จากการสำรวจเมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกัญชา/ผลิตภัณฑ์กัญชา/นโยบายกัญชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.73 ระบุว่า ติดตามบ้าง รองลงมา ร้อยละ 34.77 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม และร้อยละ 17.50 ระบุว่า ติดตาม สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อกัญชาว่าจะสามารถรักษาโรคร้ายแรงได้ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าติดตาม และติดตามบ้าง) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.03 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 22.68 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 16.46 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 8.54 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 2.68 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านกลุ่มแพทย์/หมอที่รัฐบาลควรอนุญาตให้ผลิตยากัญชาและนำไปใช้รักษาโรคได้ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าเชื่อมาก ค่อนข้างเชื่อ ไม่ค่อยเชื่อ ไม่แน่ใจ และไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.73 ระบุว่า แพทย์แผนปัจจุบัน รองลงมา ร้อยละ 46.40 ระบุว่า แพทย์แผนไทย ร้อยละ 21.60 ระบุว่า หมอพื้นบ้าน ร้อยละ 4.67 ระบุว่า ไม่ควรอนุญาตกลุ่มใดเลย ร้อยละ 0.13 ระบุว่า ควรจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะ และร้อยละ 3.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลควรกำหนดเกี่ยวกับนโยบายกัญชา (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าติดตาม และติดตามบ้าง) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.68 ระบุว่า เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาโรค รองลงมา ร้อยละ 19.02 ระบุว่า เพื่อสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์กัญชาที่ถูกกฎหมาย ร้อยละ 16.10 ระบุว่า เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 7.68 ระบุว่า รัฐไม่ควรออกนโยบายเพื่อสนับสนุนกัญชา/ผลิตภัณฑ์กัญชา ร้อยละ 3.41 ระบุว่า เพื่อสนับสนุนความบันเทิงในสังคม เช่น การเสพกัญชาได้ถูกต้องตามกฎหมาย การมีบุหรี่กัญชา เป็นต้น และร้อยละ 1.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายอนุญาตให้ปลูกกัญชาเสรีได้ 6 ต้นต่อบ้าน (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าติดตาม และติดตามบ้าง) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.85 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 24.76 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 18.17 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.37 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.85 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลว่าจะสามารถควบคุมการปลูก/การใช้กัญชาหรือผลิตภัณฑ์กัญชาให้เป็นไปตามกฎหมาย (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าติดตาม และติดตามบ้าง) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.10 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.12 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.95 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.78 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.46 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.75 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.74 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.59 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 30.47 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.45 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.99 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.42 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.64 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.95 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.26 สถานภาพโสด ร้อยละ 69.77 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.86 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 32.30 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.11 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.43 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 22.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.30 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.66 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 8.91 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.52 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.45 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.47 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.98 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.18 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.23 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 19.57 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.57 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.38 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.44มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.59 ไม่ระบุรายได้