สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงคมนาคม เตรียมจัดงาน "Maintenance and Resilience Asia 2019" ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure โดยมุ่งหวังยกระดับภาคการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานไทยให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าญี่ปุ่น พร้อมเผยเรื่องท้าทายในภาคอุตสากรรมและภาคคมนาคมที่ไทยต้องปรับตัวและให้ความสำคัญเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาศักยภาพแรงงาน การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง ส่วนในภาคคมนาคม เช่น การยกระดับความปลอดภัย การนำระบบเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคมนาคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ภาคการผลิตให้เทียบประเทศญี่ปุ่นประเทศชั้นนำด้านการผลิตของโลก
นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานด้านหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือการส่งเสริมภาคการผลิตไปสู่ 4.0 ซึ่งมุ่งผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยแนวทางดังกล่าวนอกจากจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นกลไกที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเท่าเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และสำหรับปัจจัยสำคัญที่ภาคการผลิตต้องให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปีถัดไปนั้นประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพแรงงาน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การส่งเสริมการตลาดควบคู่การผลิต การมีแผนงานและระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยง การคิดค้น และนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการผลิต การติดตามสถานการณ์การค้าและอุตสาหกรรมในระดับมหภาค
ด้าน นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในส่วนของการคมนาคมในปีถัดไป จะเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในฐานะการเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีศักยภาพและความแข็งแกร่งที่มากขึ้น สามารถเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะในการเชื่อมต่อระบบขนส่งกับสิ่งอำนวยความสะดวก การแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การเดินทาง และการยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ตั้งแต่ในระดับภูมิภาค ส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น โดยความท้าทายสำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจในปีถัดไปมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและแข่งขันในภาพรวมได้แก่
ขณะที่ นายอัตสึชิ เทเรดะ ผู้จัดการอาวุโส สมาคมการบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านอุตสาหกรรม เป็นพันธมิตรและฐานการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเป็นเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเภทต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ในฐานะพันธมิตรทางการค้าและเศรษฐกิจ จึงได้มีแนวคิดที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคส่วนต่างๆของประเทศไทยให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับญี่ปุ่น จึงได้ร่วมกับบริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น และภาคเอกชนในการจัดกิจกรรม "Maintenance and Resilience Asia 2019" ภายใต้แนวคิด Smart Manufacturing & Smart Infrastructure ระหว่างวันที่ 2-4 ตุลาคม 2562 ที่ไบเทค บางนา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและญี่ปุ่นให้เติบโตไปพร้อมๆกับญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม JMA เชื่อมั่นว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม และในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานของไทยแข็งแกร่งได้เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในเรื่องความสมบูรณ์แบบของระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค โดยยังจะช่วยให้รู้วิธีการจัดการกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ระบบขนส่ง ถนน อุโมงค์ สะพาน รถไฟ ฯลฯ ที่ญี่ปุ่นมีการใช้งานมากว่า 50 ปีแต่ยังมีความคงทนและฟื้นฟูได้รวดเร็ว และสามารถรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ประสบครั้งแล้วครั้งเล่า นอกจากนี้ ยังจะมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาทิ เซ็นเซอร์ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ IoT ฯลฯ มาร่วมจัดแสดงและให้ความรู้ การประชุมสัมมนา ตลอด 3 วันการจัดงาน และจะมีการบรรยายและการนำเสนอกรณีศึกษาต่างๆ ที่จะช่วยผลักดันให้ทุกภาคส่วนปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก
สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เอ็กซโปซิส จำกัด โทรศัพท์ 02 – 5590856 อีเมล์ [email protected]
HTML::image( HTML::image( HTML::image(