"ไม่มีการใช้ยางเพิ่มทางใดที่จะรวดเร็วเท่ากับการใช้ในภาครัฐ ดังนั้น ทั้งสองกระทรวงจึงร่วมมือกัน และเบื้องต้นทราบว่ารัฐบาลพร้อมจะจัดงบอุดหนุนให้กับสหกรณ์ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา และขอความร่วมมือว่าหากสหกรณ์ใดที่เข้าร่วมโครงการขอให้ช่วยรับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรในราคานำตลาดอย่างน้อย 5 - 10 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเหลือสมาชิกของสหกรณ์เอง" รมช.เกษตรฯ กล่าว
สำหรับเป้าหมายในการซื้อยางพาราของโครงการนั้น นางสาวมนัญญากล่าวว่า ยังไม่ลงรายละเอียดเรื่องปริมาณ แต่ต้องใช้ปริมาณมากแน่นอนเพราะอุปกรณ์การจราจร ทั้งกรวยยาง และแท่งแบริเออร์ต้องใช้ทั่วประเทศ และ รมว.คมนาคม กับ รมว.เกษตรฯ ก็ต้องการให้เกิดโครงการนี้โดยเร็ว
รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า ขณะนี้ขอให้สหกรณ์ที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในเรื่องของการปรับปรุงศักยภาพการผลิตของโรงงานทำรายละเอียดขอมาได้ ทางกระทรวงเกษตรฯจะช่วยดูเพื่อให้สหกรณ์มีการพัฒนากำลังการผลิตให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละปีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ช่วยเหลือสหกรณ์ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพการแปรรูปยางพารามาอย่างต่อเนื่อง
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีสหกรณ์ที่มีความพร้อมเข้าโครงการ 3 แห่งคือ สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด จ.สงขลา ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้ จำกัด จ.สุราษฏร์ธานี และชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางจังหวัดสตูล จำกัด ซึ่งรัฐจะต้องช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์ตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการ ซึ่งในการลงพื้นที่วันนี้ทางสหกรณ์การเกษตรรัตภูมิยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปยางพารา ซึ่งจะกลับไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง
สำหรับในการลงพื้นที่ของ นางสาวมนัญญา ครั้งนี้ พบว่า ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรฯ และสหกรณ์การเกษตรฯ ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและสตูล ได้ขอให้ รมช.เกษตรฯช่วยเหลือจัดหาเครื่องจักรที่จะใช้ในโรงงานแปรรูปยาง ถังเก็บน้ำยาง รถขนน้ำยางสด และรถแทรคเตอร์ในสวนปาล์ม ซึ่ง น.ส.มนัญญา กล่าวว่า พร้อมจะช่วยทุกสหกรณ์ แต่จะต้องดูว่าสิ่งที่ขอมานั้นสหกรณ์ได้นำไปใช้ประโยชน์จริงหรือไม่ และควรมีการแบ่งปันเครื่องมือ เครื่องจักรให้กับสหกรณ์อื่นๆในพื้นที่ได้มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นการช่วยเหลือแบ่งปันกันในขบวนการสหกรณ์
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit