พงพัฒน์ วรรัตนธรรม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดาต้าเพาเวอร์ จำกัด เปิดเผยถึงความมุ่งมั่นของ DATA TRUSTED POWER ที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ตรวจสอบคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าปลั๊กจ่ายไฟ ควบคู่ไปกับการสร้างความพึงพอใจสูงสุดสำหรับลูกค้า โดยล่าสุดร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดค้นและออกแบบเครื่องมือทดสอบการเปิด-ปิดสวิตช์ ทั้งรูปแบบตั้งโปรแกรมกำหนดจำนวนครั้งเปิด-ปิด และแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งจนกว่าจะตัดอัตโนมัติ แล้วส่งข้อมูลไปยังโปรแกรมแชทไลน์ เพื่อแจ้งให้รู้จำนวนครั้งเปิด-ปิดที่แท้จริง ซึ่งนอกจากจะช่วยตอบปัญหาและไขข้อสงสัยของลูกค้าได้แล้ว ยังส่งผลกระทบเชิงบวกกลับมาสู่ผู้ผลิตด้วย ทำให้สามารถเช็คได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจุดใด ขั้นตอนใดบกพร่อง และช่วยให้สืบค้นต้นเหตุได้ง่ายขึ้น
"เคยมีการตั้งคำถามว่าสวิตช์ปลั๊กไฟของดาต้า เปิด-ปิดได้กี่หน และใช้ได้นานแค่ไหน เราเลยปิ๊งไอเดียคิดค้นเครื่องนี้ โดยเบื้องต้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อลองมาเทสต์กันดูว่าการทำงานของเซิร์ฟเวอร์หรือเคาท์เตอร์เปิด-ปิดเป็นอย่างไร จุดใดที่พังก่อน หรือมีปัญหาเกิดขึ้นที่ใด ซึ่งผลลัพธ์จากเครื่องมือนี้สามารถนำมาปรับใช้กับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ (QC) ในบริษัทเราเองได้ ยกตัวอย่าง เราตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 20,000 ครั้ง สวิตช์ที่ประกอบมาแล้วเทสต์ได้แค่ 10,000 - 15,000 ครั้งก็ทำให้เรารู้เลยว่า ล็อตที่ผลิตมาต้องมีปัญหา เราก็สามารถส่งไปเช็คดูที่ไลน์ผลิตได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ปัญหาอยู่ที่จุดใด เราเห็นจากหน้างานได้เดี๋ยวนั้นเลย เมื่อรู้ต้นตอของปัญหาแล้วก็สามารถจัดการได้ตรงจุดและทำได้เลยทันที เพราะเราผลิตเองทุกอย่าง ฉีดพลาสติกเอง แม้กระทั่งการประกอบก็ทำแบบแฮนเมด ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์ เต้ารับ รวมทั้งชิ้นส่วนเล็กๆ หลายๆ ชิ้นที่นำมาประกอบเป็นสินค้า เพราะฉะนั้นเครื่องมือนี้จึงช่วยนำเราไปสู่กระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มคุณค่าสินค้าให้มากขึ้นได้นั่นเอง"
พงพัฒน์ กล่าวต่อว่า เครื่องมือนี้นับเป็นการเริ่มต้นการพัฒนาโมเดลอื่นๆ ต่อไป โดยดาต้า เพาเวอร์ วางแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตด้วย "ระบบคำนวณระยะเวลาประกอบปลั๊ก" โดยตั้งโจทย์ไว้ว่าใน 1 ชั่วโมง ต้องประกอบได้จำนวนเท่าไร เมื่อประกอบแล้วได้จำนวนตามที่คาดการณ์หรือไม่ โดยการวัดผลจะคำนวณแล้วแปรประมวลผลในรูปแบบกราฟที่ชัดเจน จึงสามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนั้นยังมีการติดตั้งเซนเซอร์ในไลน์ผลิตเพื่อพิจารณาศักยภาพในการทำงานของพนักงาน และสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินผลการทำงานของพนักงาน (KPI) ได้อีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่การเพ่งโทษพนักงาน แต่ดาต้า เพาเวอร์ ตั้งใจใช้โมเดลดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาความสามารถและฝีมือในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ได้เร็วขึ้น มุ่งทำให้พนักงานทำได้สูงกว่าเกณฑ์เรื่อยๆ ตลอดจนนำข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้มาปรับใช้ในระบบโรงงานเพื่อพัฒนาความสามารถการผลิตในอนาคต อาทิ การกำหนดเป้าหมาย KPI เพิ่มขึ้น ในกรณีที่พนักงานเพิ่มความเร็วในการประกอบได้มากขึ้นเกินกว่าเกณฑ์กลางที่ตั้งไว้และทำได้ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
"เราคือบริษัทผลิตปลั๊กไฟในเมืองไทยที่สั่งสมประสบการณ์มายาวนาน 30 กว่าปีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ดาด้า เพาเวอร์ก็ไม่หยุดยั้งการพัฒนาต่อยอดสินค้าคุณภาพ โดยเราพยายามพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ช่วยในการทดสอบ QC ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับระบบโรงงาน เพราะจะทำให้ผู้ผลิตอย่างเราเองรู้ปัญหาในกระบวนการผลิต นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งพัฒนาการผลิตให้รวดเร็วขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำมาประสานการทำงานร่วมกับ Internet of thing เพื่อต่อยอด หามุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาแต่ละส่วนการผลิตให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญที่สุด การที่เรานำเทคโนโลยีมาใช้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า ดาต้า เพาเวอร์ ให้ความสำคัญกับความต้องการและมุ่งแก้ปัญหาของลูกค้าของเราอย่างจริงจัง โดยพยายามควบคุมทุกอย่างในระบบของเราให้ผ่าน QC คุณภาพที่ต้องการ เพื่อส่งออกให้กับผู้ใช้งานได้สินค้าตามที่สนใจ ซึ่งการ QC ทุกอย่างเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังช่วยการันตีให้ผู้บริโภคสบายใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นของดาต้า เพาเวอร์ คือคุณภาพขั้นสุดจริงๆ" พงพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
HTML::image(