เผยสถิติครึ่งปีแรกพบผู้ป่วยไข้เลือดออก-มาลาเรียเพิ่มขึ้น
มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ซึ่งขณะนี้การกลับมาระบาดของทั้ง 2 โรคมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกล่าสุด ของกระทรวงสาธารณสุข (วันที่ 31 กรกฎาคม 2562) พบว่าตั้งแต่ต้นปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 59,167 ราย เสียชีวิต 67 ราย จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่าปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกัน 1.6 เท่า โดยกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือ 15-34 ปี ขณะที่ผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียนั้น จากข้อมูลล่าสุด (วันที่ 2 สิงหาคม 2562) พบแล้ว 3,477 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 22-44 ปี รองลงมาคือ 5-14 ปี สาเหตุการระบาดของโรค
จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ทุกคนต้องระมัดระวังและดูแลสุขภาพตนเองให้มากขึ้น ซึ่งสาเหตุของการระบาดของโรคมีอยู่หลายปัจจัย ทั้งปริมาณยุงลายพาหะของโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอากาศที่ร้อนและร้อนเร็วขึ้น ทำให้วงจรชีวิตของยุงถูกเร่งให้เข้าสู่ช่วงตัวเต็มวัยจาก 7 วัน เป็น 5 วัน รวมถึงมีผู้ป่วยติดเชื้อในหลายพื้นที่ทั่วประเทศเมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายกัดและยุงไปกัดคนอื่นต่อก็จะมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค ยิ่งเป็นช่วงฤดูฝนทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ยุงมีเพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียเพิ่มขึ้นอีกในช่วงครึ่งปีหลังผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออก
กลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมัน หัวใจขาดเลือด ไทรอยด์ หอบหืด โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวมาก จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรครุนแรงได้มาก นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน หากจำนวนเชื้อไวรัสในเลือดของคุณแม่สูง ก็สามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้คนทำงานใกล้ป่า-พื้นที่ชายแดน กลุ่มเสี่ยงสูง
สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูงซึ่งต้องเฝ้าระวังในการเกิดโรค คือ ประชาชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า รวมไปถึงเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าซึ่งต้องออกปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อุทยานและบริเวณเขตชายแดน ต้องคอยระวังและหลีกเลี่ยงสาเหตุของการโรคภัยเหล่านี้ โดยทุกคนควรสังเกตอาการเจ็บป่วยของตนเอง ซึ่งผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นหรือจุดแดงขึ้นคล้ายผื่นของโรคหัด หน้าแดง บางรายอาจมีภาวะเลือดออก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากหลังมีไข้มาหลายวันอาจเกิดภาวะการไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อกขึ้นได้ ส่วนโรคไข้มาลาเรียนั้นจะมีอาการทั่วไปคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เหงื่อออก และ เบื่ออาหาร
มีคำแนะนำดี ๆ จากทีมเภสัชกร บริษัท ไบโอฟาร์ม เคมิคัลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์คุณภาพชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย รวมไปถึงวิธีการป้องกัน ดังนี้
เบื้องต้น หากมีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย หรือสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกหรือโรคไข้มาลาเรีย แนะนำว่า ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาตามอาการของโรคจะปลอดภัยที่สุด ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หรือรับประทานแค่ยาพาราฯ เพราะไข้จะไม่ลด นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม NSAIDsเพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียง คือ ทำให้ระบบเลือดไม่คงที่และทำให้เลือดออกง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวหากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย
มีคำแนะนำและวิธีการป้องกันควรหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด ได้แก่ นอนในมุ้ง ใส่เสื้อผ้ามิดชิด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น บริเวณที่มีน้ำขัง ฉีดพ่นหมอกควันไล่ยุง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่การระบาดของโรค
สำหรับโรคภัยที่มากับหน้าฝนยังมีอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง อาทิ โรคปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ซิกา โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) หรือ ไข้เห็บ ไข้ฉี่หนู ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภัยจากสัตว์และพืชมีพิษต่าง ๆ อีกด้วย
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit