หากตัวงานหัตถกรรมเองมีการเคลื่อนไหวปรับย้ายที่ทางในการดำรงตัวในสังคมฉันใด วิสัยทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ยังคงแตกหน่อต่อยอดขึ้นไปฉันนั้น และนี่คือ อดีต...ปัจจุบัน..อนาคตของ SACICT
อดีต
"แต่ก่อนหัตถกรรมไม่มีตัวตน ไม่มีที่ยืนในสังคม คนมักถามว่า ไทลื้อเหรอ ชอบก็ซื้อ ไม่ชอบก็ไม่ซื้อ ถ้าซื้อต้องขอลดราคากัน แต่มาวันนี้ ถ้ารู้ว่าของไทลื้อ ก็จะถามต่อว่าของใคร นี่คือตัวตนที่เกิดขึ้น แต่แน่นอนว่า สิ่งที่ SACICT มุ่งมั่น คือ ทำให้หัตถกรรมมีตัวตน มีที่ยืนในสังคม เราไม่เคยพูดถึงตัวบุคคล เมื่อเขามีตัวตน สังคมก็ยอมรับ จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เรามีงาน "อัตลักษณ์แห่งสยาม" ทุกปี ซึ่งยอดขายดีมาก"
ปัจจุบัน
"บทบาทสำคัญของ SACICT คือ ชี้ทางและสร้างโอกาส กล่าวคือสร้างทิศทางของศิลปหัตถกรรม ผ่าน 3 แนวทางหลัก คือ สร้างคุณค่า สร้างเครือข่าย และ สร้างโอกาสใหม่ ให้กับครูศิลป์ ครูช่าง และทายาทช่างศิลป์ ทั้งการพัฒนาตัวเอง พัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด ผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ สร้างการรับรู้ คุณค่าของงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งต้องปรับตัวไปตามกระแสของสังคมและเทคโนโลยี ฉะนั้น งานหัตถกรรมที่ดำรงอยู่ได้ ต้องประกอบไปด้วยองค์ความรู้ และการพัฒนาต่อยอดอย่างสร้างสรรค์
กิจกรรมจับคู่ธุรกิจในครั้งนี้ (Business Matching) นับเป็นการต่อยอดด้านการตลาด สร้างโอกาสการพบปะและเจรจาทางธุรกิจระหว่างผู้ขาย ผู้ผลิต และผู้ซื้อโดยตรง เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายงานหัตถศิลป์ ไทย ในสาขาต่างๆ เช่น ของตกแต่งบ้าน สำนักงาน ของใช้หรือตกแต่งภายในรีสอร์ท โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้า รวมถึงของที่ระลึกโอกาสต่างๆสำหรับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มที่จะซื้อหรือใช้สินค้าหัตถกรรม ได้แก่ โรงแรมหรือรีสอร์ทในระดับ 5 ดาว ศูนย์การค้าชั้นนำของประเทศ นักออกแบบและตกแต่งภายใน สถาปนิก บริษัทผู้ค้าปลีกและค้าส่งงาน หัตถกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ผลงานของกลุ่มครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม รวมถึงนักสร้างสรรค์งานหัตถกรรมร่วมสมัย ที่มีความโดดเด่นให้เป็นที่รู้จักและยังช่วยสร้างความตระหนักในคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรมให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้รักและชื่นชอบในงานหัตถกรรม อันทรงคุณค่าจากฝีมือคนไทย"
อนาคต
สิ่งหนึ่งที่กลัวมากที่สุดและไม่อยากให้เกิดขึ้น คือ คนทำงานศิลปหัตถกรรมในวันนี้ยังไม่รู้กลไกตลาด อย่างชัดเจน จึงเป็นไปได้ที่อาจมีกลุ่มนักธุรกิจเข้าไปในชุมชน สั่งให้ทำ สุดท้าย ครู ชาวบ้าน ชุมชนก็จะกลายเป็น เพียงผู้รับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้ากำหนด หรือที่เรารู้จักว่า "OEM" นี่คือสิ่งที่กลัวที่สุด เพราะจะทำให้คุณค่า ของงานหายไป ดั้งนั้น SACICT จึงมีการเน้นย้ำในทุกเวทีว่า อย่านำการออกแบบมาลดคุณค่าของงานหัตถกรรม แต่ให้นำการออกแบบมาช่วยเปิดโลกทรรศน์ความคิดในการทำงานให้กับชุมชน
ดังนั้น สิ่งที่ผ.อ. อัมพวันอยากฝากไว้ก่อนหมดวาระ คือ การยกระดับ SACICT เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรม ผ่านโครงการ "SACICT Archive" ระบบสืบค้นข้อมูลงานหัตถกรรม เพื่อเชื่อมโยงการนำเสนอองค์ความรู้หลากรูปแบบ เพื่อให้คนไทยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงศิลปหัตถกรรมอย่างรอบด้าน ทุกที่ ทุกเวลา ทุกมุมโลก ผ่านเว็บไซต์ SACICT.or.th หรือเข้าสืบคืน ได้โดยตรง ทาง archive.sacict.or.th
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit