โดยผลงานทั้งหมด ที่นำมาจัดแสดง เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ ที่ถือเป็นมิติใหม่ของนวัตกรรม ด้วยการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน มาสร้างคุณค่า และความหมายที่แตกต่างไปจากเดิม ที่ "นวัตกรรม" จะใช้กับผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก
ทั้งนี้งานนิทรรศการผลงานวิจัยเพื่อการออกแบบ " VISITOR ROOMS " สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ทั้งสิ้น อาทิ "มุก-มุข" ผลงานวิจัยของ ภคพรหมณ์ สุขเกษม ได้นำผ้าทอซึ่งภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม และเปลือกหอยมุก ที่มีคุณสมบัติเฉพาะคือ "เลื่อมแวววาว" ที่เป็นวัสดุที่หาได้ภายในประเทศ มาผ่านกระบวนการพัฒนา โดยการใช้เปลือกหอยมุกประกอบเข้ากับผ้าทอ อันเป็นลูกเล่นใหม่ หรือ "มุข" ใหม่ นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมด้านวัสดุใหม่ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อการผลิตสินค้าแฟชั่น ที่ให้ความสำคัญกับแนวคิด วัฒนธรรมและวัสดุไทย โดยผลงานวิจัย "มุก-มุข" ได้นำวัสดุชนิดใหม่นี้ มาใช้ในการออกแบบกระเป๋าสำหรับงานราตรี ด้วยลวดลายคล้ายหนังงู
ผลงานวิจัย "PINA-PINA" ของ อุษา ประชากุล เป็นอีกหนึ่งผลงานเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่นำเส้นใยของใบสับปะรด มาการทอร่วมกับเส้นไหม ซึ่งทำให้ผ้าไหมปกติ มีความแข็งแรงทนทาน 100% ซึ่งผลงานชิ้นนี้ ผ่านการทดลอง จนได้สัดส่วนที่เหมาะสม ในการที่จะอนุรักษ์ลักษณะเฉพาะตัวที่ทรงคุณค่าของไหมไว้ ขณะที่มีความแข็งแรงคงทนเพิ่มขึ้น สำหรับการแสดงผลงานครั้งนี้ ได้ถ่ายทอดผ่านคอลเลกชั่นผลิตภัณฑ์กระเป๋าทรงถุงผ้า (tote bag)
นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์งานออกแบบนวัตกรรมสำหรับเด็ก 2 โครงงาน คือผลงานวิจัย "อีเอฟ" (EF) ของ เกศกนก ลมงาม นำเสนอในรูปแบบของหนังสือนิทาน มาผนวกกับเทคนิค กึ่งของเล่น เพื่อให้เด็กได้มีทักษะการคิดเชิงบริหาร ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
"เดย์ ดรีม" (DAY DREAM) ของ สุภิญญา นวมสันเทียะ เป็นนวัตกรรมสำหรับเด็กอีกชิ้น นำเสนอในรูปแบบของการนำตัวต่อ มาเป็นเครื่องประดับสุดสร้างสรรค์ ประกอบกับสติกเกอร์สีสันสดใส หลากหลายรูปแบบ ที่ถูกออกแบบและวิจัยขึ้นมาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ความคิด สร้างสรรค์ ให้กับ เด็ก ๆ วัย 6-8 ปี ให้ได้ต่อยอดจากจินตนาการสู่ความเป็นจริง
พัทธมน ศุขเกษม กับผลงานศึกษาวิจัยวัฒนธรรมย่อยของเด็กแว้น "แว้นสเตอร์" (VANZTER) เป็นนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อการแสดงตัวตนตามไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ทั้งการแต่งรถ เทคนิค วัสดุ และเฉดสี เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สไตล์แว้น เพื่อให้เกิดการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการยอมรับในการมีตัวตนของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสไตล์เป็นของตนเอง
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์แตกแต่งบ้าน ที่ได้แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์กลองไทย โดยนำอัตลักษณ์กลองไทยผสมผสานกับการตกแต่งบ้านแนวร่วมสมัยที่ถ่ายทอดอารมณ์และจิตวิญาณของกลองไทยในหลากหลายมิติทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ผลงานวิจัย " WAYLA" ของ สรยุทธ พิริยพล
ยังมีผลงานที่นำเสนอผ่านสื่อ ดิจิทัล (Digital guide) คือ งานวิจัย "เขามอ" (KHAO-MOR) ของ กรองกาญจน์ กันไชยคำ นำเสนอสวนเขาธรรมชาติจำลอง ภายในวัดพระเชตุพน ฯ เป็นแหล่งรวมเรื่องราววัฒนธรรมผสมผสานการแพทย์แผนไทย ที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน จากพระราชวัง วัด สู่สากล เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ เรื่องราว ที่กำลังจะสูญหาย ผ่านการออกแบบนิทรรศการร่วมสมัย โดยใช้มัคคุเทศก์ดิจิทัล (Digital guide) เป็นผู้เดินเรื่อง อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจทางด้านศิลปวัฒนธรรมเกี่ยวกับเขามอ วัดพระเชตุพนฯ แก่นักท่องเที่ยว
และสุดท้าย ผลงานวิจัย "Cycles" ของ ภทรฤน พงษ์ประสิทธิ์ นำเสนอผ่านสื่อดิจิตัลเช่นกัน โดยนำเสนอแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ด้านการออกแบบแฟชั่น โดยยึดหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 "Cycles" ให้ความสำคัญกับทฤษฎีจิตวิทยาแฟชั่น และพัฒนาเป็นนิทรรศการเชิงปฏิสัมพันธ์ขนาดย่อม ที่ตั้งคำถามกับผู้เข้าชมถึงตัวตนที่แท้จริง ผ่านชุดคำถามที่ถูกออกแบบมา เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการเรียนในอนาคตระหว่างผู้เรียน และผู้สอนอีกด้วย
ทั้งนี้ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (College of Creative Industry – CCI) มุ่งมั่นเป็นองค์กรชั้นนำแห่งการเรียนรู้ ที่มีการหลอมรวมศาสตร์และศิลป์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ สร้างคุณค่าผ่านนวัตกรรมทางความคิด และผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรม สร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ ให้เป็นที่ประจักษ์ระดับสากล CCI เน้นการพัฒนาบุคคลากรที่มีการผสมผสานศาสตร์ด้านแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ศิลปะ นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ และความเป็นผู้ประกอบการ ที่มีทักษะกระบวนการคิด พร้อมถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนให้มีการเติบโตในอุตสาหกรรมร่วมกันอย่างยั่งยืน
นิทรรศการวิทยานิพนธ์ " VISITOR ROOM " โดยนิสิตชั้นปริญญาโท ภาควิชานวัตกรรมการออกแบบ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดแสดงระหว่างวันที่ 4 – 9 กันยายน 2562 เวลา11.00 – 20.00 น.ที่ Goose Life Space ชั้น 2 และ 3
Hashtag :#VISITORROOMS #VisitorRoomsCCI #Thesis #designinnovationswu #srinakharinwirotuniversity #sangsom