โรงพยาบาลพญาไท 2 ขับเคลื่อนความเป็นเลิศด้านการแพทย์ (Center of Excellent) ต่อยอดสู่การเป็นศูนย์การแพทย์ก้าวหน้าระดับโลก (State-of the art Medical Campus) ต่อ ด้วย 3 จุดเด่น "เข้มข้น ใส่ใจ เชื่อมโยง" เน้นให้บริการดูแลสุขภาพด้วยศูนย์แพทย์เฉพาะทาง และการตรวจประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคแบบเจาะลึก เพื่อวางแผนการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ตอบรับเทรนด์ชีวิตรักษ์สุขภาพของสังคมปัจจุบัน แก่กลุ่มเป้าหมายพื้นที่ใกล้เคียง แนวถนนพหลโยธิน จังหวัดกลุ่มภาคกลาง ไปจนถึงภาคเหนือตอนต้น
นายแพทย์ อนันตศักดิ์ อภัยรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 (Dr. Anantasak Apairatana Hospital Executive Director, Phyathai 2 International Hospital) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 32 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ มีหมอเก่ง (knowledgeable) แก้ปัญหาเจาะลึกตรงจุด (treat problems) โปร่งใสเชื่อถือวางใจได้ (trustworthy) มีการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ใจ (caring and concern) ก้าวหน้าทันสมัย (innovative) และ ค่าใช้จ่ายสมเหตุผล (cost effective) จึงนำข้อดีเหล่านี้มาเป็น 3 แนวทางการให้บริการผู้ป่วยแบบ "เข้มข้น ใส่ใจ เชื่อมโยง"
เข้มข้น คือการมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา วินิจฉัย แนวทางรักษาและดูแลสุขภาพที่เจาะลึก ชัดเจนเหมาะสมกับผู้ป่วย ด้วยกระบวนการรักษาเข้มข้น ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐาน JCI และโปรแกรมมาตรฐานรับรองเฉพาะโรค CCPC มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ก้าวหน้าทันสมัย และเป็น Research based hospital มีการวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์ทั้งการจับมือกับสถาบันการแพทย์นานาชาติ เช่น Oregon Health & Science University (OHSU) / Osaka University Hospital ในด้านการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกันโดยปรับไลฟ์สไตล์ในการชีวิตนำไปสู่สุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา ในการร่วมคิดค้นนวัตกรรม ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาและความปลอดภัยผู้ป่วย
ใส่ใจ เพื่อผู้ป่วยสบายใจ โดยยึดหลักผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลาง ให้ข้อมูลที่ชัดเจน เข้าใจบริบทและความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย ปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงพัฒนานวัตกรรมเชิงป้องกันโรคที่อาจเกิดในอนาคต ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับรหัสพันธุกรรม รวมถึงโรคความเสื่อมของร่างกายที่สามารถวางแนวทางการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
"ซึ่งการดูแลผู้ป่วยด้วยแนวทางนี้ ทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากร จะต้องมีกระบวนการในการทำความเข้าใจในมุมมอง เคารพในความต่าง ความซับซ้อนของจิตใจ สังคม พื้นฐานและประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วย รวมถึงต้องสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย เราให้การดูแลรักษาผู้ป่วยควบคู่กับการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งการป้องกันก่อนป่วยในกลุ่มทั่วไป ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค และการป้องกันโรคแทรกซ้อนในกลุ่มที่เป็นโรคแล้ว" นายแพทย์ อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย ผู้อำนวยการแพทย์(Dr. Apirak Palwatwichai Medical Director, Phyathai International Hospital) เสริม
เชื่อมโยง ไร้รอยต่อ คือการมีเครือข่ายโรงพยาบาลที่ผนึกกำลังเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความลื่นไหลไร้รอยต่อทั้งในการรับและส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มโรคซับซ้อนที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ ไปจนถึงการผนึกกำลังแพทย์เฉพาะทางที่หลากหลาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน เสริมการเรียนรู้ด้านการแพทย์ และการทำวิจัยเพื่อประโยชน์ผู้ป่วย
นายแพทย์ อนันตศักดิ์ กล่าวเสริมว่า "ล่าสุด โรงพยาบาลพญาไท 1 พญาไท 2 และ เปาโล พหลโยธิน ก็ได้ผนึกกำลังเป็นกลุ่ม PMC "พญาไท เปาโล เมดิคอล แคมปัส" นำจุดแข็งความเชี่ยวชาญของในแต่ละโรงพยาบาล มาให้บริการผู้ป่วย ได้ครอบคลุมทั้งหมด ทั้งในกลุ่มโรคซับซ้อน เวชศาสตร์การดูแลสุขภาพ เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศัลยกรรม และเป็น Medical Campus ที่มีการวิจัยพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุด"
ด้านการขยายการให้บริการนั้นโรงพยาบาลเพิ่มการรับรองผู้ป่วยด้วยบริการห้องพักระดับ Premium Prestige Ward จำนวน 16 ห้อง และหอผู้ป่วยวิกฤตเพิ่มเป็น 8 ห้อง รวมถึงเน้นการขยายศูนย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น เช่นปีที่ผ่านมา เปิดคลินิกเวชศาสตร์การกีฬา (Sports Medicine) เพื่อรับเทรนด์ออกกำลังกายดูแลสุขภาพ และเปิดLine @ Chatกับหมอทีมชาติ เปิดศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ศาสตร์ชะลอความเสื่อมของร่างกายแบบองค์รวม และมีแผนที่จะเปิดศูนย์รักษาภูมิแพ้ เพื่อวินิจฉัย รักษาผู้ป่วยกลุ่มภูมิแพ้ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี
"ในการดูแลให้สังคมเกิดสุขภาพดีครบ 32 นั้น เราต้องรักษา และป้องกันควบคู่กันไป โดยเราเน้นขยายบริการสู่กลุ่มรักสุขภาพที่ต้องการตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคก่อนป่วย ครอบคลุมตั้งแต่วัยแรกเกิด วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึง ผู้สูงอายุ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงของโรค (health screening) ที่เน้นแบบเจาะลึก เช่นการตรวจ Saline bubble test ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวบ่อย ๆ ซึ่งอาจมีแนวโน้มเกิดโรคผนังกั้นหัวใจรั่ว หรือ นวัตกรรมการตรวจค่า Urine CTX-II ตรวจหาความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อการรักษาทันเวลาโดยมุ่งเน้นการปรับสมดุล เลี่ยงการผ่าตัดข้อเข่าในอนาคต เป็นต้น" นายแพทย์ อภิรักษ์ เสริมและกล่าวต่อไปว่า
"ข้อมูลจาก TDRI ระบุว่าปัจจุบันค่าใช้จ่ายสุขภาพโดยรวมของคนไทยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาล 75% ค่าป้องกันและดูแลสุขภาพ 5% และมีค่าอื่น ๆ เช่นซื้อวิตามินอีก 20% โดยกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันคือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ส่วนใหญ่ป้องกันได้ หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตมาเป็นการดูแลสุขภาพ ตรวจหาความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เราก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนการรักษาได้เพิ่มมากขึ้น"
"ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ ทำให้เราสามารถตรวจประเมินความเสี่ยง เพื่อหาสาเหตุของโรคได้แม่นยำขึ้น ในหลายกรณีผู้ป่วยไม่แสดงอาการ หรือมีอาการที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคอื่น ทำให้เราไม่รู้สาเหตุแท้จริง ดังนั้นเพื่อให้สุขภาพดีครบ 32 อย่างยืนยาว เราจึงควรตรวจวิเคราะห์เจาะลึกสุขภาพร่างกาย ค้นหาแนวโน้มการเกิดโรค รู้ถึงสุขภาพในเชิงลึก โดยไม่ต้องรอให้ป่วย เพื่อการวางแผนการใช้ชีวิต และออกแบบสุขภาพที่เหมาะสมรายบุคคล"
ในโอกาสครบรอบ 32 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 จัดทำแคมเปญ "สุขภาพดีครบ 32" ที่เน้นการตรวจหาความเสี่ยงของโรค ที่ออกแบบแพคเกจให้เหมาะสมกับทุกช่วงวัย
ช่วงวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป เน้นเรื่องโรคที่อาจเกิดจาการทำงาน เช่นปวดหัว ออฟฟิศซินโดรม ปวดตาจากการใช้คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์เคลื่อนที่ การตรวจสารโลหะหนัก โรคเครียดจากการทำงาน หมดไฟ (ต่อมหมวกไตล้า) โรคกล้ามเนื้อ/เส้นเอ็นอักเสบ โรคมะเร็ง ตรวจหาภูมิแพ้จากเลือด เป็นต้น
ช่วงวัย 50 ปีขึ้นไป เน้นการปรับพฤติกรรม รับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย โรคที่เกิดจากพฤติกรรม โรคเรื้อรัง เช่นเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ ความดัน โรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน วัยทอง มะเร็งฯลฯ
กลุ่มแม่และเด็ก เน้นสุขภาพแม่และเด็ก ตั้งแต่ครรภ์ คลอด หลังคลอด เพราะการตั้งครรภ์ในปัจจุบันจะเกิดขึ้นในผู้หญิงกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ สุขภาพคุณแม่มือใหม่ พัฒนาการเด็ก
และแพคเกจทั่วไปราคา 3,200 บาท ตรวจทั้งหมด 18 รายการ
โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้บริการด้วยศูนย์การแพทย์เฉพาะทางและศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ 30 ศูนย์ มีสัดส่วนการรักษาอยู่ที่ 80% และการตรวจประเมินความเสี่ยง 20% โดยมีจำนวนตัวเลขของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่เข้ามารับการรักษาเพิ่มขึ้น 5% เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561
"ตัวเลขการขยายตัวของโรงพยาบาลค่อนข้างจะสอดคล้องกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและทั่วโลก ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็จะได้รับผลกระทบ โดยผู้มีระดับรายได้ปานกลางขึ้นไป ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของโรงพยาบาลมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายด้านการรักษา ตลอดจนมีการหันไปใช้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นจึงยังคงทำให้โรงพยาบาลรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของรายรับไว้ได้ คาดการณ์ว่าจำนวนของผู้ใช้บริการใน ครึ่งปี 62 ในไตรมาส 3 และ 4 จะอยู่ที่ 384,000 การเข้ารับบริการ (visits)" นายแพทย์ อนันตศักดิ์ สรุป
ปัจจุบัน รพ. มีสัดส่วนผู้ป่วยที่เข้ามาทำการรักษากับศูนย์เฉพาะทางได้แก่ ศูนย์สุขภาพสตรี 30% ศูนย์สุขภาพเด็ก 20% สถาบันกระดูกและข้อ 15% และ อื่น 35% โดยมี สัดส่วนผู้ป่วยไทย 80% และต่างชาติ 20% ซึ่งกัมพูชาครองส่วนแบ่งสูงสุดของผู้ป่วยต่างชาติ 35%
HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit