สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดทำแผนแม่บทพัฒนาป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี

23 Aug 2019
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดทำแผนแม่บทเพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ครอบคลุมพื้นที่ 24 ตารางกิโลเมตรในจังหวัดเพชรบุรี
สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดทำแผนแม่บทพัฒนาป่าชายเลนและระบบนิเวศชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี

เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีสภาพแวดล้อมทางทะลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่การใช้ชีวิตแบบคนเมืองและกิจกรรมชายฝั่งต่าง ๆ เช่นการทำนาเกลือได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง โดยปัจจุบันจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ป่าชายเลนคงเหลือเพียง 17% เท่านั้น

ดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้กล่าวว่าการจัดทำแผนแม่บทนี้ตั้งเป้าที่จะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้แก่มนุษย์รวมถึงพืชและสัตว์ด้วย "การร่วมมือกันในครั้งนี้เพื่อหาหนทางสำหรับมนุษย์และธรรมชาติให้อยู่ร่วมก้นอย่างมีความสุข"

"ป่าชายเลนนอกจากจะช่วยรักษาสมดุลของโลกเราแล้วยังมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นด้วย เนื่องจากป่าชายเลนมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะและฟูมฟักของสัตว์น้ำที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยว หัวใจสำคัญของการพัฒนาแผนแม่บทนี้จึงเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นผู้ร่วมปกป้องป่าชายเลนของพวกเขา" ดร.ชวัลวัฒน์ กล่าว

สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้จะร่วมทำงานกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ภายใต้กรอบระยะเวลา 3 ปี โดยแผนแม่บทที่พัฒนาขึ้นนี้จะสอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตรืของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการนี้จะทำการพัฒนาต้นแบบในระดับโลกของป่าชายเลนในเมืองสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่ป่าจำนวน 400,000 ตารางเมตร ณ ตำบลบางตะบูนออก รวมถึงการขยายผลไปสู่การจัดการขยะพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลอย่างวาฬบรูด้า และการวิจัยนำร่องในการฟื้นฟูป่าชายเลนในสภาพดินเค็มจัดในพื้นที่นาเกลือทิ้งร้าง ณ ตำบลปากทะเล

ขณะที่คุณโลวิต้า รามกุทธี รักษาการผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทยเผยว่าโครงการนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อชายฝั่งทะเลไทย

"แผนแม่บทนี้ครอบคลุมปัจจัยสำคัญและเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่ง เราต้องร่วมมือกับชาวบ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมพัฒนาและดำเนินการโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติมีบทบาทหลักในการประสานผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากลเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และร่วมดำเนินการ การร่วมมือกันในครั้งนี้เป็นการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 13 (การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และเป้าหมายที่ 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล) และเป้าหมายที่ 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก)

สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้และ UNDP จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน หน่วยงานสาธารณะ และผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของ MQDC และทีม Urban Action Team จากบริษัทดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในการดำเนินงานโครงการนี้

สำหรับบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ได้รับการลงนามโดยดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ นายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ อุปนายกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ และดร.วิทย์ สุนทรนันท์ กรรมการและเหรัญญิกสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้

โดยตัวแทนจาก UNDP ได้แก่คุณโลวิต้า รามกุทธี รักษาการผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ และคุณแสงโรจน์ ศรีสวัสดิ์ไกรศร หัวหน้าทีม IGSD UNDP ประเทศไทย และหน่วยงานพัฒนาที่ยั่งยืน

#MQDC #ForAllWellBeing

เกี่ยวกับป่าชายเลนในประเทไทย

ป่าชายเลนถือเป็นระบบนิเวศที่สำคัญอันดับต้น ๆ แต่ก็ถูกคุกคามมากที่สุดเช่นกัน ป่าชายเลนมีบทบาทในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะสาสมารถเก็บคาร์บอนได้ประมาณ 1,000 ตันในแต่ละเฮกตาร์ (1 เฮกต้าร์เท่ากับ 100 เอเคอร์ หรือ 10,000 ตารางเมตร) อีกทั้งป่าชายเลนคือที่อยู่และแหล่งอาหารสำหรับสัตว์บนและทะเลหลายสายพันธุ์ รวมถึงปกป้องชุมชนชายฝั่งทะเลจากคลื่นมหาสมุทรและสภาพอากาศที่รุนแรง

บริเวณชายฝั่งของประเทศไทยมีป่าชายเลนประมาณ 1,900 ตารางกิโลเมตร ซึ่งป่าเหล่านี้ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างยอดเยี่ยม โดยสามารถพบสิ่งมีชีวิตที่เป็นที่รู้จักทางวิทยาศาสตร์ได้ถึง 9%

ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลนไปแล้ว 84% ซึ่งนับว่าสูงมากกว่าประเทศอื่น ๆ แต่อัตราการสูญเสียได้ชะลอตัวลงเนื่องจากมีการฟื้นฟูนับตั้งแต่สึนามิในปีพ.ศ. 2547 โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (NESDP) ปีพ.ศ. 2560 – 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศจาก 33% เป็น 40%

ป่าชายเลนในจังหวัดเพชรบุรีครอบคลุมพื้นที่กว่า 14,839 ไร่ (24 ตารางกิโลเมตร) หรือ 17.27% โดย 42% ของพื้นที่ป่าเหล่านี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบริเวณอ่าวไทยตอนบน

บริเวณชายฝั่งประกอบด้วยป่าชายเลน โคลน และหาดทรายที่มีก้นทะเลค่อนข้างตื้น (โดยเฉลี่ย 45 เมตร) ที่ได้รับสารอาหารและน้ำจืดจากแม่น้ำและคลองเพชรบุรี โดยมี 74 สายพันธุ์ของกลุ่มนกที่หากินตามแหล่งน้ำ รวมถึงสายพันธุ์ที่หายากที่จะดึงดูดนักดูนกต่าง ๆ

จังหวัดเพชรบุรีคือแหล่งผลิตมะนาว เกลือทะเล ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีชื่อเสียงด้านเปลือกหอย ชายฝั่งของที่นี่จึงมีศักยภาพที่แข็งแกร่งในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศการเกษตรและการพัฒนาประมงชายฝั่ง เกี่ยวกับสมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้ (BCS) ร่วมก่อตั้งโดยดร.ชวัลวัฒน์ และคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ เพื่อเป็นชุมชนของคนที่ต้องการปกป้องและอนุรักษ์ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง (หรือบลูคาร์บอน) ที่ช่วยต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมาคมบลูคาร์บอนโซไซตี้มุ่งมั่นที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติการระดับโลก เพื่อเพิ่มศักยภาพของสภาพแวดล้ออมทางทะเลและชายฝั่ง และต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการจัดกิจกรรมที่ช่วยให้มนุษย์และระบบนิเวศทางธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล รวมถึงพัฒนาทักษะและสร้างศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศชายฝั่ง และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรสำหรับบลูคาร์บอน (ชื่อ 'บลูคาร์บอน' หมายถึงระบบนิเวศ เช่นป่าชายเลน บึงเกลือ และทุ่งหญ้าทะเล ที่จะรวบรวมและเก็บกักคาร์บอนจากกิจกรรมของมนุษย์จากชั้นบรรยากาศ) เกี่ยวกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย (UNDP) UNDP มีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับประชาชนทุกระดับเพื่อสนับนุนการสร้างประเทศให้สามารถต่อสู้กับวิกฤตการณ์ พร้อมขับเคลื่อนและสนับสนุนการเติบโตในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน UNDP มีเจ้าหน้าที่อยู่กว่า 170 ประเทศในการนำเสนอมุมมองระดับโลกและข้อมูลเชิงลึกระดับท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างประเทศให้พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ visit our website UNDP ประเทศไทยคือส่วนหนึ่งของทีมสหประชาชาติที่ทำงานสนับสนุนรัฐบาลและประชาชนในประเทศไทย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับท่านสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:คุณวรดนู นิมมิต (ทิมมี่/ทับทิม) T:309-081- 7799 E: [email protected] คุณพันธมาศ เมืองรัตน์ (ตุ๊กตา) T.062-895-3636 [email protected]คุณมลทิพย์ เจนธรรมพัฒน์ (แอ๊ง) T:095-952-3942 E: [email protected]คุณพิชชาพร อยู่เลี้ยงพันธ์ (พลอย) T.0 87 404 5554 E: [email protected]

HTML::image( HTML::image(