นายเฉลิมชัย กล่าวว่า กรมชลประทานเล็งเห็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนชาวหาดใหญ่ ซึ่งปี 2553 ได้เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่สร้างความเสียหายถึง 10,490 ล้านบาท ต่อมาจึงดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ด้วยการขุดขยายคลองระบายน้ำ ร.1 จากเดิม ที่สามารถระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับศักยภาพการระบายน้ำของ คลองอู่ตะเภาที่ระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม./วินาที จะทำให้สามารถระบายน้ำได้รวม 1,665 ลบ.ม./วินาที โดยการขุดขยายคลองระบายน้ำร.1 จะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างของโครงการฯ เห็นว่างานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 เป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยของพี่น้องประชาชนอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
"ขอให้กรมชลประทานเร่งรัดการดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะหลังจากปรับปรุงคลองระบายน้ำร.1 แล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้มาก และให้เตรียมความพร้อมรับมือช่วงมรสุมที่จะมาถึงนี้ให้คลองระบายน้ำต่าง ๆ สามารถระบายน้ำได้เต็มที่ รวมถึงให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคนเร่งดำเนินการเตรียม ความพร้อมเพื่อช่วยเหลือประชาชน แม้ว่าการก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่ก็สามารถระบายน้ำได้ 1,000 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับคลองอู่ตะเภาซึ่งระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม./วินาที จะระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาได้ถึงวันละ 104 ลบ.ม." นายเฉลิมชัย กล่าว
นายเฉลิมชัย ยังกล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือในช่วงมรสุมที่ใกล้จะถึงนี้ ว่า ขณะนี้ได้รับรายงานจากสำนักงานชลประทานที่ 16 ว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2561 ร้อยละ 30 โดยฝนจะเริ่มตกชุกในพื้นที่จังหวัดสงขลา เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เรื่องนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะสำนักงานชลประทานที่ 16 ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับน้ำหลากไว้แล้ว เช่น การขุดลอกคลองธรรมชาติ การกำจัดผักตบชวา การเตรียมเครื่องสูบน้ำ และการเตรียมเครื่องผลักดันน้ำ สำหรับช่วยในพื้นที่วิกฤตไว้เรียบร้อยแล้ว เชื่อจะรับมือต่อสถานการณ์ได้
ด้านนายประพิศ กล่าวว่า กรมชลประทานกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระบายน้ำ ร.1 จากเดิมระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที 2. การสกัดน้ำไม่ให้เข้าเมือง โดยการขุดคลองสายใหม่เพื่อตัดยอดน้ำก่อนไหลเข้าเมือง มีอัตราการระบาย 2,000 ลบ.ม./วินาที และ 3.การตัดยอดน้ำ โดยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน 5 แห่ง ความจุรวม 120 ล้าน ลบ.ม. ส่วนความคืบหน้างานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า ร้อยละ 60.2 ล่าช้ากว่าแผนงานร้อยละ 22.7 อย่างไรก็ตาม จะกำชับผู้รับเหมาให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
HTML::image( HTML::image( HTML::image(