สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. เว็บไซต์ www.facebook.com/kmitlofficial, www.kmitl.ac.th และโทรศัพท์ 02-329-8111
นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า กระแสไฟฟ้ารั่ว ถือเป็นอีกหนึ่งอุบัติภัยที่แฝงมากับสถานการณ์น้ำท่วม นอกเหนือจากโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วม โดยที่ผ่านมาได้เกิดเหตุกระแสไฟฟ้ารั่วช็อตชายหนุ่ม ขณะช่วยเพื่อนบ้านขนย้ายของหนีน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จนหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา สจล. ได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม "ไม้ตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่ว" ไม้ตรวจกระแสไฟฟ้ารั่วบนผิวน้ำความแม่นยำสูงฉบับพกพา ที่มีตัวแสดงผลเป็นหลอดไฟ LED และลำโพง Buzzer ส่งสัญญาณไฟ และเสียงเตือนหากมีกระแสไฟรั่ว โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วได้ ตั้งแต่ระดับที่มนุษย์ยังไม่สามารถรู้สึกได้ หรือประมาณ 2 เมตรล่วงหน้า ก่อนจุดที่จะมีกระแสไฟฟ้ารั่วซึ่งเป็นอันตรายแก่ร่างกาย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทีมปฏิบัติการ และผู้เกี่ยวข้อง ให้สามารถดำเนินการค้นหาได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี บริเวณพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียง ยังคงมีปริมาณน้ำท่วมขังสูง และมีความเสี่ยงของกระแสไฟฟ้ารั่วอย่างต่อเนื่อง สจล. จึงขอส่งกำลังใจแก่ครอบครัวผู้ประสบภัยและหน่วยงานกู้ภัยทุกท่าน ให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้อย่างปลอดภัย
ด้าน ดร.วิรุฬห์ คำชุม อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (สจล.) กล่าวเสริมว่า นอกเหนือจากอุบัติภัย "กระแสไฟฟ้ารั่ว" แล้ว การพังทลายของภูเขาตามธรรมชาติ หรือคันดินและเขื่อนดินที่มนุษย์สร้างขึ้น ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะผลกระทบต่อชีวิตประชาชนและมูลค่าความเสียหายที่ตามมาในอนาคตย่อมประเมินไม่ได้ จากเหตุการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ของไทย มีความสุ่มเสี่ยงต่อการพังทลายของคันคลองและเขื่อนดิน เพราะโดยปกติเสถียรภาพของคันดินจะเกิดจาก (1) แรงเสียดทานของเม็ดดิน และ (2) แรงดึงของน้ำในดินเหนือระดับน้ำใต้ดิน เมื่อเกิดพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง น้ำฝนจะไหลซึมลงดิน ทำให้แรงดึงของน้ำในดินลดลงและเกิดการพังทลายของคันดินได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดที่ระยะ 1 – 2 เมตรจากผิวดิน จะเห็นได้ว่าแรงดึงของน้ำในดินและอัตราการไหลของน้ำฝนลงดินมีส่วนสำคัญต่อการวิเคราะห์เสถียรภาพและมีประโยชน์ต่อการเตือนภัยดินถล่มภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. จึงเล็งเห็นความสำคัญของการวัดอัตราการไหลของน้ำในดินนี้ และได้พัฒนา "เครื่องวัดอัตราการไหลของน้ำในดิน" กระบวนการตรวจวัดรูปแบบใหม่เพื่อใช้ประกอบการประเมินเสถียรภาพ หรือการเตือนภัยการพังทลายของคันดิน โดยนวัตกรรมดังกล่าวมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือตรวจวัดสองชนิด คือ เครื่องมือตรวจวัดความชื้น และเครื่องมือตรวจวัดแรงดึงน้ำในดิน พร้อมบันทึกผลในรูปแบบดิจิทัล ทั้งนี้ ผลที่ได้จะเป็นพฤติกรรมจริงของการไหลของน้ำฝนลงดิน และแรงดึงน้ำในดินที่เปลี่ยนไปบริเวณเหนือระดับน้ำใต้ดิน ซึ่งสามารถบอกได้ว่า เขื่อนดินหรือลาดดินริมถนนตอนฝนตก จะมีเสถียรภาพที่ลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ได้อย่างแม่นยำขึ้น ซึ่งแตกต่างจากนวัตกรรมนำเข้า ที่ใช้เวลานานในการวัดอัตราการไหลในสภาวะของดินอิ่มน้ำ (ดินที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน) อีกทั้งไม่สามารถพิจารณาการไหลของน้ำฝนลงดิน และแรงดึงน้ำในดินที่เปลี่ยนไปตามความเป็นจริงบริเวณเหนือระดับน้ำใต้ดินได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินเสถียรภาพหรือการเตือนภัยการพังทลายของคันดิน
นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าวยังสามารถปรับใช้สำหรับการไหลของสารปนเปื้อนในดินจากโรงงานหรือจากหลุมขยะฝังกลบสำหรับงานด้านสิ่งแวดล้อม และงานวิศวกรรมอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ "เครื่องวัดอัตราการไหลของน้ำในดิน" อยู่ระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร และเตรียมพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์เป็นลำดับต่อไป โดยมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 35,000 บาท ครอบคลุมเครื่องมือและอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่อชุด ดร.วิรุฬห์ กล่าวสรุปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. เว็บไซต์ www.facebook.com/kmitlofficial, www.kmitl.ac.th และโทรศัพท์ 02-329-8111
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit