GET เปิดอินไซต์ตลาดมิลเลนเนียล ในยุคที่ครอบครัวเดี่ยวเพิ่ม ครอบครัวขยายลด และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป พร้อมชวนรู้จัก 4 แบรนด์ไทย กับเจ้าของธุรกิจอาหารวัยมิลเลนเนียล ครองใจคนรุ่นใหม่

07 Nov 2019
GET (เก็ท) แอพพลิเคชั่นไลฟสไตล์ออนดีมานด์ ชวนสื่อมวลชนพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในการเจาะกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล พร้อมเผยพฤติกรรมคนที่ชอบสั่งอาหารออนไลน์
GET เปิดอินไซต์ตลาดมิลเลนเนียล ในยุคที่ครอบครัวเดี่ยวเพิ่ม ครอบครัวขยายลด และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป พร้อมชวนรู้จัก 4 แบรนด์ไทย กับเจ้าของธุรกิจอาหารวัยมิลเลนเนียล ครองใจคนรุ่นใหม่

หลังจากฉลองครบรอบ 10 ล้านทริปไปได้ไม่นาน และขึ้นมาเป็นแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารอันดับต้นๆ ของคนกรุงเทพฯ แอพพลิเคชั่น GET เดินหน้าสนับสนุนร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้ร้านค้าสามารถเติบโตได้ในยุคที่การสั่งอาหารออนไลน์กลายมาเป็นไลฟสไตล์แบบใหม่ โดยกลุ่มลูกค้าหลักของ GET ยังคงเป็นคนในกลุ่มมิลเลนเนียล หรือคนที่เป็นกลุ่มระหว่าง GEN Z และ GEN Y ที่อยู่ในช่วงอายุ 23-38 ปี และเป็นคนกลุ่มที่เติบโตมาในช่วงของการพัฒนาทางเทคโนโลยี

คุณวงศ์ทิพพา วิเศษเกษม ผู้อำนวยการฝ่ายแพลตฟอร์มโอเปอเรชั่น GET กล่าวว่า "ที่ผ่านมาเราได้มีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของลูกค้ามาวิเคราะห์โดยตลอด เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาช่วยให้ร้านค้าสามารถพัฒนาสินค้าและบริการได้ตอบโจทย์และตรงใจคนสั่งอาหาร จากการสังเกตจะพบว่าคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการสั่งอาหารแบบ Order for One หรือสั่งรับประทานคนเดียว โดยจะสั่งแค่ 1 หรือ 2 เมนูต่อหนึ่งออเดอร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่คนโสดเพิ่มมากขึ้นและครอบครัวเดี่ยวมีจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้หญิงชอบสั่งอาหารเดลิเวอรี่มากกว่าผู้ชาย ในขณะที่มื้ออาหารที่คนนิยมสั่งมากที่สุดคือมื้อเย็น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้ร้านอาหารสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากขึ้น

"ในหนึ่งเดือน GET มียอดสั่งชานมไข่มุกกว่า 3 แสนแก้ว ซึ่งตอกย้ำกระแสชานมไข่มุกที่ยังแรงไม่ตก ในขณะเดียวกัน นอกจากอาหารมื้อหลักและเครื่องดื่มแล้ว คนกรุงเทพฯ ยังมีพฤติกรรมการสั่งอาหารตลอดทั้งวัน โดยมีการสั่งอาหารว่างทั้งมื้อเช้า มื้อบ่าย และมื้อดึก คิดเป็นยอดประมาณ 28% ของยอดสั่งตลอดวัน เช่น ขนมปังไส้ต่างๆ ที่เป็นของกินเล่นนั้น มียอดขายต่อเดือนกว่า 190,000 ชิ้นในเดือนตุลาคม GET เองอยากจะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สามารถสร้างธุรกิจหรือต่อยอดธุรกิจของตัวเองได้โดยการมาเป็นพาร์ทเนอร์กับเรา และร่วมเติบโตไปด้วยกัน"

โดยในงาน ยังได้รับฟังเรื่องราวที่น่าสนใจจากเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ทั้ง 4 ท่านที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การสร้างธุรกิจขึ้นมา และการร่วมงานกับ GET FOOD เพื่อต่อยอดธุรกิจให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น

คุณนปภัสสร ต่อเทียนชัย (อายุ 26 ปี) จากร้าน Veganerie เล่าว่า "จ๋าเองก็ตอนเรียน ตอนแรกเข้าไปคณะแพทย์และเรียนอยู่ 1 ปี แต่คิดว่าไม่ใช่ตัวเอง เลยหันว่าเรียนด้านบิสสิเนสแทน บวกกับจ๋าเคยดูสารคดีเรื่องหนึ่งที่ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนหันมาทานมังสวิรัติ ซึ่งทำให้ทั้งจ๋าและคุณแม่สุขภาพดีขึ้นมา จนตอนอายุ 19 ก็เริ่มจากการเปิด pop-up store ที่ฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต ก่อนค่ะ ขายอาหาร Vegan ทำเอง เพราะอยากให้ทุกคนมีสุขภาพดี จนตอนอายุ 21 ถึงได้เปิดเป็นร้านจริงจังสาขาแรกที่เมอร์คิวรี่วิลล์ และตอนนี้ก็มี 5 สาขาแล้ว จ๋าว่าเทรนด์อาหารสุขภาพได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับเราสนใจทางด้านนี้ทำให้ธุรกิจเป็นไปด้วยดี การที่มีธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามาก็ช่วยตอบโจทย์คนเมืองได้มาก ทำให้คนสามารถสั่งอาหารของเราได้ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้เรามีลูกค้าที่มากขึ้น"

คุณอรรณพ จันทร์น้อย (อายุ 28 ปี) จากร้าน วัวล้วนๆ ไม่มีควายผสม เล่าว่า "ตอนที่ผมเรียนจบใหม่ๆ ช่วงแรกก็ทำงานประจำ จนได้มาคุยกับเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนร้านและชอบทำธุรกิจว่าเราอยากมีร้านของตัวเองด้วยกัน ก็เลยชวนกันมาเปิดร้านวัวล้วนๆ ไม่มีควายผสมสาขาแรกที่เกษตร เดือนแรกก็ไม่ได้ขายดีครับ แต่เราทำการตลาดกันเยอะ เพราะเราเพิ่งเรียนจบกันไม่นานเราเลยมีความเข้าใจว่านักศึกษาเขาชอบอะไร เราเลยเน้นทำการตลาดกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งทำให้เราเริ่มต้นมาได้ด้วยดีจนตอนนี้เรามี 22 สาขา แล้วมีแผนว่าจะเปิดเพิ่มอีก 4 สาขา ผมเองมองว่าฟู้ดเดลิเวอรี่ช่วยเพิ่มยอดขายได้มากโดยเฉพาะสาขาในเมือง ที่สำคัญ ถ้าบางเมนูที่ปกติคนไม่นิยม แต่เราอยากให้คนได้ลองสั่งแล้วเรามาจัดโปรโมชั่นกับทาง GET เราสามารถเพิ่มยอดขายได้เป็น 10 เท่าเลยทีเดียว" คุณพรภวิศย์ อบสุวรรณ (อายุ 29 ปี) จากร้าน ปังเด็ด เล่าว่า "ผมเองเริ่มจากการเป็นคนชอบกิน แล้วมีโอกาสได้ไปต่างประเทศ ไปลองขนมปังของที่ต่างๆ เลยมาคิดว่าเรายังไม่เคยเห็นขนมปังแบบนี้ในไทยเลย เลยเกิดมาเป็นธุรกิจร้านขนมปังไส้เยิ้มกรอบนอกนุ่มในด้วยความชอบเป็นการส่วนตัว ก็มาพัฒนาสูตรเอง จากสาขาแรกที่สีลมเมื่อ 4 ปีก่อน ตอนนี้ปังเด็ดเรามี 4 สาขา ซึ่งโชคดีที่ช่วงที่เริ่มธุรกิจเองก็มีบริการฟู้ดเดลิเวอรี่เข้ามา ทำให้ร้านเล็กๆ ของเรามียอดขายมากขึ้นเพิ่มจากหน้าร้าน อย่างเฉพาะที่ขายกับทาง GET ก็มียอดเดือนละหลักล้านบาท"

คุณธีรนัย จินดานุภาจิตต์ (อายุ 26 ปี) จากร้านติดลมหมูทอดปลาร้า เล่าว่า "ผมจบทางด้านการทำอาหารมา เคยเปิดร้านข้าวต้มแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร ตอนที่ผมเห็นเทรนด์ของฟู้ดเดลิเวอรี่กำลังโต เลยตั้งใจที่จะเปิดร้านเพื่อเจาะตลาดกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เริ่มจากเลือกโลเคชั่นที่แรกที่ค่าเช่าไม่แพง ร้านอาหารน้อย แถวเกษตร จนตอนนี้ร้านมีที่ผมดูแลเอง 5 สาขา และเป็นเฟรนไชส์อีก 8 สาขา โดยยอดส่วนใหญ่ก็ยังมาจากบริการเดลิเวอรี่ อย่างกับที่ GET เองก็มียอดขายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดือนละหลายแสน"

ผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงานและมีกำลังซื้อ ในขณะเดียวกันก็มีไลฟสไตล์ที่ใช้เวลากับการออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น การสั่งฟู้ดเดลิเวอรี่จึงเข้ามาตอบโจทย์ของคนกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนในกลุ่มวัยอื่นที่ถือเป็น Early Adopter ที่หันมาใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจที่จะหันมาใช้ประโยชน์จากการเติบโตของธุรกิจนี้ในการช่วยเพิ่มยอดขายของตนเอง

เกี่ยวกับ "เก็ท"

"เก็ท" (GET) เป็นออนดีมานด์แอพพลิเคชั่นสำหรับหลากหลายบริการที่ก่อตั้งขึ้นโดยทีมงานคนไทย พร้อมด้วยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลก รวมถึงเงินลงทุนจาก "โกเจ็ก" (GO-JEK) โดย "เก็ท" นำเสนอบริการต่างๆ มากมายเพื่อคนไทย รวมถึงบริการเรียกรถ ส่งพัสดุ ส่งอาหาร และอื่นๆ "เก็ท" ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน รวมถึงช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น

HTML::image( HTML::image(