ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”

01 Nov 2019
"ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น" และ "สมาร์ทซิตี้" คือกระแสระดับเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราก็กำลังก้าวเข้าสู่โลกอันชาญฉลาดที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีไอซีที ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการทำงานในองค์กร พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง
ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”

แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริงของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นและสมาร์ทซิตี้ เมกะเทรนด์เหล่านี้จะส่งผลต่อสังคมอย่างไร และที่สำคัญที่สุดคือประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนกับเมกะเทรนด์ดังกล่าว นายเอ็ดวิน เดียนเดอร์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และรองประธานธุรกิจภาครัฐกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ได้ให้ข้อมูลไว้ในโอกาสที่มาร่วมเวทีงาน Digital Thailand Big Bang 2019 ในหัวข้อ "องค์ความรู้อันก้าวหน้า – รากฐานของโลกดิจิทัล" เพื่อถอดรหัสว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยและของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคตอันใกล้นี้

อะไรคือ "ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น"

ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นไม่ใช่แพลตฟอร์มไอที แต่คือเมกะเทรนด์ที่เป็นแนวคิด เป็นไอเดียที่จะช่วยให้องค์กร รัฐบาล หรือแม้แต่ประเทศยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับตัวเองได้ หากมองภาพรวมของอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นว่ามีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่แรกเริ่มไม่ได้มาจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านดิจิทัล แต่ผันตัวเองมาเป็นบริษัทด้านดิจิทัลในภายหลัง ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ บริษัทหัวเว่ยที่หลังจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล บริษัทมีบุคลากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 16,000 คนภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี ซึ่งเรื่องนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากบริษัทไม่ตอบรับกับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

ข้อมูลจากไอดีซีระบุว่า การลงทุนด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นทั่วโลกจะมีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2563 แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านดิจิทัล โดยเราพบว่าหากประเทศหนึ่งๆ ใช้เม็ดเงินเพียง 0.2% จากการลงทุนทั้งหมดมาทุ่มให้กับการลงทุนด้านดิจิทัล ประเทศนั้นๆ จะมีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สูงขึ้นถึง 2% ภายในปีเดียวกันกับที่เกิดการใช้เม็ดเงินลงทุนดังกล่าวเลยทีเดียว

"สมาร์ทซิตี้" เกี่ยวข้องกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นอย่างไร

สมาร์ทซิตี้ไม่ใช่แค่ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่ง แต่เป็นส่วนหนึ่งของดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และยังเป็นตัวผลักดันสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ช่วยยกระดับให้เมืองต่างๆ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น ซึ่งการบูรณาการของเทคโนโลยีไอซีที ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IoT (Internet of Things) คลาวด์ คอมพิวติ้ง บิ๊ก-ดาต้า คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน จะเชื่อมต่อทุกองค์ประกอบในเมืองเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นระบบ โดยเราสามารถนำโมเดลมาสโลว์ (Maslow's Model) มาปรับใช้กับความต้องการดิจิทัลขั้นพื้นฐานเพื่อสมาร์ทซิตี้ ได้ตามลำดับขั้น ดังนี้

  • ขั้นล่างสุด คือโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีทั้งหมด ได้แก่ ดาต้าเซ็นเตอร์ เทคโนโลยีออนไลน์อย่าง 5G, Wi-Fi หากเมืองไหนยังขาดโครงสร้างพื้นฐานตรงจุดนี้ก็ยังไม่สามารถไปต่อได้
  • ขั้นที่สอง คือความปลอดภัยทางด้านไอที เช่น การควบคุมบริการต่างๆ ทางไอทีให้ได้มาตรฐาน ระบบควบคุมคำสั่งสถานการณ์ฉุกเฉินของเมือง
  • ขั้นที่สาม คือบริการดิจิทัลรูปแบบต่างๆ เช่น E-government (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์), ระบบจราจรดิจิทัล และระบบการศึกษาดิจิทัล เพื่อช่วยรองรับและพัฒนาการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของทุกอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น
  • และขั้นสูงสุด คือ ความชาญฉลาดทางดิจิทัล ซึ่งเปรียบเสมือนสมองและระบบประสาทของสมาร์ทซิตี้ ได้แก่ แพลตฟอร์ม intelligent operations centers (IOCs) การตรวจตราแบบเรียลไทม์ และแปรข้อมูลเป็นภาพเพื่อวิเคราะห์และดูแลจัดการเมือง

นอกจากสมาร์ทซิตี้จะช่วยภาครัฐยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมืองแล้ว ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองที่ดีขึ้น รวมถึงพัฒนาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่กลุ่มธุรกิจ และช่วยให้เมืองหรือประเทศนั้นๆ บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ตั้งเอาไว้ได้

ประเทศไทยมีความพร้อมแค่ไหนสำหรับการตอบรับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

รัฐบาลไทยเดินไปค่อนข้างไกลแล้วในด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เนื่องจากภาครัฐได้ริเริ่มก้าวสำคัญด้วยการประกาศกลยุทธ์ที่เน้นการผลักดันด้านดิจิทัลเมื่อ 2 ปีก่อน (ไทยแลนด์ 4.0) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านดิจิทัลที่รวดเร็วและครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม รัฐบาลไทยยังมีเป้าหมายอย่างชัดเจนในการมุ่งเน้นเรื่องดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคการท่องเที่ยวก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนมีผลเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ประเทศตอบรับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้รวดเร็วขึ้น

สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำต่อจากนี้ก็คือยึดตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ก้าวต่อไปคือการวางจุดยืนประเทศให้ชัดเจนว่าจะเดินหน้าไปในทิศทางใด รวมถึงการวางบทบาทด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านว่าประเทศไทยจะเป็น Smart Nation ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเป็นศูนย์กลางของ Smart Region ในภูมิภาคนี้เลย

อะไรคือความท้าทายหลักของการปรับตัวเพื่อรับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

หากให้ยกตัวอย่างของประเทศไทย ประเทศนี้มีโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยี ระบบ และบริการที่พร้อมอยู่แล้วในทุกภาคอุตสาหกรรม ความท้าทายคือต้องทำอย่างไรถึงจะทำให้ระบบการทำงานที่แยกส่วนกันแบบไซโล (Silo) ที่มีรุ่น มีภาษา มีอายุการใช้งานต่างกัน สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันแบบองค์รวมได้ เพื่อตอบรับกับเทรนด์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อย่างสมบูรณ์ ถือเป็นความท้าทายที่ทุกประเทศต้องเผชิญ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการล้มทุกอย่างทิ้งแล้วเริ่มใหม่ตั้งแต่ศูนย์ แต่เป็นวิธีที่ไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไปและไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงปฏิบัติได้ ดังนั้นแพลตฟอร์มสมาร์ทซิตี้ที่สามารถเชื่อมไซโลเหล่านี้เข้าด้วยกัน และสามารถทำให้ไซโลติดต่อสื่อสารกันได้จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

หัวเว่ยจะเข้ามาช่วยปรับตัวด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นได้อย่างไร

จุดเด่นของแพลตฟอร์มสมาร์ทซิตี้ของหัวเว่ยคือ เทคโนโลยีของเราสามารถเป็นตัวประสานที่จะเชื่อมโยงทุกไซโลที่แตกต่างกันและอยู่กันแยกส่วนนั้น ให้มาทำงานร่วมกันเป็นระบบเดียวได้ แม้แต่ละไซโลจะใช้ภาษาในการสื่อสารแตกต่างกันก็ตาม นอกจากนี้การที่หัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่หลากหลายยังช่วยให้เรามีความยืดหยุ่น รองรับได้ตั้งแต่โปรเจกต์ขนาดเล็กของภาคเอกชนไปจนถึงโปรเจกต์ขนาดใหญ่ที่ต้องทำงานร่วมกับภาครัฐ โดยมีราคาต้นทุนที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ปัจจุบันหัวเว่ยได้ริเริ่มดำเนินงานกับภาครัฐและกระทรวงต่างๆ โดยแพลตฟอร์มของหัวเว่ยมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการ และปรับตามงบประมาณด้านการลงทุนได้ โดยหัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และส่งมอบเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่คนไทยทุกคน ทุกครัวเรือนและทุกองค์กร เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้รอยต่อในอนาคตอันใกล้

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย (Huawei) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ ด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรในโดเมนหลัก 4 แห่ง ได้แก่ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์และบริการคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะนำระบบดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กรเพื่อเชื่อมต่อกับโลกแห่งความล้ำสมัยด้านสติปัญญา ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยมีศักยภาพด้านการแข่งขัน และปลอดภัย จากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในระบบเครือข่าย หัวเว่ยสามารถสร้างสรรค์คุณค่าในระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมประสิทธิภาพให้กับผู้คน ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบ

หัวเว่ยยังให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยเราได้ทุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า ปัจจุบัน หัวเว่ยมีจำนวนพนักงานมากกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจใน 170 ประเทศทั่วโลก ซึ่งบริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้” ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้” ถอดรหัสผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ จากเมกะเทรนด์ “ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น” และ “สมาร์ทซิตี้”