โดยงานนี้มีรางวัลให้ได้ลุ้นรนับพันรายการ รายได้ทั้งหมดที่ได้รับจากการจัดงานจะนำไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ภายในงานเพลินจิตแฟร์ เด็ก ๆ จะได้สนุกสนานไปกับเครื่องเล่นมากมาย ทั้งเรือปั่นด้วยมือ เดินลูกบอลน้ำ ยิงปืน รถไฟแสนสนุก บันจี้จัมพ์ การเพ้นท์หน้าและอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังจะได้พบกับซานตาคลอส และเอกกี้ (Eckie) ตัวตลกสัญลักษณ์ประจำงานเพลินจิตแฟร์อีกด้วย
ซุ้มแรฟเฟิลซึ่งประกอบไปด้วยสินค้ามากมายถือเป็นจุดหมายที่ผู้ปกครองทุกท่านต้องมาแวะเยี่ยมสำหรับการช้อปปิ้งอย่างสนุกสนานสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ภายในงานจะมีการดนตรีสดทั้งวันโดยวงดนตรีที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังมีการแสดงสดจากวงเดอะ มิดไนท์ แรมเบลอร์ส ในช่วงเย็นจนถึงเวลา 20:30 น.
งานแฟร์มักนำเสนออาหารแสนอร่อยและน่าลิ้มลองเสมอมา ในปีนี้ก็เช่นกัน โดยจะมีอาหารนานาชาติมาจำหน่ายมากมายตั้งแต่ฟิชแอนด์ชิปส์ เคบับและแกง พิซซ่า อาหารจากร้านกัปตัน ฮุก สโมค เฮ้าส์ และร้านโอลีฟ ครีก รวมทั้งเมนูต่าง ๆ จากร้านดีน แอนด์ เดลูก้า ไส้กรอกจากก๊อบเบลอส์ โดนัทคริสปี้ ครีม และไอศกรีมขึ้นชื่อ
ในงานมีบริการที่จอดรถภายในบริเวณโรงเรียน และรถโดยสารรับส่งฟรีจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางนา ทางออกที่ 1 รวมทั้งบริการรับฝากสัมภาระ ตู้กดเงินสด และบริการด้านการพยาบาลเบื้องต้น
งานเพลินจิตแฟร์ถือเป็นงานแฟร์ที่ใหญ่และจัดขึ้นมาอย่างยาวนานที่สุดในเอเชียนับตั้งแต่ปี 2500 ทั้งนี้ มูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาสได้ระดมเงินมาแล้วโดยรวมกว่า 145 ล้านบาทผ่านการจัดงานเพ่อสนัสนุนและบริจาคแก่ผู้พิการ โครงการการกุศล โครงการการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือตนเอง โครงการด้านการเกษตร การศึกษา การแพทย์ และอื่น ๆ ทั่วประเทศ ได้แก่ นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน กรุงเทพฯ เบตง พัทยา เชียงใหม่ มุกดาหาร หนองคาย และอื่น ๆ อีกมากมาย
หากท่านต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือหรือสนับสนุนสามารถติดต่อโดยตรงกับทางมูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาสเพื่อบริจาค
ท่านสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเพลินจิตแฟร์ ได้ที่ www.ploenchitfair.org
เกี่ยวกับมูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส
มูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส (ช.อ.ท.ผ.อ.) เปิดตัวในปี 2484 ที่สมาคมชาวอังกฤษ (British Club) ซึ่งสมัยนั้นเป็นตลาดยามเช้าที่ขายเค้กอบเองและอื่น ๆ ภายใต้การดำเนินการโดยสตรีชาวอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงละครเป็นครั้งคราว ในปี 2500 ภริยาของท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษได้ส่งเสริมให้มีงานการกุศลประจำปีที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของคณะกรรมการสหราชอาณาจักรเพื่อการกุศลในประเทศไทย (United Kingdom Committee for Thai Charities หรือ UKCTC) ที่เรียกว่าเพลินจิตแฟร์เนื่องจากจัดขึ้นในบริเวณสถานทูตอังกฤษเป็นเวลาหลายปีและนำชื่อมาจากที่อยู่ของสถานทูตในเวลานั้น
สมาคมดังกล่าวได้รับการอนุมัติสถานะให้เป็นมูลนิธิโดยกระทรวงมหาดไทยในปี 2542 โดยใช้ชื่อว่ามูลนิธิชุมชนชาวอังกฤษในประเทศไทยเพื่อผู้ด้อยโอกาส สมาชิกทั้งหมดของมูลนิธิล้วนเป็นอาสาสมัคร ทั้งยังมีประสบการณ์ที่ยาวนาน ดังนั้นจึงเข้าใจลักษณะและความต้องการขององค์กรการกุศลแต่ละแห่ง และสามารถให้คำแนะนำและตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit