เมื่อเดินเข้าไปถึงห้องแรกของนิทรรศการ จะเป็นส่วนของการจัดแสดงภาพ หุ่นไม้แกะสลัก มือไม้แกะสลัก ภาพประวัติศาสตร์การสักของกลุ่มชาติพันธุ์ อุปกรณ์สักลาย ด้วยบรรยากาศที่ชวนให้ค้นหา นอกจากนี้ยังรวมลายสักแปลกตาที่หาชมได้ยากจาก 3 กลุ่มชาติพันธุ์ของไทยและไต้หวัน ที่บอกเล่าเรื่องราวและมรดกทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านศิลปะการสักลายบนเรือนร่าง ได้แก่ วัฒนธรรมการสักหน้าของชาวไท่หย่า (Atayal) ซึ่งมีถิ่นอาศัยทางตอนเหนือของไต้หวัน และความเชื่อเกี่ยวกับการสักมือของชาวไผวัน (Paiwan) ทางตอนใต้ของไต้หวัน รวมถึงการสักขาลายของชาวล้านนาทางตอนเหนือของไทย ที่บ่งบอกถึง ความกล้าหาญ เกียรติยศ และคติความเชื่อ ซึ่งนิทรรศการนี้ยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ปลุกชีวิตให้กับมรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังลบเลือนไปสู่คนรุ่นใหม่ ไม่ให้สูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
ถัดมาอีกห้องจะพบกับโซนฉายภาพยนตร์สารคดี ที่บอกเล่าองค์ความรู้การสักลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อนัยยะทางสังคมผ่านรูปแบบที่เข้าใจง่าย ด้วยการร้อยเรียงเรื่องราวความเป็นมา อันสะท้อนวัฒนธรรมการสักลายเพื่อบ่งบอกถึง ความกล้าหาญ เกียรติยศ และคติความเชื่อ เพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญา สู่คนรุ่นใหม่และประชาชนไม่ให้สูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จนกระทั่งถูกนำมาจัดแสดงภายในนิทรรศการ อาทิ วัฒนธรรมการสักขาลายของชาวล้านนาในประเทศไทย ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งแสดงถึงความกล้าหาญ ความเป็นลูกผู้ชาย และความอดทนต่อความเจ็บปวด การสักหน้า เพื่อเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความสามารถของชาวไท่หย่า (Atayal) และ การสักบริเวณลำตัวของเพศชาย และมือของเพศหญิง เพื่อเป็นเครื่องแสดงออกถึงสถานะทางสังคมและความรับผิดชอบของชาวไผวัน (Paiwan) 2 กลุ่มชาติพันธุ์ในไต้หวัน เป็นภาพยนตร์สารคดีที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษและถูกนำมาฉายภายในนิทรรศการเท่านั้น
ภายในนิทรรศการ "สักสี สักศรี" ยังมีโซนการจัดกิจกรรมเวิร์คชอป 'จุ่มหมึก ปั้มลาย' ที่ช่วยเพิ่มอรรถรสและสร้างการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้เข้าชม เพราะอัดแน่นด้วยความรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ตลอดจนรากเหง้าทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในอดีต ที่เคยมีช่วงเวลาที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด ก่อนที่กระแสป็อบคัลเจอร์จะเข้าไปมีอิทธิพล และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในยุคไร้พรมแดน ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ รวมถึงเด็กๆ ที่มาพร้อมกับครอบครัวเป็นจำนวนมาก และในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ แทททูเลิฟเวอร์ต้องโน้ตลงในปฏิทินให้ดี เพราะกำลังจะมีการจัดเสวนาเรื่อง "รอยศักดิ์สิทธิ์" ภายใต้คอนเซป ความหมาย ความเชื่อ และความศรัทธา โดยได้เชิญกูรูด้านรอยสักชั้นครูของไทย อาทิ คุณณัฐธัญ มณีรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความหมายของเลขยันต์ คุณวุฒินันท์ ป้องป้อม นักวิชาการด้านการสักยันต์ และคุณเพิ่ม พู่ระหง อาจารย์สักยันต์สายหลวงปู่ทอง วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) มาร่วมเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับรอยสักและความเชื่อในประเทศไทย โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าฟังการเสวนาได้ ในวันเสาร์ ที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ มิวเซียมสยาม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อีกหนึ่งไฮไลท์สุดเร้าใจที่เหล่าเกมเมอร์ห้ามพลาด กับการกลับมาอีกครั้งของเกมแห่งสักสี "Tattoo Game Card" หลังมีกระแสตอบรับอย่างคึกคักจากการจัดประลองครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยเตรียมเปิดให้เกมเมอร์ลงสนามร่วมประลองฝีมือกันอีกครั้งในวันเสาร์ ที่ 21 กันยายน 2562 ซึ่งการ์ดเกมชุดดังกล่าวถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่และเปิดตัวครั้งแรกในนิทรรศการ "สักสี สักศรี" โดยได้แรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ลายสักของกลุ่มชาติพันธุ์ "ไทย-ไต้หวัน" เปิดให้คอเกมได้ประลองศึกแห่งสักสี ร่วมเล่น และเรียนรู้ ผ่านเรื่องราวบนรอยสักครั้งแรกในประเทศไทย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประลอง "Tattoo Game Card เกมแห่งสักสี" สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นอกจากนี้นิทรรศการ "สักสี สักศรี" ยังมีมุมน่ารักที่หลายคนยังไม่เคยเห็น โดยเฉพาะท่าเต้นชนเผ่าของไต้หวันสุดชิค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวนิทรรศการ และถูกบันทึกเป็นคลิปการแสดงสุดสนุก ด้วยจังหวะการขยับร่างกายที่ไม่ซับซ้อน สามารถเต้นตามได้ภายในไม่กี่นาที โยกตามง่ายคล้ายกับเพลงสุดฮิตติดหูของไทยในเวลานี้อย่างเพลง "รักติดไซเรน" โดยสามารถเข้าไปชมเทปบันทึกการแสดงชนเผ่าของไต้หวัน แล้วไปแกะท่าเต้นได้เลยที่ Youtube Channel ของ Museum Siam (https://youtu.be/esf35sO4BnU) ซึ่งการแสดงชุดนี้เป็นเรื่องราวตัวตนของชนเผ่า ความหมายและนัยยะ ภายใต้ลวดลายรอยสัก ที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ที่รอการรื้อฟื้นสืบทอดสู่คนในรุ่นปัจจุบัน และยังทำให้ผู้ชมเข้าถึงและสัมผัสกลิ่นอายตัวตนของไต้หวันสุดอันซีนได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้นนิทรรศการสักสี สักศรี Tattoo COLOR Tattoo HONOR จึงเป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด โดยทั้ง 5 ไฮไลท์ของนิทรรศการนี้ได้ทำลายข้อจำกัดที่เคยมีในอดีต เกี่ยวกับการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านนิทรรศการที่สามารถดึงความสนใจให้แก่ผู้เข้าชมทุกเพศ ทุกวัย ได้เข้าใจและเข้าถึงไปกิจกรรมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษตลอดนิทรรศการ ซึ่งผู้ที่สนใจมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่และทรงคุณค่าผ่านรอยสักที่สมบูรณ์แบบที่สุดครั้งหนึ่ง ของไทยและไต้หวัน เปิดให้ชมฟรี ถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ที่มิวเซียมสยาม (ท่าเตียน) ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถเดินทางด้วย MRT สถานีสนามไชย (ทางออกประตู 1) โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 เว็บไซต์ www.museumsiam.org หรือ www.facebook.com/Museum Siam
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit