ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ควบคู่กับการอนุรักษ์ไม้ท้องถิ่นและบำบัดน้ำเสีย ในพื้นที่ของตำบลทะเลน้อย และมีผู้ได้รับประโยชน์ 150 ครัวเรือน 500 คน พื้นที่การเกษตร 1,463 ไร่"
พลโท ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า มูลนิธิโคคา โคลา ประเทศไทยได้ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ฯ ดำเนินงานบริหารจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ มาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ รวมทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลน้อย ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2561 ที่มูลนิธิโคคา- โคลา ได้เริ่มเข้ามาสนับสนุน การดำเนินงานเครือข่ายลุ่มน้ำทะเลน้อย ภายใต้โครงการ "รักน้ำ" ด้วยการก่อสร้างอาคารยกระดับหน้าท่อและขุดลอกคลองไส้ไก่ ทำให้โครงสร้างน้ำมีความเชื่อมโยงกันเนื่องจากลุ่มน้ำทะเลน้อยเป็นลุ่มน้ำย่อยและเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หากสามารถบริหารจัดการน้ำให้ลุ่มน้ำทะเลน้อยบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ ทั้งระบายน้ำและกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่จะช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไปเอ่อล้น ท่วม ลงทะเลสาปสงขลาได้
สำหรับโครงการ "รักน้ำ" ของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย มีเป้าหมาย คือ การคืนน้ำในปริมาณเทียบเท่ากับที่นำมาผลิตเครื่องดื่มกลับสู่ชุมชน และธรรมชาติอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆได้ร่วมวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การหาทางแก้ไข และการวัดผลร่วมกัน ปัจจุบันโครงการ "รักน้ำ" ได้สร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยในชุมชนต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม กว่า 1 ล้านคน จากพื้นที่ดำเนินงานทั้งหมด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครสวรรค์ ปทุมธานี สุราษฎร์ธานี และพัทลุง