จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนที่มีอายุ 27 ปีขึ้นไป ถึงการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.75 ระบุว่า เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขต รองลงมา ร้อยละ 31.95 ระบุว่า ไม่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขต ร้อยละ 5.44 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเคยไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาเขต หรือไม่ และร้อยละ 0.86 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ สำหรับการรับรู้หรือรับทราบ ถึงตัวบุคคลที่เป็นสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ในเขตของท่าน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.52 ระบุว่า ไม่เคยรู้เลย ว่าใครคือ สมาชิกสภาเขต รองลงมา ร้อยละ 25.84 ระบุว่า รู้ว่าใครคือสมาชิกสภาเขต แต่ไม่เคยปรึกษาหารือ/ขอความช่วยเหลือ ร้อยละ 7.76 ระบุว่า รู้ว่าใครคือสมาชิกสภาเขต และเคยปรึกษาหารือ/ขอความช่วยเหลือ และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความจำเป็นต้องมีสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ของกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.68 ระบุว่า จำเป็นต้องมี สมาชิกสภาเขต เพราะ จะได้เป็นตัวแทนในการดูแล/ประสานงาน/แก้ปัญหา ให้ประชาชนในพื้นที่กับส่วนกลางได้ เนื่องจากสมาชิกสภาเขตทำงานใกล้ชิดกับประชาชน รับรู้ถึงปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี ขณะที่บางส่วนระบุว่า เพื่อเป็นการกระจายอำนาจรับผิดชอบไม่ให้กระจุกอยู่ที่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียว รองลงมา ร้อยละ 26.16 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมี สมาชิกสภาเขต เพราะ ไม่มีประโยชน์ เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน ทุกวันนี้มีสมาชิกสภาเขตก็เหมือนไม่มี และไม่เคยดูแลทุกข์สุขของประชาชนในพื้นที่เลย และร้อยละ 12.16 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 100.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ตัวอย่างร้อยละ 53.36 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.64 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.56 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 12.64 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.08 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.80 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 27.92 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 92.40 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.60 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.52 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 31.04 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.92 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.08 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 15.60 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.36 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.36 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 39.84 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 11.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 9.44 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.00 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 27.12 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.40 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 9.28 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 26.16 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.56 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.04 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 24.40 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 6.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 14.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 15.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.56 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit