ในนามประธานกรรมการ ขอให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกท่าน ศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ ในมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ฉบับนื้อย่างเคร่งครัด เพื่อร่วมกัน พัฒนาให้เป็นองค์กรที่โปร่งใส ได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย อันเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกรรมและการเติบโตอย่างยั่งยืน สืบไป
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption Policy)
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกรรมอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี และจรรยาบรรณหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่ม ต่าง ๆ ของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการก่อตั้ง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และเป็นองค์กรภาคีหลักในการขับเคลื่อน "แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต" (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption : CAC) เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ
เพื่อให้มั่นใจว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มีนโยบายการกำหนด ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันคอร์รัปชัน กับทุกกิจกรรมของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกรรมต่างๆที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชัน ได้รับการพิจารณาและปฏิบัติ อย่างรอบคอบ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำ "นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน" เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกรรม และพัฒนาสู่องค์กร แห่งความยั่งยืน
คำนิยามตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ โดยการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้เรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มา หรือรักษาไว้ ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกรรมให้กับบริษัทโดยเฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใด ที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับขนบธรรมเนียมประเพณี ของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชัน ในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงธุรกรรม ในทุกประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันนี้ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย
หน้าที่ความรับผิดชอบ
1) คณะกรรมการ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย และกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหาร ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชันและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
2) คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน และระบบตรวจสอบภายใน ให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ
3) ผู้อำนวยการบริหาร และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบ และให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้ง ทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
4) ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน มีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงาน ว่าเป็น ไปอย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบาย แนวปฏิบัติ อำนาจดำเนินการ ระเบียบปฏิบัติและกฎหมาย ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีระบบการควบคุมภายในที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ ต่อความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
แนวทางการปฏิบัติ
1) กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณหอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชัน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2) พนักงาน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็น การกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนด ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
3) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงาน ที่ปฏิเสธหรือแจ้งเรื่องคอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ใน Whistleblower Policy
4) ผู้ที่กระทำคอร์รัปชัน เป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณหอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้น ผิดกฎหมาย
5) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่น ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรืออาจเกิดผลกระทบต่อหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน นี้
6) หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กร ที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชัน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ทั้งการทำธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน
ข้อกำหนดในการดำเนินการ
1) นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันนี้ ให้ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหาหรือการคัดเลือกบุคคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และการให้ผลตอบแทน โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทำความเข้าใจ กับพนักงานเพื่อใช้ ในกิจกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) การดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน คู่มือจรรยาบรรณหอการค้าไทย และคู่มือปฏิบัติงานของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยที่จะได้จัดทำขึ้นต่อไป
3) เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดคอร์รัปชัน กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ทุกระดับต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องดัง ต่อไปนี้
3.1 ของกำนัล การเลี้ยงรับรองและค่าใช้จ่ายการให้มอบหรือรับ ของกำนัล การเลี้ยงรับรองให้เป็นไปตามที่กำหนดในหลักจรรยาบรรณหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
3.2 เงินบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุนการให้หรือรับเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุน ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
3.3 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐและเอกชน ห้ามให้หรือรับสินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และการติดต่องานกับภาครัฐและเอกชนจะต้องเป็นไป อย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4) ช่องทางการแจ้งเบาะแส ได้ทาง E-mail : [email protected] หรือที่ ฝ่ายตรวจสอบภายใน หอการค้าไทย 150 ถนน ราชบพิธ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit