คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) โดยมี ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กับ นายธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ โดยมี ดร.เด่นชัย วรเดชจำเริญ ที่ปรึกษาโครงการฯและอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU และดร.ธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด ISMED ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงภายใต้โครงการต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมด้วยเครือข่ายดิจิทัล ณ ห้องออดิทอเรียม (Auditorium) อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค สุขุมวิท 101 กรุงเทพฯ
ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า จากเจตนารมณ์ของความร่วมมือฯ ระหว่างสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในการที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ การพัฒนานักศึกษาและบุคลากร การพัฒนางานวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านการประยุกต์ใช้ระบบ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือ ไอโอที (IoT) ด้านโรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะร่วมกันเป็นระยะเวลา 3 ปี จึงได้เห็นชอบร่วมกันที่จะทำข้อตกลงความร่วมมือร่วมกัน
ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในครั้งนี้ ก็ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือในการดำเนินงานวิจัย และการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ การประยุกต์ใช้ระบบไอโอที เพื่อตอบสนองต่อนโยบายประเทศด้านการปรับปรุงผลิตภาพและการประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในนโยบาย ประเทศไทย 4.0 และร่วมส่งเสริมงานวิจัย และ พัฒนา ระบบไอโอที โรงงานอุตสาหกรรม อัจฉริยะ โดยอาศัยองค์ความรู้และความถนัดด้านการออกแบบและวิเคราะห์ ระบบอัตโนมัติและไอโอทีในโรงงานอุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ผนวกกับองค์ความรู้และความถนัดด้านการตลาดดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรม จากผู้เชี่ยวชาญของ ISMED โดยผู้เชี่ยวชาญของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม เป็นผู้รับผิดชอบด้านระบบอัตโนมัติและไอโอที และ ผู้เชี่ยวชาญของ ISMED เป็นผู้รับผิดชอบด้านการตลาดดิจิทัลและการสร้างระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรม
ทางด้าน นายธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีนโยบายในผลักดันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและมีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมที่มีศักยภาพที่เป็นเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 โดยอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในประเทศไทยส่วนหนึ่งยังขาดความพร้อมที่จะลงทุน หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ทั้งเกิดจากข้อจำกัดในด้านต่างๆ ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลิตภาพ และขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ในทางกลับกันกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ของไทย เช่น กลุ่มบุคลากรในสถาบันการศึกษา นักวิจัยอิสระ และหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการอุตสาหกรรมได้ ซึ่งกลุ่ม IoT Maker เหล่านี้ยังขาดความเชื่อมโยงกับผู้ต้องการใช้เทคโนโลยีเช่นกัน
"ทั้งนี้ หากสามารถเชื่อมโยงความต้องการเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกับกลุ่ม IoT Maker ในประเทศได้ จะเป็นการเปิดโอกาสช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนำไปใช้ในกระบวนการผลิต การค้า และการส่งออก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ในขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถให้กับกลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีในประเทศอีกด้วย" นายธนันธน์ กล่าวเพิ่มเติม
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit