"ปัจจุบันเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงพันธุ์ดี เนื่องจากยังมีราคาแพงในตลาด ซึ่งการคัดสรรพันธุ์ที่ดีจะนำมาซึ่งการลดต้นทุน การเพิ่มมูลค่า และการเพิ่มศักยภาพการส่งออกให้มากขึ้น และยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชที่ดีใช้ตลอดฤดูกาล สิ่งสำคัญคือต้องหาตลาดรองรับ หรือใช้แนวทางตลาดนำการผลิต ในวันนี้จึงได้หาแนวทางช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น โดยศูนย์ฯ จะผลิตต้นพันธุ์ดีซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์ฯ จำนวน 500 ครัวเรือนๆ ละ 100 ต้น รวม 50,000 ต้น ในราคา 20 บาท สำหรับพันธุ์ไม้ที่จะนำมาจำหน่าย อาทิ ดอกกระเจียว และสับปะรดสี เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปเพาะเลี้ยงต่อจนสมบูรณ์ต่อไป" นายประภัตร กล่าว
ทั้งนี้ การจัดตั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืชจังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี บุรีรัมย์ มหาสารคาม ลำพูน พิษณุโลก และสุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อรองรับการผลิตและขยายพันธุ์พืชในชั้นพันธุ์ขยายและพันธุ์จำหน่ายไปสู่ กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ศูนย์พันธุ์พืชชุมชน Young Smart Farmer แปลงใหญ่ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่มีความต้องการ ผ่านกลไกงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ และยังผลิตรองรับพืชเศรษฐกิจที่มีปัญหาโรคพืชแฝงติดไปกับต้นพันธุ์ เช่น ท่อนมันสำปะหลัง เป็นต้น