งาน Thailand IoT Industry Summit ดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ธีม "IoT ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ดันไทยก้าวไกลสู่เศรษฐกิจดิจิทัล" (IoT, the Engine of Thailand 4.0 to Drives Digital Economy) โดยมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ ผู้ให้บริการเครือข่ายชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมและพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 300 คน เพื่อแบ่งปันข้อมูลองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม IoT ที่ล้ำหน้า ตลอดจนขยายขอบเขตความร่วมมือเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลให้รุดหน้า
"IoT เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะมาช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 อีกทั้งยังช่วยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทยเกิดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งด้านสมาร์ทซิตี้ สมาร์ทอินดัสทรี่ และสมาร์ทไลฟ์ เราเชื่อว่า IoT จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของเรา ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราอีกด้วย" นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว
สำหรับประเทศไทยนั้น เทคโนโลยี IoT ได้กลายเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ยุคดิจิทัล สร้างมูลค่าทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับสูง ซึ่งผู้ให้บริการ อาทิเช่น เอไอเอสและทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้วางโครงข่าย NB-IoT ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยมีตัวอย่างการใช้งาน อาทิ อุปกรณ์ติดตามรถ อุปกรณ์ดูแลเด็ก และการจอดรถอัจฉริยะซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีการใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว นวัตกรรมต่างๆ อาทิ สมาร์ทมิเตอร์และอุปกรณ์ติดตามวัว (Connected Cow) ก็ได้เข้ามาทดลองใช้งานในประเทศไทยแล้วเช่นกัน
ในงานดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม IoT "OceanConnect" อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นโอเพ่นอีโคซิสเต็มที่พัฒนาขึ้นบน IoT และคลาวด์สาธารณะ ที่จะช่วยให้บริษัทพันธมิตรผู้พัฒนาระบบ หรือ System Integrator (SI) ในประเทศสามารถพัฒนา IoT และนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
"ปัจจุบัน นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้โลกและชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนเราตั้งตัวไม่ทัน หัวเว่ยก็มีส่วนช่วยผลักดันอีโคซิสเต็มและการพัฒนา IoT ในประเทศไทยผ่านการสนับสนุนพันธมิตร SI ในประเทศ ผสานความร่วมมือกับพันธมิตรด้าน IoT ทั้งในและต่างประเทศ และนำกรณีการใช้งานจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยให้มากขึ้น" มร. เอเบล เติ้ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าว
จากข้อมูลของ GSMA Intelligence เผยว่า ทั่วโลกมีการเปิดใช้งานเครือข่าย Mobile IoT เชิงพาณิชย์ไปแล้วทั้งสิ้น 114 เครือข่ายนับจนถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และคาดว่าการเชื่อมต่อ IoT ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 หมื่นล้านในปี 2568 โดย GSMA Intelligence คาดการณ์ว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจะเป็นภูมิภาคที่มีรายได้สูงสุดราว 3.68 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่รายได้จาก IoT ทั่วโลกจะเติบโตสูงกว่าราวสี่เท่า คิดเป็นมูลค่าราว 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 อันเป็นผลมาจากการผลักดันส่งเสริมของรัฐบาลและการเชื่อมต่อ IoT ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม
"เราหวังที่จะเห็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม IoT ในประเทศไทยผ่านการทำงานร่วมมือกันที่มากขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลและประเทศไทย 4.0 ให้รุดไปข้างหน้า" มร. เอเบล เติ้ง กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit