จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่ามีโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.40 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นการปั่นกระแสข่าวให้ประชาชนตื่นตระหนก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีใครมาทำลายประเทศได้ รองลงมา ร้อยละ 22.99 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ ติดตามข่าวสารมาบ้าง ว่าอาจจะมีมูลความจริงเกี่ยวกับขบวนการทำลายประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขบวนการนี้มีมานานแล้ว แต่เป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น ร้อยละ 19.29 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ไม่แน่ใจว่ากระแสข่าวที่ได้รับเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม หรือเป็นเพียงการปั่นกระแสข่าว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ได้ติดตามข่าวสารในเรื่องนี้ ร้อยละ 17.95 ระบุว่า ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.50 ระบุว่า เชื่ออย่างแน่นอน เพราะ ได้ติดตามข่าวสารว่ามีขบวนการทำลายประเทศจริง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน และมั่นใจว่ามีมาตั้งนานแล้ว และร้อยละ 0.87 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า "เชื่ออย่างแน่นอน" "ค่อนข้างเชื่อ" และ "ไม่แน่ใจ" ต่อความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการกับโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศได้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.18 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะ ไม่สามารถจัดการกับโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศได้เลย ไม่ว่าจะรัฐบาลชุดไหนก็ตาม รองลงมา ร้อยละ 24.94 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะ รัฐบาลน่าจะจัดการกับโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศได้แน่นอน ร้อยละ 19.38 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ การทำงานของรัฐบาลค่อนข้างช้า และไม่น่าจะจัดการกับโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศได้ ร้อยละ 18.26 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก เพราะ มั่นใจในรัฐบาลที่จะสามารถจัดการกับโครงข่ายขบวนการทำลายประเทศได้ ร้อยละ 7.35 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.89 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับป้ายโฆษณาบนอาคารร้านอาหารแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก มีข้อความว่า "การประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ: อย่าปล่อยให้ประชาธิปไตยตายในประเทศไทย" พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.04 ระบุว่า ไม่เคยได้ยิน/ไม่เคยเห็นข่าวนี้ และร้อยละ 14.96 ระบุว่า ได้ยิน/ได้เห็นข่าวนี้แล้ว โดยในจำนวนผู้ที่เคย "ได้ยิน/ได้เห็นข่าวนี้แล้ว" ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.16 มีความรู้สึกต่อป้ายโฆษณา ว่าเป็นแค่ การแสดงความคิดเห็นทั่ว ๆ ไป รองลงมา ร้อยละ 31.05 ระบุว่า เป็นการกระทำเพื่อต่อต้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 25.26 ระบุว่า เป็นการกระทำเพื่อทำลายประเทศ ร้อยละ 19.47 ระบุว่า เป็นการกระทำเพราะหวังดีต่อประชาธิปไตยในประเทศไทย และร้อยละ 4.74 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.82 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.91 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.19 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.98 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.02 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 7.17 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 17.72 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.25 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 28.90 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.96 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 93.86 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.94 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.57 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.63 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.68 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.76 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.02 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.54 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 30.63 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.16 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.32 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.43 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.89 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.57 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.47 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.86 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.71 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.35 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.54 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.21 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.05 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.81 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 18.66 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.77 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.47 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.75 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.67 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.56 ไม่ระบุรายได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit