จากการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการเข้าดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.69 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ยังไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงาน ควรวางมือปล่อยให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารแทน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว รองลงมา ร้อยละ 31.61 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เหมาะสมกับ ตำแหน่งแล้ว เป็นผู้อาวุโสที่พร้อมด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิ และอยู่กับนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) มานานและทำงานดี ร้อยละ 19.46 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี หาก ส.ส. พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 คน จะย้ายขั้วไปสนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่ยึดอุดมการณ์ของพรรค ไม่มีจุดยืน และผิดสัจจะจากที่หาเสียงไว้ รองลงมา ร้อยละ 35.19 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ เป็นประโยชน์ของประชาชน ทำให้เกิดความปรองดอง และมีจำนวน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เพื่อเสถียรภาพในการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 14.61 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.40 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ย้ายขั้วไปเป็นฝ่ายค้านอิสระ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.52 ระบุว่า เห็นด้วย จะได้มี ส.ส. ฝ่ายค้านเพิ่มขึ้น มีจุดยืนเป็นของตนเอง และเพื่อเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 25.10 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ ร้อยละ 23.27 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นนักการเมืองที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีคุณธรรม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว และร้อยละ 1.11 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี นายรัฐภูมิ โตคงทรัพย์ (ฟิล์ม รัฐภูมิ) อดีตรองโฆษกพรรคพลังท้องถิ่นไท ย้ายขั้วไปเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.44 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ชอบพรรคที่ย้ายไปเป็นการส่วนตัว เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะย้ายพรรคโดยไปอยู่กับพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เป็นเรื่องธรรมดาของนักการเมืองในการย้ายพรรคอยู่แล้ว และเป็นการเพิ่มคนรุ่นใหม่ทางการเมือง รองลงมา ร้อยละ 25.97 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ ร้อยละ 22.95 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ยังไม่เคยมีผลงานทางด้านการเมือง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ชอบพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ไม่มีรายละเอียดหรือข้อมูลเรื่องนี้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ทราบ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี หาก ส.ส. พรรคเพื่อไทยบางคน ย้ายขั้วไปสนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.14 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีจุดยืนที่ชัดเจน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ก็เพราะสังกัดพรรคเพื่อไทย จึงไม่ควรย้ายพรรค รองลงมา ร้อยละ 33.91 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ทำให้มีจำนวน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้น เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะย้ายพรรคไปอยู่กับพรรคที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และรัฐบาลจะได้มีเสถียรภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 12.71 ระบุว่า เฉย ๆ ไม่สนใจ และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.74 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.49 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.69 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.31 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 4.77 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.96 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.81 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 37.01 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.45 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.58 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.19 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.03 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.00 สถานภาพโสด ร้อยละ 73.16 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.89 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.95 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 32.33 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.67 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.99 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.50 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.08 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.43 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.66 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.88 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.73 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.01 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.83 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.59 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 16.36 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.51 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 22.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.80 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.90 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.80 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit