"จากการคาดการณ์เบื้องต้นคาดว่าการปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งภายใต้โครงการดังกล่าว นอกจากจะสามารถเพิ่มปริมาณพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำในธรรมชาติ สร้างความสมบูรณ์ในกับระบบนิเวศ ตลอดจนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้กับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์แล้ว ยังสามารถสร้างผลผลิตสัตว์น้ำได้ประมาณ 65 ตัน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ตาม การประเมินผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการปล่อยในโครงการดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินตามหลักอัตราการรอดทางวิชาการเบื้องต้นเท่านั้น แต่สัตว์น้ำอาจมีอัตราการรอดเพิ่มขึ้นได้อีก หากเกษตรกรเลือกใช้วิธีจับสัตว์น้ำอย่างมีจิตสำนึก จึงอยากขอความร่วมมือให้ช่วยกันฟื้นฟูและอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำให้ดีที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป" นายเฉลิมชัย กล่าว
ด้าน นายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจของกรมประมงในปี 2508 ก่อนการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์พบว่า มีสัตว์น้ำจืดกว่า 76 ชนิด และลดจำนวนลงเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 2528 พบความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำน้อยที่สุดนั่นคือ 27 ชนิด และในระหว่างปี 2508 – 2559 มีการประเมินผลผลิตสัตว์น้ำพบว่า มีค่าเฉลี่ยเมื่อปี 2508 เท่ากับ 19.58 กก./ไร่ ในปี 2526 เพิ่มขึ้นเป็น 33.4 กก./ไร่ และในปี 2554 ลดลงเหลือ 6.28 กก./ไร่ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำลดลง ได้แก่ 1) การเพิ่มขึ้นของประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่รอบเขื่อนมีจำนวน 101 หมู่บ้าน 12,000 ครัวเรือน มีชาวบ้านประกอบอาชีพประมงเป็นหลักถึง 4,870 ครัวเรือน โดยเครื่องมือประมงที่ใช้กันมาก ได้แก่ เบ็ดราว ข่าย แห สวิง ไซ และตุ้ม นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น อวนกางกั้น โพงพาง ลอบพับได้ จึงส่งผลให้สัตว์น้ำลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง และ 2) ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดผลกระทบกับการแพร่ขยายพันธุ์วางไข่ ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุดังกล่าวล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกปลารุ่นใหม่ในธรรมชาติของเขื่อนอุบลรัตน์แต่ละปีลดลงจนธรรมชาติไม่สามารถผลิตทดแทนได้ทันต่อความต้องการ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมประมงจึงได้กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อรักษาสมดุลทั้งในด้านความหลากหลายและปริมาณให้เพิ่มมากขึ้น การลงพื้นที่สร้างความรับรู้ความเข้าใจถึงกฏหมายประมง และการทำลายล้างสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ฯลฯ เพื่อเป็นการช่วยเร่งฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในธรรมชาติ และได้จัดทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ขึ้น โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการผลิตและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และสัตว์น้ำพื้นถิ่นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพื่อสร้างความสมบูรณ์และให้สัตว์น้ำเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์ให้กับแหล่งน้ำธรรมชาติและเป็นแหล่งอาหารที่สร้างโปรตีนตลอดจนเป็นแหล่งพึ่งพิงให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit