กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนการดำเนินงานสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 11 จังหวัด เน้นส่งเสริมอาชีพชาวเขาบนพื้นที่สูงให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้มั่นคง

10 Sep 2019
กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง เป็นองค์กรของชุมชนที่ช่วยส่งเสริมอาชีพให้ชาวเขา ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงใน 11 จังหวัด พร้อมประชุมหารือตัวแทนสหกรณ์โครงการหลวง 46 แห่ง เพื่อร่วมกันกำหนด ทิศทางการดำเนินงานและเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งและรายได้ที่มั่นคงของชาวบ้านในพื้นที่นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสหกรณ์และตัวแทนสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มเตรียมการสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ปี 2562
กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนการดำเนินงานสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 11 จังหวัด เน้นส่งเสริมอาชีพชาวเขาบนพื้นที่สูงให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้มั่นคง

ที่จังหวัดเชียงใหม่ระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2562 เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมการในการกำหนดทิศทางพัฒนาสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ให้เป็นองค์กรของชุมชนและเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง รวมถึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับมูลนิธิโครงการหลวง

ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2536 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยพื้นที่สูง จัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเตรียมสหกรณ์ขึ้นในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ระยะแรกเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ 3 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง กลุ่มเตรียมการสหกรณ์ 10 แห่ง กลุ่มอาชีพ 1 แห่ง สมาชิก 659 คน มีทุนดำเนินงานแรกเริ่ม 6.7 ล้านบาท ปัจจุบันสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวงได้ขยายผลไปในหลายพื้นที่ เพื่อใช้กลไกสหกรณ์เข้ามาแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ให้กับชาวบ้านบนพื้นที่สูงใน 11 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่านแม่ฮ่องสอน ลำพูน พะเยา ตาก กำแพงเพชร กาญจนบุรี ลำปาง และเพชรบูรณ์ มีสหกรณ์โครงการหลวงจำนวน 56 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 2 แห่ง กลุ่มเตรียมการสหกรณ์ 5 แห่ง จำนวนสมาชิกรวม 10,407 ครอบครัว ปริมาณธุรกิจรวมกว่า 305.826 ล้านบาท

" การส่งเสริมการดำเนินงานสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ที่รับผิดชอบ เข้าไปดูแลทั้งตัวองค์กร การบริหารจัดการ ระบบการควบคุมภายใน และพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาผลผลิตของสมาชิกให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างการยอมรับและขยายตลาดให้เข้าถึงผู้บริโภค ให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับสมาชิกได้อย่างมั่นคง สิ่งสำคัญคือการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่โครงการหลวง รวมถึงพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ให้มีความเข็มแข็ง เพื่อเป็นที่พึ่งแก่มวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง" อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มอบโล่รางวัลให้กับสหกรณ์โครงการหลวงที่มีผลงานดีเด่น อันดับ 1 คือ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จำกัด จ.เชียงใหม่ ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท อันดับ 2 คือสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงบ้านอมพาย จำกัด จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับโล่และรางวัล 8,000 บาท อันดับ 3 คือ สหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงแม่สะเรียง จำกัด จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับโล่และรางวัล 5,000บาท และสหกรณดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 12 ราย ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล รายละ 2,000 บาท

ด้านนายบุญสว่าง แซ่วะ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จำกัด ซึ่งได้รับรางวัลสหกรณ์ดีเด่นในพื้นที่โครงการหลวง เปิดเผยว่า สหกรณ์มีสมาชิก483 คน จาก 13 หมู่บ้าน ดำเนินงานโดยมีหลักคือเน้นการให้ความรู้และการมีส่วนร่วม พัฒนาอาชีพทำให้สมาชิกมีรายได้ดีและมีการวินัยทางการเงิน วางแผนการใช้จ่าย และเน้นให้มีการเพิ่มเงินฝากทุกปีอย่างน้อยครัวเรือนละ 500 บาท เพิ่มหุ้นกับสหกรณ์อย่างน้อยปีละ 100 บาท แต่ละครัวเรือนของสมาชิกมีหนี้ไม่เกิน 4,000 บาท และมีเงินออมเฉลี่ย 20,000 บาท ซึ่งสหกรณ์ดำเนินธุรกิจหลัก 5 ด้าน คือ ธุรกิจเงินกู้ 6 ล้านบาท ธุรกิจเงินฝาก 12 ล้านบาท ธุรกิจรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร 18 ล้านบาท ธุรกิจบริการท่องเที่ยว โฮมสเตย์บริการนักท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์ และธุรกิจจัดหาสินค้าและปัจจัยการผลิตเพื่อบริการสมาชิกอีก 2 ล้านบาท

กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนการดำเนินงานสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 11 จังหวัด เน้นส่งเสริมอาชีพชาวเขาบนพื้นที่สูงให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้มั่นคง กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนการดำเนินงานสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 11 จังหวัด เน้นส่งเสริมอาชีพชาวเขาบนพื้นที่สูงให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้มั่นคง กรมส่งเสริมสหกรณ์หนุนการดำเนินงานสหกรณ์พื้นที่โครงการหลวง 11 จังหวัด เน้นส่งเสริมอาชีพชาวเขาบนพื้นที่สูงให้มีความเข้มแข็งและมีรายได้มั่นคง