หลักสูตรฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ปี 2563

08 Nov 2019
สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เผยหลักสูตรการฝึกอบรม ประจำปีการศึกษา 2563 จัดแน่นจัดเต็มทุกหลักสูตร เพื่อถ่ายทอดความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ด้วยการวิจัย ฝึกอบรม ด้านการตรวจสอบและทดสอบตามมาตรฐานสากล ตลอดระยะเวลา 29 ปี สถาบันฯ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในระดับสากล เพื่อก้าวเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand, WIT) ให้มีสิทธิ์จัดฝึกอบรมในหลักสูตรสาขาวิศวกรรมงานเชื่อมต่างๆ ตามข้อกำหนดของสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding, IIW) ซึ่งเป็นที่ยอมรับใน 70 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้สถาบันฯ ยังได้ส่งเสริมงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อยับยั้งการกัดกร่อน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซชั้นนำของโลก เช่น PTTEP, TOTAL E&P Thailand อีกทั้งมีความร่วมมือกับบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์วิจัยพลังงานทดแทน (Renewable Energy Research Center, RERC) โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัย GREEN ซึ่งอยู่ภายใต้ Universite de Lorraine ประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีการควบคุม การผลิต การส่งจ่ายและการสะสมพลังงานไฟฟ้า โดยบูรณาการแหล่งพลังงานทางเลือกต่างๆ เช่น เซลล์เชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เข้าด้วยกัน สำหรับการใช้งานในอาคารบ้านเรือน สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม
หลักสูตรฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ปี 2563

หลักสูตรของสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วย งานฝึกอบรม งานทดสอบ ตรวจสอบและสอบเทียบ และงานวิจัย โดยมีฝ่ายฯ เพื่อรองรับการให้บริการ 8 ฝ่ายดังนี้

1. ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding Technology Department)

2. ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงาน (Electrical and Energy Technology Department)

3. ฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรม (Computer for Industrial Applications Department)

4. ฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ (Automated Manufacturing Systems Department)

5. ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน (Corrosion Technology Department)

6. ฝ่ายมาตรวิทยากรเชิงกล (Metrology Department)

7. ฝ่ายวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Research, Development and Technological Transfer Department)

8. ศูนย์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 (Industrial 4.0 Development Consultancy Center)

นอกจากนี้สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังได้เริ่มนำระบบการบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 มาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และได้พัฒนาระบบการบริหารงานมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจสูงสุด รวมถึงการมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณภาพ งานบริการวิชาการแก่สังคม งานฝึกอบรม งานทดสอบ ตรวจสอบและสอบเทียบ และงานวิจัย โดยมีห้องปฏิบัติการทดสอบส่วนผสมทางเคมีที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 17025-2548 (ISO/IEC 17025:2005) เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจด้วยคุณภาพระดับสากล และมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดปฏิทินการฝึกอบรมได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางวิยะดา ศรีวีระชัย ([email protected]) โทรศัพท์ 0-2585-4813, 0-2555-2503 หรือ www.tfii.kmutnb.ac.th,

HTML::image(