ซีอีเอ ผนึก ไต้หวัน จับคู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 2 ฝ่าย สร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่ออนาคต พร้อมเผยให้ชาวไต้หวันยลโฉมครั้งแรก

30 Jul 2019
- CEA - Taipei Culture Foundation เตรียมโชว์ศักยภาพดีไซเนอร์ไต้หวัน – ไทย ผ่านผลงาน "โมเดลกล้อง" และ "วัสดุแห่งอนาคต"
ซีอีเอ ผนึก ไต้หวัน จับคู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 2 ฝ่าย สร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่ออนาคต พร้อมเผยให้ชาวไต้หวันยลโฉมครั้งแรก

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จับมือ Taipei Culture Foundation จัดบิสซิเนสแมทช์ชิ่งธุรกิจสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ "แลกเปลี่ยนด้านการออกแบบระหว่างไต้หวัน – ไทย" ยกระดับศักยภาพงานดีไซน์ของนักออกแบบ และผู้ประกอบการธุรกิจสองฝ่าย ผ่านการผสานจุดแข็งด้านนวัตกรรมการออกแบบ โดยล่าสุดนำร่องแมทช์ชิ่งสร้างสรรค์ 2 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้แก่ กล้องดิจิทัลโฉมใหม่ กล้องกระดาษขนาดเหมาะมือทรงจัตุรัส หนึ่งในแก็ตเจตที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพโดย "เปเปอร์ ชูท และ ธิงค์ สตูดิโอ" และ นวัตกรรมวัสดุแห่งอนาคต วัสดุแห่งอนาคตที่คงลวดลายงานปักได้เป็นอย่างดี ที่มาพร้อมคุณสมบัติคงทนดั่งเซรามิก โปร่งใส และคงแสงแวววาวในที่มืดทั้งเชิงวัสดุและเทคนิคการผลิตโดย "แฟบคราฟท์ ดีไซน์ แล็บ และ อีส สตูดิโอ" ทั้งนี้ ตัวอย่างผลงานดังกล่าว จะจัดแสดงในนิทรรศการ "แลกเปลี่ยนด้านการออกแบบระหว่างไต้หวัน – ไทย" เป็นที่แรก ณ Songshan Culture and Creative Park (SCCP)กรุงไทเป ไต้หวัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 เว็บไซต์ cea.or.th

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพนักออกแบบ ผู้ประกอบการไทย พร้อมทั้งผลักดันผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงวัตถุดิบ อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาไทยในหลากหลายรูปแบบให้สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยล่าสุด ได้ตอกย้ำภารกิจดังกล่าวผ่านการจับมือกับ มูลนิธิส่งเสริมวัฒนธรรมไทเป (Taipei Culture Foundation) ไต้หวัน จัดโครงการ "แลกเปลี่ยนด้านการออกแบบระหว่างไต้หวัน – ไทย" (Tai – Thai Design Collaboration Project) เป็นปีที่ 2 เพื่อมุ่งยกระดับศักยภาพการออกแบบ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักออกแบบกับผู้ประกอบการธุรกิจสอง สัญชาติ ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ผสานนวัตกรรมการออกแบบ ทั้งเชิงวัสดุและเทคนิคการผลิตร่วมกันนายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า โดยครั้งนี้ นำร่องแมทช์ชิ่ง 4 ธุรกิจสร้างสรรค์อย่าง เปเปอร์ ชูท (Paper Shoot) แฟบคราฟท์ ดีไซน์ แล็บ (FabCraft Design Lab) จากไต้หวัน ธิงค์ สตูดิโอ (THINKK Studio) และ อีส สตูดิโอ (ease studio) จากประเทศไทย ซึ่งได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และทำการทดลองร่วมกัน เมื่อเดือนเมษายน2562 ที่ผ่านมา และรังสรรค์ผลงานต้นแบบ "ครีเอทีฟโปรดัก" ที่สามารถใช้ได้จริงในอนาคต ซึ่งมาพร้อมกับรูปลักษณ์และลูกเล่นที่ต่างไปจากเดิมดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • ผลงาน "กล้องดิจิทัลโฉมใหม่" (REC – Camera Beyond Camera) กล้องกระดาษขนาดเหมาะมือทรงจัตุรัส ถือเป็นหนึ่งในแก็ตเจตที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้ชื่นชอบการถ่ายภาพ ด้วยฟังก์ชันการทำงานเสมือนกล้องดิจิทัล ที่ใช้ง่ายเพียงลั่นชัตเตอร์แถมยังมีฟีลเตอร์ให้เปลี่ยนถึง 4 สี นอกจากนี้ ยังสามารถถอดเปลี่ยนเคสได้ตามต้องการ ซึ่งล้วนเป็นเคสที่หยิบยกวัสดุแบบไทยๆ มาเป็นองค์ประกอบ อาทิ เคสจากใบไม้ไทย เคสจากไม้ไทย เคสจากผ้าไทย และเคสจักรสานไทย โดยผลงานนี้ เป็นความร่วมมือของ เปเปอร์ ชูท (Paper Shoot) บริษัทผลิตกล้องดิจิทัลจากไต้หวัน และ ธิงค์ สตูดิโอ (THINKK Studio) สตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งจากประเทศไทย ที่สามารถชูเสน่ห์ของงานหัตถกรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ไทยผ่านผลงานออกแบบได้อย่างโดดเด่น
  • ผลงาน "นวัตกรรมวัสดุแห่งอนาคต" (5+5=?) วัสดุแห่งอนาคตที่คงลวดลายงานปักได้เป็นอย่างดี ถือเป็นผลลัพธ์ของการทดลองสร้างลวดลายงานปักผ่านวัสดุเซรามิก และอบร้อนในกระบวนการผลิตเซรามิกเพื่อคงรูป จึงมาพร้อมคุณสมบัติที่แข็งแรง คงทนดั่งเซรามิก โปร่งใส และคงแสงแวววาวในที่มืด โดยวัสดุดังกล่าว ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถสร้างลายปักบนวัสดุเซรามิก ที่แข็งแรงและแวววาว รวมถึงสามารถดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ ได้ ซึ่งในอนาคตเตรียมใช้เป็นวัสดุหลักในการผลิตโคมไฟที่ประกายแสงในที่มืด และวอลเปเปอร์ตกแต่งผนัง (Wall Art) ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีก่อนนอน โดยผลงานดังกล่าว เป็นความร่วมมือของ แฟบคราฟท์ ดีไซน์ แล็บ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเซรามิกสามมิติจากไต้หวัน และ อีส สตูดิโอ ผู้สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ในผลิตภัณฑ์ปักจากประเทศไทย

โดยตัวอย่างผลงานการออกแบบข้างต้น จะนำไปจัดแสดงในนิทรรศการ "แลกเปลี่ยนด้านการออกแบบระหว่างไต้หวัน – ไทย" (Tai – Thai Design Collaboration Project) เป็นที่แรกภายใต้แนวคิด "Material in Motion" ที่แสดงถึงกระบวนการความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงคอนเซปต์ ตัวอย่างวัสดุต่างๆ รวมถึงชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) ที่ผสานงานคราฟท์ (Craft) และเทคโนโลยีการออกแบบได้อย่างสมดุล ช่วงเดือน กรกฎาคม 2562 ณ Songshan Cultural and Creative Park (SCCP) กรุงไทเป ไต้หวัน จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการผลิตจริง เพื่อวางจำหน่ายภายในงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน (Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair 2019: BIG+BIH 2019) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา เดือนตุลาคม 2562

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทักษะการออกแบบที่ผสมผสาน เทคนิคการสร้างสรรค์และผลักดัน "ครีเอทีฟโปรดัก" (Creative Product) ให้เป็นที่ต้องการและสอดคล้องกับความต้องการผู้บริโภค ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ เจ้าของธุรกิจ และนักออกแบบที่เป็นเจ้าของธุรกิจ-ไลน์ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สัญชาติ ให้สามารถแจ้งเกิดและเติบโตในตลาดต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไต้หวัน และ ประเทศไทย ถือเป็นสองสัญชาติในภูมิภาคเอเชีย ที่มีความโดดเด่นด้านมรดกทางวัฒนธรรม และ พิถีพิถันเรื่องเทคนิคการรังสรรค์ผลงานหัตถกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ไต้หวัน ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และมีโครงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านงานคราฟท์ (Craft) งานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) จำนวนมาก ดังนั้น ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่สร้างความท้าทายและยกระดับศักยภาพด้านการออกแบบของธุรกิจสร้างสรรค์ของ 2 สัญชาติ" นายอภิสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับพิธีเปิดนิทรรศการ "แลกเปลี่ยนด้านการออกแบบระหว่างไต้หวัน – ไทย" (Tai – Thai Design Collaboration Project) ภายใต้แนวคิด "Material in Motion" จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ Songshan Cultural and Creative Park (SCCP) กรุงไทเป ไต้หวัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 เว็บไซต์ cea.or.th

ซีอีเอ ผนึก ไต้หวัน จับคู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 2 ฝ่าย สร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่ออนาคต พร้อมเผยให้ชาวไต้หวันยลโฉมครั้งแรก ซีอีเอ ผนึก ไต้หวัน จับคู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 2 ฝ่าย สร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่ออนาคต พร้อมเผยให้ชาวไต้หวันยลโฉมครั้งแรก ซีอีเอ ผนึก ไต้หวัน จับคู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 2 ฝ่าย สร้างสรรค์ผลงานออกแบบเพื่ออนาคต พร้อมเผยให้ชาวไต้หวันยลโฉมครั้งแรก