ภายใต้การชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เอสเอ็มอีผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ทบทวนรูปแบบธุรกิจของตนเอง วิเคราะห์หาโอกาสเพื่อพัฒนาและกำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลในระยะยาว รวมถึงประเมินและประยุกต์ใช้โซลูชั่นนำร่องที่เดอะ ฟินแล็บคัดสรรมาจากกว่า 350 แอพพลิเคชั่น
เอสเอ็มอี ได้เลือกใช้โซลูชันเพื่อจัดการความท้าทายต่างๆ ที่ประสบปัญหาอยู่ เช่น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อรู้ใจลูกค้ามากขึ้น การทำตลาดโดยใช้ดิจิทัลช่วยในการเข้าถึงลูกค้า เพิ่มยอดขาย และสร้างวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพผ่านการปรับกระบวนการธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจที่ทางเดอะ ฟินแล็บได้จัดทำไปก่อนหน้านี้และพบว่า เอสเอ็มอีในประเทศไทยระบุว่ากลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโต 2 อันดับแรก คือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ54) และการใช้การตลาดระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51)
นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า "โครงการ Smart Business Transformation เป็นโครงการที่เรามีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะช่วยติดอาวุธและทักษะเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถเติบโตได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และยังตระหนักถึงบทบาทหลักของธนาคารยูโอบี ที่จะต้องดำเนินการให้สอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยนำนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจและสร้างเครือข่ายในการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ"
นายเฟลิกซ์ ตัน หัวหน้ากลุ่มงานร่วม เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า "ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 15 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation มีความความมุ่งมั่น ที่จะขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ทั้งยังเปิดกว้างต่อแนวคิด และโซลูชันใหม่ๆ ซึ่งจากความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ได้รับไม่เพียงแต่จะสามารถต่อยอดการปรับเปลี่ยนธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างจุดยืนที่แข็งแกร่งพร้อมรับมือต่อความท้าทายในอนาคต นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจและทิศทางธุรกิจเอสเอ็มอีของประเทศไทย ทั้งยังเป็นการสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่ต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศได้ถึงร้อยละ 50 ภายในปี 2568 จากร้อยละ 36 ในปี2561"
ผลลัพธ์เชิงบวกของเอสเอ็มอีจากการเข้าร่วมโครงการนำร่องนวัตกรรมดิจิทัล
หนึ่งในเอสเอ็มอีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. อินดัสเทรียล นิว 1999 จำกัด (เอ็ม.ซี.ซี 4x4 แอคเซสซอรี่) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์และผลิตอะไหล่สำหรับรถออฟโรดส์ขับเคลื่อน 4 ล้อ โดย เอ็ม.ซี.ซี. 4x4 แอคเซสซอรี่ ได้นำโชลูชัน Workforce ที่พัฒนาโดยบริษัทไทย มาใช้ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล นอกจากนี้ยังได้รับทักษะการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และสามารถนำโซลูชันทางดิจิทัลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวชนกพร ศิระนานนท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. อินดัสเทรียล นิว 1999 จำกัด กล่าวว่า "โครงการ Smart Business Transformation ช่วยให้เราสามารถขับเคลื่อนความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสำคัญมากสำหรับเราในฐานะธุรกิจครอบครัวที่ต้องการขยายธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ตอนนี้เรามีความมั่นใจมากขึ้นที่จะผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และได้เริ่มนำโซลูชันมาใช้ในการทำงานกับบริษัทคู่ค้าต่างๆ ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น"
บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด ผู้ให้การสนับสนุนหลักชุดแข่งนักฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นอีกหนึ่งเอสเอ็มอีที่ประสบความสำเร็จในการเข้าร่วมโครงการ โดยวอริกซ์ได้ทำงานกับ Boostorder ผู้ให้บริการโซลูชันอีคอมเมิร์ซจากประเทศมาเลเชีย เป็นผู้พัฒนาระบบงานขายผ่านช่องทางออนไลน์
นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด กล่าวว่า "โครงการ Smart Business Transformation ช่วยให้บริษัทฯ พัฒนาโครงสร้างการบริหารและปรับขนาดธุรกิจ เราได้เรียนรู้ความสำคัญของการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้โตอย่างมั่งคงและยั่งยืน นอกจากนี้เรายังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Boostorder ผู้พัฒนาโซลูชั่น ในการปรับกระบวนการหลักและช่องทางการจัดจำหน่ายให้เป็นดิจิทัล เพื่อบรรลุเป้าหมายการเติบโตของยอดขายออนไลน์ 15% ภายในสิ้นปีนี"
เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จากัด ประเทศไทย (กลุ่มธนาคารยูโอบี) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 154 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 341 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561) และถือหุ้นโดยยูโอบี สำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ในสัดส่วนร้อยละ 99.66 ยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ
เกี่ยวกับ เดอะ ฟินแล็บ
เดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) ดำเนินโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) และบริษัทเทคโนโลยีให้สามารถพัฒนาและเติบโตได้ในยุคดิจิทัล ตั้งแต่เริ่มต้นในปี 2558 เดอะ ฟินแล็บได้ดำเนินการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านการเงินหรือฟินเทค (FinTech) ไปแล้ว 2 รุ่น โดยทางการเลือกจาก 700 บริษัทใน 44 ประเทศ สาหรับรุ่นที่ 3 ของโครงการบ่มเพาะนี้จะเน้นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเต็มตัว รวมทั้งจับคู่เอสเอ็มอี กับ บริษัท ฟินเทค และ ผู้ให้บริการโซลูชั่นที่เหมาะสมและตรงความต้องการในการทำธุรกิจของกลุ่มเอสเอ็มอี
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit