ภายในปี 2566 กรุงเทพมหานครกำลังจะกลายเป็นมหานครระบบรางอย่างเต็มรูปแบบด้วยรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมพื้นที่ ซึ่งมีระยะทางรวมกว่า 464 กิโลเมตร โดยหวังให้กลายเป็นทางเลือกใหม่ของการเดินทาง รวมถึงแก้ปัญหารถติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันเริ่มเห็นภาพของมหานครระบบรางชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการเปิดใช้บริการ MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ที่เชื่อมโยงแลนด์มาร์กสำคัญในกรุงเทพฯ ทั้งในเชิงการท่องเที่ยว การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่กระจายอยู่ในย่านต่างๆ ซึ่งวันนี้ "บัตรมิวพาส" ขออาสา พาไปสำรวจแหล่งเรียนรู้ 7 แห่งที่สามารถเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และมีสีสันมากขึ้น ด้วย MRT ส่วนต่อขยายที่เพิ่งเปิดใช้บริการล่าสุด เหมาะกับการเดินเล่นถ่ายรูปย้อนยุคสไตล์ชาวบางกอกใกล้เกาะรัตนโกสินทร์ กับ 4 สถานีที่ผู้ถือบัตรมิวพาสห้ามพลาด
ถ้าใครที่เดินทางด้วย MRT สายสีน้ำเงินอยู่เป็นประจำ ก็จะทราบดีว่าก่อนหน้านี้ ถ้าออกเดินทางจากสถานีเตาปูน ก็จะไปสิ้นสุดที่สถานหัวลำโพงนั่นเอง แต่ปัจจุบันเส้นทางเดินรถสายนี้ได้ขยายออกไปไกลถึงท่าพระ เชื่อมผู้คนจากฝั่งธนบุรีด้วยตัวเลือกที่มากขึ้น ซึ่งในบริเวณนี้มีแหล่งเรียนรู้ที่รวบรวมวิถีชุมชน สภาพความเป็นอยู่ของชาวบางกอก ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 มาจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก ซึ่งสามารถครีเอทให้การเดินทางมีชีวิตชีวาตามสไตล์ชาวบางกอกมากขึ้นด้วยการโบก "รถตุ๊กตุ๊ก" พาหนะสุดคลาสสิคที่เป็นเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร โดยใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 10 นาทีก็ถึงแล้ว ซึ่งภายในบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวของชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลาง ในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านข้าวของเครื่องใช้ที่ผ่านการใช้งานจริงนำมาแสดงด้วย โดยแนะนำให้พกกล้องดีๆไปสักตัว เพราะเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปเป็นชาวบางกอกในอดีตจริงๆ
ดูเหมือนว่าหลังจากที่ MRT ส่วนต่อขยายได้เปิดทดลองใช้บริการเพียงไม่นาน สถานีวัดมังกรก็กลายเป็นสถานีที่มีประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปให้บริการเป็นจำนวนมาก ด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนที่ตั้งรกรากและทำการค้าขายมาตั้งแต่อดีต และเป็นย่านการค้าที่มีชื่อเสียงมายาวนานของย่านเยาวราช ประกอบกับสตรีทฟู๊ดอันเลื่องชื่อระดับตำนานที่มีให้เลือกอย่างจุใจ ซึ่งนอกจากความคึกคักของย่านเยาวราชที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนในแต่ละปีจำนวนมากแล้ว และในย่านนี้ยังมีที่สุดพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ที่สร้างด้วยทองคำเนื้อเจ็ดน้ำสองขา และได้รับการบันทึกในกินเนสส์บุ๊คว่าเป็นปูชนียวัตถุที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ซึ่งประดิษฐสถานอยู่ภายในวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร โดยผู้ถือบัตรมิวพาสยังสามารถแสดงบัตรเพื่อเข้าชม ที่จัดแสดงการกำเนิดชุมชนจีนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไว้อย่างครบถ้วน
MRT สถานีสามยอด ถือเป็นอีกแห่งที่สะท้อนตัวตนได้อย่างชัดเจน ผ่านสถาปัตยกรรมของทางเข้าออก ที่เนรมิตให้เหมือนห้องแถวสุดคลาสสิค และยังใช้ประตูเข้าออกสถานีเป็นแบบบานเฟี๊ยมตรงตามรูปแบบของห้องแถวโบราณในย่านนี้ โดยผู้ถือบัตรมิวพาสสามารถเลือกเข้าชมแหล่งเรียนรู้ในบริเวณใกล้เคียงได้ถึง 4 แห่ง ได้แก่ 1) พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หนึ่งในแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย 2) หอศิลป์กรุงไทย ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งในอดีตเคยเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แห่งแรกของธนาคารกรุงไทย 3) บ้านหมอหวาน อาคารเก่าแก่สไตล์โคโลเนียลย่านเสาชิงช้า ที่ยังคงเป็นสถานที่ปรุงยาแผนโบราณของหมอหวานที่สืบต่อกันมากว่า 4 ชั่วอายุคน 4) หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สถานที่จัดแสดงนิทรรศการของศิลปินไทยรุ่นใหม่ที่มีผลงานโดดเด่น ตลอดจนศิลปินอาวุโสที่ได้รับการยกย่อง ซึ่งมีหลายผลงานมาจัดแสดงในนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี ซึ่งแหล่งเรียนรู้ทั้ง 4 แห่งนี้ ช่วยให้สถานีสามยอด เป็นอีกหนึ่งสถานีที่น่าแวะมากที่สุดแห่งหนึ่ง
สถานีสนามไชย ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานี MRT ที่มีความวิจิตรบรรจงสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาสถานีส่วนต่อขยาย และที่นี่ยังมีความน่าสนใจนอกจากการออกแบบที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่พร้อมจะสะกดทุกสายตา และทำให้ช่างภาพหลายคนต้องแบกกล้องออกไปลั่นชัตเตอร์เก็บมารีวิวกันมากมาย แต่ความพิเศษของสถานีสนามไชยยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะทางออกประตู 1 เป็นทางที่สามารถเชื่อมต่อไปยัง "มิวเซียมสยาม" ได้โดยตรง ซึ่งสามารถเข้าไปชมนิทรรศการถอดรหัสไทย และนิทรรศการลายสักระดับโลกที่เกิดจากความร่วมมือของไทยและไต้หวัน "สักสี สักศรี" ได้อีกด้วย โดยผู้ที่ผ่านมายังย่านนี้ ยังสามารถไปกราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดชื่อดังในบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย อาทิ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ซึ่งน่าจะโดนใจนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ
ปัจจุบันทั้ง 4 สถานี ยังเปิดให้บริการฟรี จากสถานีต้นทางที่สถานีหัวลำโพง ในช่วงเวลา 10.00 – 16.00 น. จนถึงวันที่ 28 กันยายน 2562 ก่อนเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์หลังจากนั้น โดยผู้ที่สนใจไปทดลองใช้บริการ MRT เส้นทางใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการ แนะนำให้พกบัตรมิวพาสติดตัวไปด้วย เพราะนอกจากจะสามารถใช้เป็นบัตรผ่านเข้าชมแหล่งเรียนรู้ที่ร่วมโครงการได้โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่มแล้ว ยังได้รับส่วนลดพิเศษในร้านค้า ร้านอาหารที่ร่วมรายการอีกด้วย โดยผู้ที่ยังไม่มีบัตรมิวพาสสามารถหาซื้อได้ในราคาสุดคุ้มเพียง 299 บาท จากช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ อาทิ พิพิธภัณฑ์ที่เข้าร่วม 32 แห่ง KTC Touch 23 แห่ง ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ทุกสาขา สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และเคาน์เตอร์จำหน่ายบัตรของเจ้าพระยาทัวร์ริสโบ๊ท ซึ่งผู้ที่สนใจแหล่งเรียนรู้บนเส้นทางของ MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย รวมถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรมิวพาส สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 529 หรือที่เฟซบุ๊ค Muse Pass (www.facebook.com/musepass)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit