การประชุมเพื่อการลงทุนครั้งนี้ ได้รวมเอาผู้บรรยายผู้มีประสบการณ์และทรงอิทธิพลในแวดวง เช่น ดร.ปารัก คานนา ผู้จัดการร่วม ฟิวเจอร์แมป (FutureMap) และผู้เขียนหนังสือเรื่อง 'The Future is Asian' มนู บัสคาราน ผู้อำนวยการของ คอนเทนเนียล เอเชีย แอดไวเซอร์ รวมถึงเป็นสมาชิกของบอร์ดผู้ให้คำปรึกษาในทวีปเอเชีย และคณะกรรมการ ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF วาเลนติน เลซก้า ผู้อำนวยการ อาเซียนอินเด็กซ์ บริษัท เอ็มเอสซีไอ ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝ่ายมุมมองของภูมิภาคเอเชียที่มีต่อบทบาทของอเมริกาในเอเชีย ดิเอเชีย ฟาวน์เดชั่น
จากซ้ายไปขวา: เจมี่ วูดวาร์ด ผู้อำนวยการ ยูบีเอส ประเทศไทย ,โย ชู กวน หัวหน้าฝ่ายหุ้นทุนตลาดอาเซียน ยูบีเอส, เอ็ดเวิร์ด ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสตลาดอาเซียน ธนาคารเพื่อการลงทุนยูบีเอส, เดวิด ราบิโนวิทซ์ หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างตลาดและเบต้าโซลูชั่น ยูบีเอส, ทอม เรืองฤทธิ์ หัวหน้าฝ่ายการลงทุนการค้าและปฏิบัติการ ยูบีเอส
โย ชู กวน หัวหน้าฝ่ายหุ้นทุนตลาดอาเซียน ยูบีเอส กล่าวว่า "อาเซียนนั้นจัดเป็นเป้าหมายของนักลงทุน และวันนี้ ตลาดอาเซียนถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกสำหรับผู้บริโภค โดยมีประชากรกว่า 687 ล้านคน ใน 10 ประเทศ นำมาซึ่งโอกาสในการเติบโตอันไม่สิ้นสุดในเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภูมิศาสตร์การเมือง โครงสร้างพื้นฐาน ผู้บริโภค และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการเปลี่ยนแปลงที่โลกกำลังเผชิญ และด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเหมือนประตูสู่เขตเศรษฐกิจนี้ เราจึงมีความยินดีที่ได้ทำการจัดการประชุม OneASEAN ที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบไปด้วยนักลงทุนจากทั้งไทยและต่างชาติ รวมถึงบริษัทจดทะเบียนต่างๆ ที่จะได้เข้ามาร่วมค้นหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ รวมถึงการได้พบปะกับผู้นำในแวดวงด้วย"
การประชุมนี้มีนักลงทุนสถาบันกว่า 170 ชีวิตเข้าร่วม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่นักลงทุนมีต่อเศรษฐกิจประเทศไทย การประชุมที่มีความสำคัญนี้ ถือเป็นหนึ่งในการประชุมที่นักลงทุนสถาบันและผู้นำองค์กรต่างตั้งตารอคอย เพราะว่าถือเป็นการประชุมอันทรงเกียรติ ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะได้แลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเทรนด์การลงทุนในภูมิภาคเจมี่ วูดวาร์ด ผู้อำนวยการ ยูบีเอส ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า "การที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และกระตุ้นการลงทุนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) เราหวังที่จะเห็นการลงทุนเพิ่มเติมจากต่างชาติมายังประเทศไทย และด้วยความที่ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของอาเซียน ยูบีเอส จึงเลือกที่จะจัดงานการประชุม OneASEAN ครั้งนี้ในประเทศไทย นักลงทุนที่เข้าร่วมในงานนี้ จะได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแพลตฟอร์มระดับโลกแต่เปี่ยมไปด้วยความเข้าใจในระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยให้นักลงทุนได้เข้าใจ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ"
จากการที่มีการลงทุนในกองทุนมากขึ้นในอาเซียน เดวิด ราบิโนวิทซ์ หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างตลาดและเบต้าโซลูชั่น ยูบีเอส กล่าวว่า "เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราได้จัดสัมมนาการค้าและการลงทุนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยในวันนี้ ซึ่งเราตั้งใจที่จะเน้นย้ำให้เห็นถึงเทรนด์ รวมถึงโอกาสใหม่ๆ สำหรับนักลงทุนเพื่อให้สามารถรับผลประโยชน์จากสภาพตลาดในปัจจุบัน การลงทุนในกองทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นได้เปลี่ยนภาพของการลงทุนไปมาก รวมทั้งในตลาดประเทศไทยเอง ยูบีเอสยังเดินหน้าที่จะเป็นผู้ให้บริการการเงินชั้นนำในภูมิภาคนี้สำหรับนักลงทุนสถาบัน เพราะว่าเราเห็นการเติบโตของการลงทุนในกองทุนเพิ่มมากขึ้นในภูมิภาค ในงานสัมมนาครั้งสำคัญครั้งนี้ เราต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมโยงลูกค้าของเราเข้ากับแนวปฏิบัติและแนวทางดำเนินการ การลงทุนชั้นนำของโลกผ่านแพลตฟอร์มที่เรามี เพื่อร่วมกันพัฒนาตลาดทุนในเขตอาเซียน"
เอ็ดเวิร์ด ทีเธอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสตลาดอาเซียน ธนาคารเพื่อการลงทุนยูบีเอส กล่าวว่า "อาเซียนเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและมีอนาคตที่สดใส ซึ่งรวมตลาดเศรษฐกิจที่โตเร็วที่สุดของเอเชียเอาไว้ (เวียดนาม) รวมถึงตลาดอื่นๆ ที่หลอมรวมเข้ากับห่วงโซ่อุปทานของโลกไปแล้ว (เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม) รวมถึงตลาดที่ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีก (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม) แม้ว่าความท้าทายในการค้าระหว่างประเทศจะเป็นตัวฉุดการเติบโตของภูมิภาค ผู้ที่มีหน้าที่วางนโยบายทางเศรษฐกิจในทวีปนี้ก็ได้ปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับความท้าทายนั้นๆ นอกจากนี้เรายังมองว่าอาเซียนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการย้ายฐานการลงทุน และซัพพลายเชน อันสืบเนื่องมาจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
เกี่ยวกับยูบีเอส
ยูบีเอส ให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินแก่ลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าระดับองค์กรทั่วโลก รวมถึงบริการทางการเงินส่วนบุคคลในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กลยุทธ์ของเรานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเป็นผู้จัดการทางการเงินที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก รวมถึงการเป็นธนาคารอันดับต้นๆ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเสริมความแข็งแกร่งด้วยบริการการจัดการสินทรัพย์ และการเป็นธนาคารเพื่อการลงทุน เราดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้นไปในตลาดที่เรามีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงตลาดที่เราสามารถสร้างการเติบโตทางโครงสร้างได้ หรือมีโอกาสในการทำกำไรในอนาคตยูบีเอสนั้น มีสาขาอยู่ในทุกตลาดสำคัญทั่วโลก มีสำนักงานอยู่ใน 50 ประเทศ โดยพนักงานร้อยละ 31 ประจำอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 32 ในสวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 19 ในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และร้อยละ 18 ในเอเชียแปซิฟิก UBS Group AG มีการจ้างงานกว่า 67,000 ตำแหน่งทั่วโลก โดยมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SIX Swiss Exchange และตลาด New York Stock Exchange (NYSE)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit