต่ละห้องและฉากที่สร้างขึ้นเป็นการคัดลอกจากต้นฉบับที่เป็นภาพถ่ายและรายละเอียดที่ได้จากคอลเล็กชั่นของแควนตัสเฮริเทจ เช่น

  • ผนังของห้องโดยสารด้านบนช่วงปี 2513 เอามาจากเครื่องบินโบอิ้ง 747-200 ที่ปลดระวางแล้วในทะเลทรายโมเจพที่ส่งมาทางเครื่องบินไปยังซิดนีย์เพื่อช่วยเสริมในห้องพักรับรองผู้โดยสารกัปตันคุ้ก โดยแควนตัสได้ให้อินสไตล์ อินทีเรีย ฟินิชเชส (Instyle Interior Finishes) ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนรับรองผู้โดยสารสำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 ให้เป็นแนวสีสดใสที่อยู่ในช่วงปี 2513
  • แพทเทิร์นดอกไม้ป่าออสเตรเลียแบบดั้งเดิมบนผนังเครื่องบินโบอิ้ง 707
  • ชุดชาเดิมตั้งแต่ช่วงปี 2483
  • เสื้อชูชีพของเดิมจากอ่าวโรสในฉากช่วงปี 2473 ซึ่งในช่วงนี้มีเหลืออยู่เพียง 2 ตัวเท่านั้น
  • ใช้อาร์ตเวิร์คและภาพวาดต้นฉบับเดิมจากสตูดิโดบาลารินจิ (Balarinji) ที่มีดีไซน์เป็นแนวอะบอริจิ้น มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สร้างภาพเครื่องบินโบอิ้ง 747 วูนาร่าดรีมมิ่งขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

เสื้อผ้าและของในฉาก

  • นอกเหนือจากเสื้อผ้าจาก ลองรีช เซนต์ วินเซนต์ เดอ พอล (Longreach St Vincent de Paul) ในลองรีชแล้ว ยังมีการนำเสื้อผ้าจากร้านค้าในเมืองเล็กๆ มาใส่ประกอบในฉากช่วงปี 2523 ที่มีการทำเหมืองด้วย
  • ยูนิฟอร์มที่สวมใส่เป็นยูนิฟอร์มเดิม มีการนำเอาวิกผมมาใช้ 50 อัน และหนวดปลอมอีก 30 อัน เพื่อให้เข้ากับฉากและยุคสมัยนั้นๆ

การสร้างสไลด์

ฉากเปิดซีนแรกที่เป็นเครื่องบิน Avro 504 มาจากพิพิธภัณฑ์แควนตัส (Qantas Founders Museum) ในลองรีชที่ได้อนุญาตให้นำเครื่องบินออกจากส่วนแสดงนิทรรศการไปยังลานบิน โดยผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ทำงานร่วมกับวิศวกรในการดีไซน์และสร้างแพสไลด์เพื่อให้สามารถนำออกจากฐานถาวรและย้ายไปยังลานจอดโดยไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด

เพลงประกอบ

ซาวด์แทร็กสร้างสรรค์โดยบรู๊ซ ฮีลด์ จาก น๊อยซ์ อินเตอร์ชั่นแนลซึ่งทำเพลงต้นฉบับแคมเปญ I Still Call Australia Home ต่างๆ ให้สายการบินแควนตัส โดยเจมส์ มอร์ริสันเล่นแซกซโฟน แตร และแตรยาว

เครดิต

เอเจนซี่: Brand + Story

โปรดักชั่น: Positive Ape

ซาวด์แทร็ก: โดยบรู๊ซ ฮีลด์ จาก น๊อยซ์ อินเตอร์ชั่นแนลสำหรับเพลงของเจมส์ มอร์ริสัน

ซีจีไอ: White Chocolate ในซิดนีย์

เสื้อผ้า: เมลิซา รัทเทอร์ฟอร์

แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป