ที่น่าเป็นห่วง คือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 ระบุในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ในขณะที่ร้อยละ 15.3 ระบุมีรายได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2560 พบว่า คนที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.7 ดังกล่าว นอกจากนี้ จำนวนมากหรือร้อยละ 43.5 รู้สึกมั่นคงน้อย ถึง ไม่มั่นคงเลยในอาชีพ การงาน ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 17.4 รู้สึกมั่นคงมาก ถึง มากที่สุด ที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจของประเทศ เปรียบเทียบ ไทย กับ มาเลเซีย พบว่า ผู้บริโภคคนไทยครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.1 และคนมาเลเซียร้อยละ 26.9 มีความเชื่อมั่นแย่ลงต่อเศรษฐกิจของประเทศในอีก 12 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ คนไทยเพียงร้อยละ 6.5 เชื่อมั่นดีขึ้นน้อยกว่าคนมาเลเซียที่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของมาเลเซียสูงถึงร้อยละ 37.6 ในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง "ไม่นิ่ง" กำลังส่งผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างหนัก เปรียบเทียบกับการเมืองมาเลเซียที่นิ่งมากกว่า ส่งผลให้ประชาชนชาวมาเลเซียเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าคนไทย ทางออกคือ ทำให้ประชาชนมีงานทำที่มั่นคง และทำภาพอนาคตทางการเมืองไทยให้ชัดว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว รัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้นานแค่ไหน ทั้งหมดนี้ผู้บริหารประเทศจะทราบสถานการณ์ได้ดีและมองเห็นอนาคตข้างหน้าได้ดีกว่า อยู่ที่ว่าจะทำให้สาธารณชนสนับสนุนและเดินไปกับคณะผู้บริหารประเทศได้หรือไม่ จึงเสนอให้ใช้ยุทธศาสตร์เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนของสาธารณชนต่อการขับเคลื่อนประเทศเพื่อร่วมกันสร้างอนาคต (Shape the Future) ของประเทศให้เจริญมั่นคง
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) โทร 02.051.5928 www.superpollthailand.net
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit