ทั้งนี้ ในการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ โรงพยาบาลจะบันทึกข้อมูลส่งต่อผ่านโปรแกรม BMA Home Ward Referral ไปยังศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ตามพื้นที่รับผิดชอบในระบบ ออนไลน์ นอกจากนั้น ได้จัดการอบรมผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาล (Caregiver) ไม่น้อยกว่า 70 ชั่วโมง โดย Caregiver ที่ผ่านการอบรมจะให้การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง) ในสัดส่วน 1:5 - 10 คน ซึ่ง Caregiver จะทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เช่น ทำความสะอาดร่างกาย การป้อนอาหาร การให้อาหารทางสายยางและการช่วยทำแผล ตลอดจนประเมินผู้ป่วยและผู้สูงอายุตามแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น (MMSE) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) หากผลการประเมินมีภาวะผิดปกติ Caregiver จะรายงานพยาบาลผู้จัดการสุขภาพเพื่อติดตามเยี่ยมบ้านและให้การพยาบาลที่บ้านอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งต่อผู้ป่วยเพื่อพบแพทย์ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติและจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อไป
นายสมชาย จึงมีโชค ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่าสำนักการแพทย์ มีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่ง จัดบริการคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพแบบบูรณาการ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องทุกสาขาวิชาชีพให้การดูแลรักษาและตรวจคัดกรองสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ รวมทั้งได้ประสานกับศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) เพื่อส่งต่อผู้ป่วยสูงอายุที่รับการดูแลรักษาและให้กลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit