AIS ผนึก สถาบันวิจัย ม.สงขลานครินทร์ พัฒนา นวัตกรรมตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-XBEE l สำเร็จเป็นรายแรกของไทยช่วยรับมือ สถานการณ์ฝุ่นควันภาคใต้ ในขณะนี้ พร้อมให้บริการประชาชนได้จริงแล้ว

25 Sep 2019
จากสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ภาคใต้ หรือที่เรียกว่า "หมอกควันอินโด" ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำทุกปี ส่งผลให้ขณะนี้ เกิดมลพิษทางอากาศ สภาวะฝุ่นและหมอกควันปกคลุมพื้นที่ทางภาคใต้ของไทย โดยมีค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นเกินมาตรฐาน จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นวงกว้าง
AIS ผนึก สถาบันวิจัย ม.สงขลานครินทร์ พัฒนา นวัตกรรมตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-XBEE l สำเร็จเป็นรายแรกของไทยช่วยรับมือ สถานการณ์ฝุ่นควันภาคใต้ ในขณะนี้ พร้อมให้บริการประชาชนได้จริงแล้ว

ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว AIS โดยโครงการ AIAP (AIS IoT Alliance Program) ภาคีความร่วมมือด้านเทคโนโลยี IoT ระดับประเทศ ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ และ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนานวัตกรรม IoT อุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-XBEE l เป็นรายแรกของไทย นำร่องติดตั้งอุปกรณ์ในพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นควัน อาทิ จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ปัตตานี และกรุงเทพ เพื่อเฝ้าระวัง ติดตามคุณภาพอากาศ และอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านทางเว็บไซต์ http://airsouth.things.in.th โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปเช็คสภาพอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อจะได้รับมือและป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ฝุ่นควันดังกล่าว

ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จของการนำเทคโนโลยี NB-IoT ด้วยอุปกรณ์ DEVIO NB-Xbee I มาพัฒนาและออกแบบอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งานได้จริงแล้วเป็นรายแรกของไทย ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม อันเป็นการยกระดับนวัตกรรม Smart City ของประเทศไปอีกขั้น

เทคโนโลยี IoT DEVIO NB-Xbee I เป็นชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณ มีจุดเด่น คือ มีขนาดเล็ก ใช้ไฟน้อย ประหยัดพลังงาน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย ทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย AIS NB-IoT ที่ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาโดยทีมงานของ AIS IoT Alliance Program (AIAP) โครงการความร่วมมือของสมาชิก 1,400 ราย จากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ผู้ผลิตเทคโนโลยี นักพัฒนาอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งในและต่างประเทศ ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ, Product, Service หรือ Solution เพื่อให้เกิดการพัฒนา IoT Solution หรือ Business Model ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ขยายประโยชน์สู่ภาคประชาชน เสริมการบริหารจัดการในทุกภาคส่วน

HTML::image( HTML::image( HTML::image(